Skip to main content
sharethis

 

ชื่อ เดิม: "ประกายไฟ" จากชุน เต อิล บิดาของขบวนการแรงงานเกาหลี
             สู่นวมทอง ไพรวัลย์ วีรบุรุษประชาธิปไตยไทย
 

 
 
"จ่ายให้ไป เท่าไรหรือคะ?" ผู้เขียนถามคนขับแท๊กซี่ที่ผู้เขียนนั่งโดยสารอยู่ในขณะนั้น
 
"40 บาท" "100 บาท" "200 บาท" เป็นคำตอบที่เหล่าคนขับแท็กซี่หนุ่มวัยกลางคนถึงวัยอาวุโสตอบผู้เขียน เมื่อคราถูกเรียกให้จอดโดยตำรวจ "ยังไง ๆ เขาก็หาเรื่องเอาผิดจนได้ล่ะ จ่ายๆ ไปจะได้หมดเรื่อง"
 
คนขับแท็กซี่ หนึ่งในกลุ่มคนยากจนที่ดิ้นรนทำกินวันละกว่า 12 -16 ชั่วโมง บทท้องถนนสายต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่มีการจราจรคับคั่งมากที่สุดเมืองหนึ่งในโลก ด้วยอาชีพที่ง่ายต่อการถูกเอาเปรียบจากระบบ ตั้งแต่ค่าเช่าที่แพงหูฉี่ ค่าทะเบียนราคาแพง และยามถูกตำรวจเรียกให้จอด คนขับแท็กซี่ส่วนใหญ่จึงเข้าใจดีถึงเรื่องอำนาจที่กดทับพวกเขาทั้งหลายอย่าง ไม่ยุติธรรม
 
ในยุคก่อนโครงการ "แท๊กซี่เอื้ออาทร" และ "รัฐประหาร 19 กันยา 2549" ผู้เขียนจะแลกเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับการเมืองกับคนขับแท็กซี่อย่างตรงไปตรง มา ในหลายครั้งที่ใช้บริการแท็กซี่ แต่ไม่นานหลังโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร ตลอดจนหนึ่งปีที่สนธิ ลิ้มทองกุล นำการต่อต้านทักษิณด้วยสัญลักษณ์ธงเหลือง และนับตั้งแต่ 19 กันยาฯ เป็นต้นมา การแลกเปลี่ยนการเมืองในรถแท็กซี่เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น ทั้งผู้โดยสารและคนขับ ต่างคนก็ต่างกลัวว่า "ถ้าพูด ไม่ถูกหูอีกฝ่ายหนึ่ง อาจนำไปสู่การทะเลาะกันได้"
 
เมื่อมีข่าวคนขับ รถแท็กซี่พุ่งชนรถถัง ผู้เขียนก็ได้เฝ้าติดตามกรณีข่าวของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ ด้วยความวิตกกังวลและห่วงใย แต่ก็คงคล้ายๆ กับหลายๆ คน ที่เคยคิดกับคุณนวมทองว่าการกระทำของคุณนวมทองนั้น กระทำด้วย "ความ บ้าบิ่น และโทสะ"
 
แต่มันใช่แน่ หรือ?
 
1 พ.ย.2549 พ.ต.ท.สมาน คลองสิน สารวัตร สน.บางซื่อ เปิดเผยว่ามีผู้เสียชีวิตจากการผูกคอตาย บริเวณสะพานลอย ถนนวิภาดีขาออก เยื้องกับที่ตั้งบริษัทหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จากการตรวจสอบพบว่าผู้เสียชีวิตคือนายนวมทอง ไพรวัลย์ อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 57/14 หมู่ 8 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึ่งเคยตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งตามหนังสือพิมพ์ต่างๆ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 เมื่อนายนวมทองขับรถแท๊กซี่พุ่งชนรถถังที่จอดอยู่ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า
 ประชาไท 1112549
 
ข่าวรายงานว่าคุณ นวมทองได้เขียนกระดาษทิ้งไว้ว่า "อดีตคนขับรถแท็กซี่พลีชีพเพื่อ ประชาธิปไตย และลบคำสบประมาทรองโฆษก คปค.ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มาก"
 
ผู้เขียนรู้สึก ทันทีเมื่อได้อ่านข้อเขียนของคุณนวมทองว่า "นี่คือวีรบุรุษเพื่อ ประชาธิปไตยของไทย เป็นวีรบุรุษที่ประเทศนี้รอคอยมากว่า 75 ปี" เป็นความหวังอันยิ่งใหญ่ว่า "ประชาธิปไตย ที่แท้จริง" สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย เมื่อคนขับแท็กซี่ ตัวแทนจากชนชั้นคนยากจนที่มีสัดส่วนกว่า 80% ของประชากรทั้งประเทศ คนยากจนที่แทบไม่เคยมีตัวแทนในรัฐสภา ที่แทบไม่เคยมีสิทธิใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากสิทธิเลือกตั้งตามหน้าที่ ได้ประกาศ 'เพื่อประชาธิปไตย' ด้วยชีพ
 
กระนั้นก็เถิด "คนยากจน ส่วนใหญ่ของประเทศ" เหล่านี้ มักถูกตราหน้ามาโดยตลอดจากสื่อและชนชั้นกลางในทุกการเลือกตั้งที่ผ่านมาใน ประเทศไทยว่า "ยอมขายเสียงด้วยเงิน 100 บาท 200 บาท และ 500 บาท" และคะแนนเสียงของพวกเขาถูกอ้างว่า "ไม่ชอบธรรม" ในหลายครั้งที่คะแนนสวน กระแสความรู้สึกของปัญญาชนและชนชั้นกลางในเมืองหลวง การป้ายความผิดว่าประชาธิปไตยไทยด้วยระบบเลือกตั้งไม่ชอบธรรม พุ่งประเด็นความผิดไปสู่คนยากจนเหล่านี้ แต่กลับไม่ได้พุ่งเป้าไปที่ความผิดของระบบที่เปิดช่องมหาศาลให้คนรวย คนมีการศึกษา และผู้มีอำนาจปล้น ประชาธิปไตยด้วยอำนาจ "ภาษา" "เงิน" และ "กระบอกปืน" มาโดยตลอด 75 ปี
 
ดังนั้นเมื่อได้ อ่านเรื่องราวของคุณนวมทอง จากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ตลอดจนท่าทีที่หยามหยันของผู้ที่ตอบกระทู้บางคนในประชาไท มาตลอดร่วมสองวัน ผู้เขียนซึ่งกำลังแปลหนังสือเรื่อง "ประกายไฟ ชีวประวัติ ชุน เต อิล" ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิแรงงาน และนำมาสู่การลุกฮือขับไล่เผด็จการปักจุงฮี ของประเทศเกาหลีใต้ในทศวรรษที่ 2513 จึงนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ จำเป็นต้องลุกขึ้นมาเขียนถึงคุณนวมทอง โดยผ่านมุมมองของ "ประกายไฟ ชุน เต อิล"
 
การประท้วงเผด็จ การของคุณนวมทองที่ใช้การผูกคอบนสะพานลอยวิภาวดี เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 31 ตุลาคม 2549 กับการเผาตัวประท้วงการกดขี่ขูดรีดของนายจ้าง และความไร้น้ำยาของกฎหมายแรงงานของกรรมกรตัดผ้าชายวัย 23 ปี ที่ชื่อ ชุน เต อิล ที่เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2513 อาจจะทำให้พวกเราที่กำลังตกอยู่ในสภาวะ "วิกฤติศรัทธาอย่างแรง" ต่อผู้นำจากชนชั้นปัญญาชน ชนชั้นสูง อาจจะกล้าลุกขึ้นมาสร้างศรัทธาแห่งอุดมการณ์ได้จากการต่อสู้ของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ คนขับรถแท็กซี่ที่รักประชาธิปไตยยิ่งชีวิต
 
ผู้เขียนยก ตัวอย่างกรณีของชุน เต อิล เพราะอาจจะช่วยทำให้พวกเราได้เข้าใจอุดมการณ์ของคุณนวมทองดีขึ้น พร้อมกับนี้ผู้เขียนขอยกบทนำของหนังสือ "ประกายไฟ ชีวประวัติ ชุน เต อิล" มาให้ได้อ่านกัน
 
ชุน เต-อิล คือใคร เรากำลังพูดถึงใคร? เต-อิล เป็นกรรมกรวัยเยาว์ที่ทำงานเป็นคนงานตัดผ้าในตลาดสันติภาพ (Peace Market) ในกรุงโซล เขาเกิดใน เตกู (Taegu) ตอนใต้ของเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2491 ที่ตลาดสันติภาพแห่งนี้ เขาผู้นี้ได้เผาตัวเองประท้วง เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2513 และได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "การประกาศแห่งสิทธิมนุษยชน"
           
เขาคือผู้ที่เสีย สละชีวิตของตัวเองเพื่อเปิดโปงภาพของความทุกข์ยากของกรรมกรในโรงงาน อุตสาหกรรมที่อยู่ในวังวนแห่ง "ยากจน เจ็บป่วย ไร้การศึกษา (โง่)" คนงานที่ทำงานวันละ 16 ชั่วโมง ในสถานที่ที่คลุ้งไปด้วยฝุ่นควัน ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างหน้าเลือด เขาต้องการชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนนั้นต่างก็มีความต้องการมีชีวิตอยู่โดย ได้รับการเคารพในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เต-อิล ประกาศว่าชีวิตมนุษย์มีค่ามหาศาลทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของกรรมกรที่ยากจนข้นแค้นหรือชีวิตของคนที่ร่ำรวยมั่งคั่ง
           
เขากล่าวประณาม ถึงความจริงที่ว่าในชั้นต่ำสุดในสังคม ยังมีมนุษย์อยู่ มนุษย์ที่ได้รับการปฏิบัติอย่างเลวร้ายที่สุด จนแม้แต่ตัวเองยังต้องขอตายเสียดีกว่ามีชีวิตอยู่ ขอตายเพื่อหลีกหนีต่อความยากแค้นอันสุดจะทานทนได้อีกต่อไป เป็นมนุษย์ผู้ที่ได้รับการปฏิบัติไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉานที่ถูกล่ามโซ่ กระนั้น ผู้ที่ขับเคลื่อนร่างกายอันอ่อนเปลี้ยไปทำงานเพียงเพื่อได้อาหารมาเติมใส่ กระเพาะที่หดเล็กจนขอดกิ่ว ผู้ที่ความเป็นมนุษย์ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิง
           
และเขาผู้นี้ได้ ปฏิญาณว่า "ในยุคสมัยแห่งการครอบครองการผลิต ความเลวร้ายแห่งยุคสมัยนี้คือ การที่คนเพียงคนเดียวแย่งชิงทุกสิ่งทุกอย่างไปจากมนุษย์ผู้อื่นๆ จนหมดสิ้น ผมจะไม่ประนีประนอมกับความอยุติธรรมหรือจะทนอยู่เงียบเฉย แต่ผมจะทำทุกวิถีทางที่จะนำความยุติธรรมมาสู่สังคม"
           
เขาสู้และเขาตาย
           
เขาตายได้อย่างไร หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งในวันรุ่งขึ้นว่า "กรรมกรโรง งาน และความหวังที่ขาดหวิ่น" ถือเป็นข่าวเด่นใน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และหัวข้อข่าวรอง "กรรมกรตัด ผ้า "ชุน" ฆ่าตัวตาย: เรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานที่โรงงานในตลาดดอง กวา และตลาดสันติภาพ"; กรรมกร 16 คนเขียนจดหมายเลือดเมื่อตำรวจพยายามจะบุกเข้าไปทลายการประท้วง; ทำงานวันละ 16 ชั่วโมง พวกเราไม่ใช่เครื่องจักร"
           
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 13 พฤศจิกายน ชุน เต-อิล กรรมกรคนหนึ่งได้เรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีขึ้นและประท้วง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของนายจ้างและรัฐ โดยที่ละเลยต่อชะตากรรมของเหล่ากรรมกร ได้เผาตัวเองประท้วงจนเสียชีวิต ชุน (อายุ 23 ปี) ที่ อยู่ 208 แสงมุนดอง ซุงบุคคุ ถนนชองเย-ชุน กรุงโซล ได้ทำงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในตลาดดองกวา ถนนชองเย-ชุน สายที่ 6 ในระหว่างการสไตร์เพื่อเรียก ร้องให้มีการปรับสภาพการทำงานให้ดีขึ้น เขาได้ราดน้ำมันลงบนตัวและจุดไฟเผาตัวเอง เมื่อตำรวจพยายามจะใช้กำลังสลายการสไตรค์ เขาถูกนำส่งศูนย์สาธารณสุข แล้วต่อมาย้ายไปที่โรงพยาบาล เซนท์ แมรี่ แต่ได้เสียชีวิตในเวลา 22 นาฬิกา
           
วันที่ 6 ตุลาคม ชุนได้ยื่นข้อเรียกร้องไปยังกระทรวงแรงงานเพื่อขอให้มีการปรับปรุงสภาพการทำ งานในโรงงาน 400 แห่งในตลาดดองกวา ตลาดสันติภาพ และตลาดทองกิล ให้เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายแรงงาน แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใดๆ ชุนและเพื่อนในแผนกตัดในตลาดอีก 10 คน จึงได้ตัดสินใจประท้วงที่หน้าตลาดในเวลา 13.20 น.
           
เมื่อตำรวจเข้าไป ยึดป้ายประท้วงของผู้ประท้วงที่เขียนว่า "พวกเราไม่ใช่เครื่องจักร" และ "จงปฏิบัติตามกฎหมาย" ชุนจุดไฟเผาตัวเอง
(หนังสือพิมพ์ Hankook Daily, 14 พฤศจิกายน 2513)
 
ชุน เต อิล ได้เขียนพินัยกรรมไว้ว่า
เพื่อนเอ๋ย โปรดอย่าลืมผม เพราะว่าผมอยู่กับท่าน ณ ขณะนี้ แม้ยามฟ้าคำรามก้องและฟาดเปรี้ยงมายังร่างที่อ่อนเปลี้ยร่างนี้ก็ตาม: แม้ว่า ฟ้าจะถล่มทับลงมายังร่างนี้ ผมก็จะยังคงตรึงมั่นอยู่ในความทรงจำของพวกท่านทั้งหลาย จะไม่มีความกลัวใดๆ เกิดขึ้นได้ และถ้ายังมีความกลัวใดๆ หลงเหลืออยู่ ผมจะยอมสลายตัวตนนี้ไปตลอดกาล ผม คนที่ท่านทั้งหลายรู้จักดี และเป็นส่วนหนึ่งของท่านอย่างจริงแท้ ผมได้ใช้พลังทั้งมวลมากกว่าที่ผมมี ขัดและขัดหินก้อนนี้จนหมดเลี่ยมคม และผมขอมอบก้อนหินนี้ให้กับท่านทั้งมวล
 
ผมกำลังจะจากไป สักระยะหนึ่งเพื่อพักผ่อน
 
ไปยังสถานที่ ที่สรรพชีวิตไปไม่ถึง สถานที่ที่ผมหวังว่าจะไม่มีผู้คนถูกคุกคามด้วยอำนาจแห่งความมั่งคั่งหรือ ด้วยคมดาบแห่งอาวุธ
 
ช่วยกันดันก้อน หินนี้ไปยังจุดหมายปลายทางด้วยเถิด เพราะผมไม่สามารถดันหินก้อนนี้ไปสู่ความสำเร็จได้ในโลกนี้
 
 ถ้า เพียงว่าผมจะสามารถผลักและดันหินก้อนนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้สำเร็จ ผมยินดีที่จะไม่ีชีวิตหน้าอีก ต่อไป
(จากพินัยกรรมของ ชุน เต-อิล)
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net