Skip to main content
sharethis

ประชาไทประมวลเหตุการณ์สำคัญในการเมืองพม่า ตั้งแต่ 1 ก.พ. 64-28 ม.ค. 65 ในวาระรำลึกการต่อสู้กับเผด็จการทหารตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงภาพการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศของเมียนมา บทบาทอาเซียน และการประท้วงของราษฎรพม่า

 

8 พ.ย. 63 - วันเลือกตั้งทั่วไปในพม่า ผลการเลือกตั้งพรรค NLD ชนะถล่มทลาย โดยได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาล่าง 315 ที่นั่งจาก 440 ที่นั่ง และสภาสูงจำนวน 161 ที่นั่งจากทั้งหมด 224 ที่นั่ง

1 ก.พ. 64 - กองทัพพม่าทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน พร้อมจับกุมแกนนำพรรค NLD อ้างทุจริตการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อ พ.ย. 63

7 ก.พ. 64 - ประชาชนในประเทศเมียนมาหลายพื้นที่ออกมาต่อต้านการทำรัฐประหาร ขณะที่รอยเตอร์ส เผย เป็นการประท้วงใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550

ชาวพม่าในไทยหลายร้อนคนชุมนุมหน้าสำนักงานสหประชาชาติ หรือ UN ถนนราชดำเนินนอก และหน้าสถานทูตเมียนมา ถนนสาทร เพื่อต่อต้านการทำรัฐประหาร

8 ก.พ. 64 - มินอ่องหล่าย แถลงโรดแมป 5 ข้อ นำพม่ากลับสู่เส้นทางประชาธิปไตย

19 ก.พ. 64 - ผู้ชุมนุมต้านรัฐประหารที่ถูกกระสุนจริงยิงที่ศีรษะ ได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิต ทำให้เธอเป็นผู้ประท้วงรายแรกที่เสียชีวิตจากการชุมนุมต้านรัฐประหารเมียนมา

22 ก.พ. 64 - ผู้ชุมนุมพม่านัดหยุดงานทั่วประเทศ ในแคมเปญ 22222

26 ก.พ. 64 - จ่อโมทุน ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ ประณามการทำรัฐประหาร และชู 3 นิ้ว กลางวงประชุมสมัชชาใหญ่

13 มี.ค. 64 - คณะกรรมการตัวแทนสภาแห่งสหภาพ (CRPH) ออกแถลงการณ์ครั้งแรก ให้คำมั่นจะล้มการทำรัฐประหาร และก่อตั้งระบอบการปกครองสหพันธรัฐประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในเมียนมา

27 มี.ค. 64 - กองทัพพม่าโจมตีทางอากาศพื้นที่จังหวัดมือตรอ หรือผาปูน รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของ KNLA กองพล 5 ส่งผลให้มีประชาชนราว 3,000 คน ต้องอพยพมายังริมแม่น้ำสาละวินฝั่งไทย

16 เม.ย. 64 - ประชาชนพม่างดเล่นน้ำวันสงกรานต์ชั่วคราว จัดประท้วง “สงกรานต์ปฏิวัติ” ต่อต้านรัฐประหาร

CRPH ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หรือ National Unity Government - NUG

27 เม.ย. 64 - มินอ่องหล่าย เข้าร่วมประชุมผู้นำสูงสุดอาเซียนสมัยพิเศษ เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์เมียนมา

28 พ.ค. 64 - พนักงานอัยการศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งฟ้องนักข่าวสังกัดสำนักข่าว DVB 3 คน และผู้ติดตามอีก 2 คน ข้อหาหลบหนีเข้าเมือง ก่อนที่ 7 มิ.ย. 64 นักข่าวพร้อมผู้ติดตามทั้งหมดจะได้ไปประเทศที่ 3 อย่างปลอดภัย

5 ก.ค. 64 - รัฐบาล NUG ประกาศจัดตั้งกองกำลังพลเรือน (PDF) เพื่อปกป้องตัวเองจากการโจมตีของกองทัพพม่า

1 ส.ค. 64 - อดีต ส.ส.รัฐยะไข่ประเมินกองทัพอาระกัน (AA) ควบคุมพื้นที่รัฐได้ถึง 2 ใน 3 ส่วน อย่างไรก็ตาม กองทัพพม่ายังรักษาความสัมพันธ์อันดีไว้กับกองทัพอาระกัน

26 ต.ค. 64 - พม่าถูกตัดออกจากการประชุมผู้นำสูงสุดอาเซียน ครั้งที่ 38 เหตุไม่ปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อจากการประชุมอาเซียนเมื่อปลาย เม.ย. 64

5 ธ.ค. 64 - อองซานซูจีถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานยุยงปลุกปั่น และละเมิดข้อจำกัดมาตรการป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเธอถูกกำหนดให้รับโทษ 2 ปี โดยการกักตัวในสถานที่ที่ไม่เปิดเผย

4 ม.ค. 64 - รักษาการแทน ปธน. NUG กล่าวสุนทรพจน์ในวันครบรอบ 74 ปี ปลดแอกจากจักรวรรดิอังกฤษ พร้อมประกาศให้สงครามปกป้องตนเอง เป็นการปลดแอกครั้งที่ 2 เพื่อเอกราชของเมียนมา

7-8 ม.ค. 65 - ‘ฮุน เซน’ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาและประธานอาเซียนคนใหม่ เดินทางเยือนเมียนมา และประชุมร่วมกับหัวหน้าคณะรัฐประหาร มินอ่องหล่าย

10 ม.ค. 65 - ศาลตัดสินจำคุกอองซานซูจี 4 ปี จากข้อหาที่รวมถึงการครอบครองวิทยุสื่อสารที่ไม่มีใบอนุญาต

14 ม.ค. 65 - รัฐบาลทหารประกาศฟ้อง 5 ข้อหาคอร์รัปชันใหม่กับอองซานซูจี อาจทำให้เธอเผชิญกับโทษจำคุกสูงถึง 164 ปี หากถูกตัดสินว่ามีความผิดทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครบรอบ 1 ปี รัฐประหารพม่าที่ยังไม่สำเร็จ และชาวเมียนมาที่ยังคงยืนหยัดโดยท้าทาย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net