เยาวชนวัย 14 ปี ผู้ต้องหาคดี ม.112 เรียกร้องเคารพ 'สิทธิตาม ICCPR - อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก'

นักกิจกรรมและเยาวชนวัย 14  ปี ผู้ต้องหาคดี ม.112 รวมตัวอ่านแถลงการณ์หน้า UN เรียกร้องเคารพสิทธิเสรีภาพ ตามกฎกติการะหว่างประเทศ ICCPR - อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก


ที่มาภาพ: แมวลายวัว

18 ก.พ. 2566 The Reporters รายงานว่าบริเวณด้านหน้าองค์การสหประชาชาติ เครือข่ายนักกิจกรรม พร้อมเยาวชนวัย 14 ปี ผู้ต้องหาในคดีมาตรา 112 รวมตัวอ่านแถลงการณ์ถึงกระบวนการยุติธรรม โดยกล่าวอ้างถึง การดำเนินคดีกับเยาวชนวัย 14 ปี ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา และถูกคุกคาม พร้อมกล่าวถึงการแนวทางในการต่อสู้ทางการเมืองของ น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ น.ส.อรวรรณ ภู่พงษ์ และนายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมือง

ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ยังระบุถึงการที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี ICCPR กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2539 และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2540 ว่าด้วยการกล่าวถึงพันธกรณีของรัฐภาคีที่รับรองจะเคารพ และประกันสิทธิ ของบุคคล รวมถึงการห้ามเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็น ทางการเมือง สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกำเนิด หรือสภาพอื่นใด 

ภาพโดย แมวลายวัว

แถลงการณ์จาก ด.ญ. ธนลภย์ (ขอสงวนนามสกุล) เรื่องการใช้มาตรา112 และกระบวนการยุติธรรมลิดรอนสทิธิเด็กและเยาวชนจากอํานาจรัฐไทย

ตามที่ข้าพเจ้า ด.ญ.ธนลภย์ (ขอสงวนนามสกุล) ซึ่งปัจจุบันกําลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ ข้าพเจ้าได้รับหมายเรียกในข้อกล่าวหา ดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาต มาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สําเร็จราชการฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อันเป็นข้อกล่าวหาที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้แจ้งเตือนมายังรัฐไทยให้ยุติการใช้ มาตรานี้เล่นงานผู้เห็นต่างทางการเมืองมาก่อนหน้านี้ในหลายวาระ

ปัจจุบันยังมีคนถูกคุมขังถูกดําเนินคดีเพียงแค่เพราะการแสดงออกทางการเมือง การแสดงความคิดเห็น หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ โดยก่อนหน้านี้ตํารวจได้เคยติดตามมาคุกคามถึงบ้านข้าพเจ้าถึง 2 ครั้ง ในครั้งที่ 2 ได้พูดจาข่มขู่ครอบครัวของข้าพเจ้า และได้ติดตามไปยังโรงเรียนของข้าพเจ้า แต่คุณครูไม่อนุญาตให้ ตํารวจกลุ่มดังกล่าวเข้าพบ

ในขณะที่นักกิจกรรมเยาวชน ตะวัน ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ แบม อรวรรณ ภูพงษ์ กําลังอดอาหารและน้ํา เพื่อประท้วงให้ศาลซึ่งเป็นองค์กรของคู่กรณีในมาตรา 112 ปล่อยนักโทษทางการเมืองเพื่อออกมาสู้คดีและ เรียกร้องให้พรรคการเมืองมนีโยบายยกเลิกมาตรา112และมาตรา116ที่รัฐใช้คุมขังนักกิจกรรมที่ผ่านมา ตะวัน ทานตะวัน ต้องสวมใส่กําไล EM ถูกจํากัดไม่ให้ออกนอกเคหะสถานตลอด 24 ชั่วโมง (House Arrested) เว้นแต่ยื่นคําร้องต่อศาล แบม อรวรรณ ก็ต้องสวมใส่กําไล EM เช่นกัน

เก็ท โสภณ สุรฤทธิ์ธํารง และ ใบปอ ณัฐนิช ดวงมุสิกต์ ถูกถอนประกันตัวเนื่องจากเข้าร่วมกิจกรรมราษฏรหยุด เอเปค 2022 เพื่อทวงถามความเป็นธรรมตอ่ กรณีคฝ. ใช้ความรุนแรงต่อ "พายุ ดาวดิน" ที่ถูกกระสุนยางจาก เจ้าหน้าที่รัฐจนตาบอด

