Skip to main content
sharethis

เช็กผลการลงคะแนนมติอภิปรายไม่ไว้วางใจปี 2565 และเป็นครั้งสุดท้ายก่อนหมดวาระรัฐบาล โดยที่ประชุมสภามีมติ 'ไว้วางใจ' ให้รัฐมนตรีทำหน้าที่ต่อ ส่วนคนที่ได้คะแนน 'ไม่ไว้วางใจ' เยอะที่สุด คือ ‘อนุพงษ์ เผ่าจินดา’ รมว.มหาดไทย

 

23 ก.ค. 2565 ถ่ายทอดสดนัดลงคะแนนเสียงอภิปรายไม่วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 151 ปี 2565 บนแพลตฟอร์มยูทูบช่อง TP channel โดยเมื่อเวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล โดยมีผลคะแนนดังนี้ 

ลำดับรายชื่อจำนวนผู้ลงมติไว้วางใจไม่ไว้วางใจงดออกเสียงมติ
1.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา 
นายกฯ และ รมว.กลาโหม 

4712562069ไว้วางใจ
2.

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รมว.พาณิชย์

47124120723ไว้วางใจ
3.

อนุทิน ชาญวีรกูล
รมว.สาธารณสุข

4722642053ไว้วางใจ
4.

ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกฯ

47226819311ไว้วางใจ
5.

อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รมว.มหาดไทย

47024521213ไว้วางใจ
6.

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รมว.คมนาคม

4722622055ไว้วางใจ
7.

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
รมว.ดิจิทัลฯ

47224920518ไว้วางใจ
8.

จุติ ไกรฤกษ์
รมว.การพัฒนาสังคมฯ

47024420917ไว้วางใจ
9.

สันติ พร้อมพัฒน์
รมช.คลัง

47124920418ไว้วางใจ
10.

นิพนธ์ บุญญามณี
รมช.มหาดไทย

47224620620ไว้วางใจ
11.

สุชาติ ชมกลิ่น
รมว.แรงงาน

47124320820ไว้วางใจ

ทั้งนี้ การจะสามารถถอดถอนรัฐมนตรี เสียงไม่ไว้วางใจ ต้องมีเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. 

ที่ประชุม ส.ส. มีมติไว้วางใจให้รัฐมนตรีทำหน้าที่ต่อ โดยผู้ที่มีคะแนนเสียงไว้วางใจมากที่สุด คือ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนน 268 เสียง และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้คะแนนเสียงไว้วางใจน้อยที่สุด

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้คะแนนเสียงไม่ไว้วางใจ มากที่สุด 212 เสียง 

หลังจากนั้น เมื่อเวลา 10.42 น. นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ประกาศปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

2 ส.ส.ประชาธิปัตย์ โหวตสวนล้มประยุทธ์ เศรษฐกิจไทยแตกแถว

ในวันเดียวกัน เว็บไซต์ มติชน ออนไลน์ รายงานสืบเนื่องจากนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 ลงคะแนนอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยที่ประชุมมีมติไว้วางใจ 'พลเอกประยุทธ์' ทำงานต่อไป ด้วยคะแนนไว้วางใจ 256 คะแนน ไม่ไว้วางใจ 206 คะแนน และงดออกเสียง 9 คะแนน  

อย่างไรก็ตาม จากบันทึกการลงคะแนนของสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏว่า มี 2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคประชาธิปัตย์ โหวตสวนมติวิปรัฐบาล ประกอบด้วย นายพนิต วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ นายอันวาร์ สาและ ส.ส.ปัตตานี

ขณะที่ พรรคเศรษฐกิจไทย ที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า หัวหน้าพรรค ประกาศอยู่ฝ่ายค้าน กลับพบเสียงแตก มี 11 ส.ส.ที่โหวตไม่ไว้วางใจพลเอกประยุทธ์ ประกอบด้วย 1.นายเกษม ศุภรานนท์ ส.ส.นครราชสีมา 2.นายไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร 3.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา 4.นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 5.นายจีรเดช ศรีวิราช ส.ส.พะเยา

6.นายพรชัย อินทร์สุข ส.ส.พิจิตร 7.นายปัญญา จีนาคำ ส.ส.แม่ฮ่องสอน 8.น.ส.จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร 9.นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ส.ส.ตาก 10.นายยุทธนา โพธสุธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 11.นายสมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.ขอนแก่น

ขณะที่มี 4 ส.ส.ที่ลงมติไว้วางใจ พลเอกประยุทธ์ ประกอบด้วย 1.นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ ส.ส.สุรินทร์
2.นายธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ ส.ส.อุบลราชธานี 3.นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ส.ส.ตาก 4.พล.ต.อ.ยงยุทธ เทพจำนงค์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

นอกจากนี้ ยังพบเสียงที่ไม่ลงคะแนน 1 คน ประกอบด้วย นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ ส.ส.ชลบุรี

แม้ว่าพรรคเศรษฐกิจไทยของร้อยเอกธรรมนัส ส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจประยุทธ์ แต่ทั้ง 15 ส.ส. พร้อมใจลงมติไว้วางใจให้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ทั้งหมด ไม่มีเสียงแตก

ส่วนเสียงพรรคฝ่ายค้านนั้น พรรคเพื่อไทย มี 7 ส.ส. ลงมติงดออกเสียงให้ พล.อ.ประยุทธ์ ประกอบด้วย 1.นายจักรพรรดิ์ ไชยสาส์น ส.ส.อุดรธานี 2.นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ 3.นายธีระ ไตรสรณกุล 4.นางผ่องศรี แซ่งจึง ส.ส.ศรีสะเกษ 5.นายนิยม ช่างพินิจ ส.ส.พิษณุโลก 6.นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก 7.นายสุชาติ ภิญโญ ส.ส.นครนายก

ส่วน นายนพคุณ รัฐผไท ส.ส.เชียงใหม่ ไม่ปรากฏลงคะแนน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net