ที่ผ่านมาเก็ท โสภณ สุรฤทธิ์ธํารง ถูกกักบริเวณภายในเคหะสถาน แม้แต่จะไปทํางานก็ไม่สามารถไปได้ จะไป ไหนต้องยื่นคําร้องต่อศาลและใบปอ ณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ ต้องสวมใส่กําไล EM และถูกจํากัดเวลาออกจากเคหะ สถาน
ตามหลักการนิติปรัชญาแล้วมาตรา 112 มีปัญหาในการมีอยู่ ในคดีที่เกิดขึ้นต่อข้าพเจ้าและประชาชนไทยอีก หลายราย ในตัวบทแห่งคดีอาญามาตรา 112 มีระบุในตัวบทว่า การกระทําของผู้ซึ่งเป็นผู้ต้องหาเป็นการ ละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ฉะนั้นแล้วพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ จึงเป็นผู้ถูกกระทํา ซึ่งนับเป็นผู้เสียหายแห่งคดีนี้ โดยตรง

ซึ่งตํารวจ และศาลต่างก็ล้วนแต่เป็นองค์กรของกษัตริย์ เป็นคนของกษัตริย์ เป็นข้าราชการของกษัตริย์ มีส่วนได้ ส่วนเสียต่อคู่กรณีผู้เสียหายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดี ตํารวจ และศาลล้วนได้รับการประดับยศจากกษัตริย์ ที่สถานี ตํารวจมักมีรูปกษัตริย์และราชินีติดอยู่ตามผนัง ที่สํานักงานศาล และเหนือบังลังก์พิจารณาคดีก็มีรูปของกษัตริย์ และราชินีติดอยู่เช่นกัน นั่นแสดงถึงความไม่เป็นกลางทางคดีระหว่างข้าพเจ้า และกษัตริย์ผู้เสียหายแห่งคดี

ไทยเข้าเป็นภาคี ICCPR กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2539 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2540 โดย สาระสําคัญในหลัก ICCPR ว่าด้วยการกล่าวถึง สิทธิในการกําหนดเจตจํานงตนเอง ว่าด้วยการกล่าวถึงพันธกรณีของรัฐภาคีที่รับรองจะเคารพและประกันสิทธิ ของบุคคล รวมถึงการห้ามเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็น ทางการเมือง สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกําเนิด หรือสภาพอื่นใด และว่าด้วยการกล่าวถึงสาระของ สิทธิในส่วนที่เป็นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อาทิ เสรีภาพในการมีชีวิต เสรีภาพจากการถูกทรมาน การห้ามมิให้บุคคลถูกจับกุมตามอําเภอใจ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก

โดยประเทศไทยในขณะนี้แทบจะไม่ปฏิบัติตนตามหลัก ICCPR ตามที่ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติ

เนื่องจากข้าพเจ้ายังเป็นเยาวชน ข้าพเจ้าควรได้รับสิทธิเด็ก ตามที่ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ เด็ก นั้นคือ 1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด โดยข้าพเจ้าควรได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสม 2.สิทธิที่จะได้รับ การปกป้องคุ้มครอง โดยข้าพเจ้าต้องถูกคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งทางกาย และใจ 3.สิทธิว่าด้วยการศึกษา ข้าพเจ้าสามารถรับข่าวสารจากสื่อที่หลากหลาย 4.สิทธิที่จะมีส่วนร่วม ข้าพเจ้า และเด็กๆ เยาวชน ต้องสามารถ มีส่วนร่วมในการแสดงออกถึงสิทธิ และเสรีภาพ

ฉะนั้นแล้วศาล และตํารวจไทยจึงไม่มีศักดิ์ และสิทธิ์ใดๆ ในการดําเนินคดีอาญามาตรา 112 จากปัญหาความ ไม่เป็นกลางระหว่างคู่กรณีดังกล่าวของทั้งตํารวจ และศาล

นักสู้ ไม่ใช่นักโทษ หยก ธนลภย์ (ขอสงวนนามสกุล)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท