Skip to main content
sharethis

คนงานเหมืองในชีลีจำนวน 33 ราย ได้รับการช่วยเหลือแล้ว หลังจากติดอยู่ใต้พื้นดินมากว่า 2 เดือน ล่าสุดตอนนี้ (07:43 14 ต.ค.) มีชาวเหมืองได้รับการช่วยเหลือครบแล้วทั้ง 33 ราย

 

อัพเดตสถานการณ์ล่าสุด

เวลา 21.43 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม ตามเวลาในชิลี หรือ 07.43 น. วันที่ 14 ตุลาคม ตามเวลาในประเทศไทย หลุยส์ อูซูอา ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 33 เป็นชาวเหมืองรายสุดท้ายที่ได้รับการช่วยเหลือ ขณะนี้เจ้าหน้าที่กู้ภัยกำลังทยอยขึ้นมาจากเหมือง

 

(เวลาที่ระบุเป็นเวลาประเทศไทย ซึ่งเร็วกว่าชิลี 10 ชั่วโมง)

สถานการณ์ล่าสุด (13.15) - คาร์ลอส มามานี ได้รับการช่วยเหลือแล้ว เขากล่าว "ขอบคุณทุก ๆ คน" เข้าสวมกอดภรรยา ขณะนี้กำลังทำการช่วยเหลือรายที่ 5 ซึ่งเป็นคนงานเหมืองที่อายุน้อยที่สุดในนั้น

(14.12) - จิมมี่ ซานเชส ชาวเหมืองรายที่ 5 ได้รับการช่วยเหลือแล้ว เขาเคยบอกว่าเขาคิดถึงลูกสาวอายุ 2 เดือน ที่ชื่อบาร์บาร่าเวลาที่ติดอยู่ในเหมือง และนั่นช่วยให้เขาพยายามมีชีวิตรอดอยู่ใต้เหมืองได้ถึง 69 วัน

(14.55) - ขณะนี้เฮลิคอปเตอร์รับชาวเหมือง 4 รายแรกที่ได้รับการช่วยเหลือไปส่งถึงโรงพยาบาลโคปิอาโปแล้ว

(15.35) - ออสแมน อรายา ชาวเหมืองอายุ 30 ปี ได้รับการช่วยเหลือแล้วเป็นรายที่ 6

(16.22) - โฮเซ่ โอเจดา เป็นผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และเคยเขียนข้อความบอกว่า "พวกเราสบายดี" จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 7 เขารักการทำงานเหมือง และเป็นชาวเหมืองมากว่า 27 ปีแล้ว

โฮเซ่ โอเจดา เป็นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและเคยเขียนข้อความบอกว่า "พวกเราสบายดี" จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลกได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 7 เขารักการทำงานเหมืองและเป็นชาวเหมืองมากว่า 27 ปีแล้ว

(17.04) - ชาวเหมืองที่ติดอยู่ทั้ง 33 รายได้รับการชวยเหลือแล้ว 8 ราย โดยเคลาอิโด ยาเนซ เป็นผู้ได้รับการช่วยเหลือรายที่ 8

(18.00) มาริโอ โกเมซ (Mario Gomez) อายุ 63 ปี เป็นชาวเหมืองคนที่ 9 ที่ได้รับการช่วยเหลือ เมื่อขึ้นมาถึงเขาชูสองนิ้ว และถือธงชาติชิลี

(18.54) แคปซูลได้นำอเล็ก เวกา (Alex Vega) วัย 31 ปี เป็นคนที่ 10 ขึ้นมาจากเหมือง

(19.32) จอร์จ กาเลอจิยอส (Jorge Galleguillos) ได้รับการช่วยเหลือออกมาจากเหมืองเป็นรายที่ 11

(20.00) เอดิสัน เปนา (Edison Pena) ได้รับการช่วยเหลือจากเหมือง เป็นรายที่ 12

(20.30) มีผู้ได้รับการช่วยเหลือจากเหมืองที่ชิลีแล้ว 12 ราย ขณะนี้คาลอส บาริออส (Carlos Barrios) กำลังเป็นผู้ำได้รับการช่วยเหลือรายที่ 13

(20.43) คาลอส บาริออส ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 13 เมื่อพบกับแม่ เขาบ่นกับแม่ของเขาว่านักจิตวิทยาที่ถูกส่งลงไปทำงานกับชาวเหมืองสร้างความกดดันให้กับชาวเหมือง

(21:30) วิคเตอร์ ซาโมรา (Victor Zamora) อายุ 33 ปี ได้รับการช่วยเหลือจากเหมืองเป็นรายที่ 14

(22:00) วิคเตอร์ เซโกเวีย (Victor Segovia) ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 15

(22:49) ดาเนียล เฮเรรา (Daniel Herrera) อายุ 27 ปี ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 16

(23.39) โอมาร์ เรกาดาส (Omar Reygada) อายุ 56 ปี ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 17

(00:49) เอสเตบัน โรจา (Esteban Rojas) เป็นผู้ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 18

(01:28) ปาโบล โรจา (Pablo Rojas) ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 19

(02:00) ดาริโอ เซโกเวีย (Dario Segovia) ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 20

(02:31) ยอนนี บาริออส (Yonni Barrios) ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 21

(03:04) แซมมวล อวาลอส (Samuel Avalos,) อายุ 43 ปี ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 22

(03:32) คาร์ลอส บูเกอโน (Carlos Bugueno) อายุ 27 ปี ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 23

(03:59) โฆเซ่ เอนริเก้ (Jose Henriquez) อายุ 54 ปี ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 24

(04:27) เรอนัน อวาลอส (Renan Avalos) อายุ 29 ปี ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที 25

(04:51) เคลาดิโอ อะคูนา (Claudio Acuna) ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 26 เขาเพิ่งฉลองวันคล้ายวันเกิดปีที่ 25 ในเหมือง เมื่อ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา

(05:00) การช่วยเหลือชาวเหมืองผ่านไปแล้ว 26 ราย เหลือชาวเหมืองรอความช่วยเหลืออีก 7 ราย และมีเจ้าหน้าที่กู้ภัยอยู่ในเหมือง 5 ราย อยู่กับพวกเขา

(05:18) แฟรงคลิน โลบอส (Franklin Lobos) อายุ 53 ปี เป็นอดีตนักฟุตบอลในลีกท้องถิ่น เป็นพนักงานขับในเหมือง ล่าสุดเขาได้รับการช่วยเหลือออกจากเหมืองเป็นรายที่ 27

(05:45) ชาวเหมืองรายที่ 28 ที่ได้รับการช่วยชีวิตจากเหมืองซานโฆเซ่คือริชาร์ค วิยาเรเอล (Richard Villaroel)

(06:13) ฆวน อากิลา (Juan Aguilar) วัย 49 ปี ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 29

(06:37) ราอู บูโตส (Raul Bustos) เป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือเป็นรายที่ 30

(07:03) เปโดร คอร์เตซ ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 31

(07:19) ขณะนี้เหลือชาวเหมืองติดอยู่อีก 2 ราย ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังช่วยเหลือชาวเหมืองรายที่ 32 คือ อาเรียล ติโคนา (Ariel Ticona)

(07:28) อาเรียล ติโคนา ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 32

(07.43) ขณะนี้เวลา 21.43 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม ตามเวลาในชิลี หรือ 07.43 น. วันที่ 14 ตุลาคม ตามเวลาในประเทศไทย หลุยส์ อูซูอา (Luis Urzua) ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 33 เป็นชาวเหมืองรายสุดท้ายที่ได้รับการช่วยเหลือ ขณะนี้เจ้าหน้าที่กู้ภัยกำลังทยอยขึ้นมาจากเหมือง


13 ต.ค. 2553 - คนงานเหมืองในชีลีจำนวน 33 ราย  กำลังได้รับการช่วยเหลือ หลังจากติดอยู่ใต้พื้นดินมากว่า 2 เดือน

ปฏิบัติการช่วยชีวิตคนงานเหมืองเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 23.15 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยผู้ที่ลงไปช่วยคือ มานูเอล กอนซาเลซ ซึ่งเดิมทีกอนซาเลซจะทำหน้าที่เป็นผู้ที่ขึ้นมารายงานสภาพอุโมงค์ที่จะลงไปช่วยเหลือก่อนจะมอบหน้าที่ให้กับหน่วยแพทย์พยาบาล

อย่างไรก็ตามภาพวิดิโอจากแหล่งพำนักที่ชาวเหมืองมารวมตัวกันแสดงให้เห็นคนงานเหมืองที่ชื่ออวาลอสพร้อมขึ้นมาบนพื้นดินโดนทันที เขาเลือกนำขึ้นมาคนแรกเนื่องจากเขาเป็นหนึ่งในคนงานเหมืองที่มีความพร้อมทางสภาพร่างกาย

เมื่อเวลา 00.10 น. ตามเวลาท้องถิ่น แคปซูลที่ชื่อ "ฟินิกซ์" ก็เคลื่อนตัวขึ้นมาบนพื้นโลก โดยเมื่ออวาลอสออกมาจากแคปซูลแล้ว เขาก็ได้รับการต้อนรับจากครอบครัว หน่วยกู้ภัย ประธานาธิบดีและภริยา ทำให้เขายิ้มกว้าง ขณะที่ผู้ชมโดยรอบต่างปรบมือส่งเสียงเชียร์ ตะโกนร้องคำว่า "ชิลี" นักข่าวบีบีซีรายงานว่าบรรยากาศของผู้ชมการกู้ชีพราวกับการเฉลิมฉลอง

อวาลอส ชูนิ้วโป้งก่อนถูกนำตัวไปยังศูนย์พยาบาล เมื่อพบหมอแล้วเขาจะได้ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวต่อไป

แคปซูลที่สองนำหน่วยแพทย์พยาบาลโรเบอร์โต รอส โดยสารลงไปพร้อมกับหน่วยพิเศษนาวีของชิลี และได้ช่วยชีวิต มาริโอ เซพูลเวดา ขึ้นมา

เมื่อช่วยเหลือเซพูลเวดา ขึ้นมาได้สำเร็จแล้วในชั่วโมงต่อมา เขาก็สวมกอดกับภรรยาและประธานาธิบดีปิเนรา และได้มอบหินเป็นที่ระลึกแด่หน่วยกู้ภัย

คนงานรายที่ 3 ที่ได้รับการช่วยเหลือคือ ฮวน อิลาเนส เขาบอกว่าการเดินทางขึ้นมาของเขาให้ความรู้สึกเหมือนได้ล่องเรือ

เจ้าหน้าที่กล่าวว่าจะสามารถช่วยเหลือคนงานเหมืองได้หนึ่งรายต่อหนึ่งชั่วโมง และทำให้ต้องใช้เวลาราว 48 ชั่วโมงในการปฏิบัติการให้สำเร็จ

โดยคนงานเหมืองรายที่ 4 ที่จะได้รับการช่วยเหลือคือ คาร์ลอส มามานี คนงานเหมืองคนเดียวที่ไม่ใช่ชาวชิลี มามานีเป็นชาวโบลิเวีย ซึ่งมีการคาดกันว่าประธานาธิบดีอิโว โมราเลสของโบลิเวียจะมาเยี่ยมคนงานเหมืองรายนี้ด้วย

หลังจากที่มามานี ได้รับการช่วยเหลือออกมาแล้ว เขากล่าว "ขอบคุณทุก ๆ คน" แล้วเข้าสวมกอดภรรยา ก่อนหน้านี้นักข่าวบีบีซี Tweet ว่า พ่อตาและแม่ยายของคาร์ลอส มามานี กำลังยืนรอเขาอยู่ที่ปากอุโมงค์พร้อมถือธงโบลีัเวีย ขณะที่ภรรยาของเขายืนรออยู่อย่างวิตกกังวล

ในเวลาต่อมา จิมมี่ ซานเชส ชาวเหมืองรายที่ 5 ก็ได้รับการช่วยเหลือ เขาเคยบอกว่าเขาคิดถึงลูกสาวอายุ 2 เดือน ที่ชื่อบาร์บาร่าเวลาที่ติดอยู่ในเหมือง และนั่นช่วยให้เขาพยายามมีชีวิตรอดอยู่ใต้เหมืองได้ถึง 69 วัน บีบีซีรางานว่าซานเชสดูอ่อนเพลีย หลังจากที่ถูกช่วยเหลือขึ้นมา

โดยหลังจากที่เจ้าหน้าที่ทำการซ่อมบำรุงเพื่อเตรียมความพร้อมแคปซูล จึงทำการช่วยเหลือออสแมน อรายา เป็นรายที่ 6 ผู้เชี่ยวชาญด้านเหมืองกล่าวกับบีบีซีว่า ปฏิบัติการกู้ชีพของชิลีมีทักษะความเป็นมืออาชีพมาก

โฮเซ่ โอเจดา เป็นผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และเคยเขียนข้อความบอกว่า "พวกเราสบายดี" จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ได้รับการช่วยเหลือเป็นรายที่ 7 เขารักการทำงานเหมือง และเป็นชาวเหมืองมากว่า 27 ปีแล้ว

เอมิลิโอ ซาน เปโดร จากบีบีซีกล่าวว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีปิเนรา จัดการกับวิกฤติครั้งนี้ได้ดีมาก และความนิยมในตัวประธานาธิบดีก็เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 70

กระบวนการกู้ชีพ

ในระหว่างที่เดินทางจากใต้ผืนโลกขึ้นมาบนพื้นดิน คนงานเหมืองได้สวมชุด "ควบคุมชีวภาพ" (Bio-harness) ซึ่งใช้กับนักบินอวกาศ โดยชุดนี้จะตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ อุณหภูมิ และการใช้อ็อกซีเจนของผู้สวมใส่

ตรงปากบ่อของช่องทางช่วยเหลือจะมีชนวนเหล็กเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นผิวดินแตกทรุดลงไปในช่วงที่มีการช่วยเหลือ โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่าช่องทางช่วยเหลือส่วนอื่น ๆ อาศัยการขุดผ่านพื้นที่หินแข็งจึงไม่แตกง่าย ๆ

เจ้าหน้าที่กล่าวว่าคนที่จะได้รับการช่วยเหลือรายแรก ๆ จะเป็นผู้ที่มีสภาพจิตใจมั่นคง และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานเหมืองมาก่อน เผื่อว่าอาจจะเกิดความผิดพลาดในการช่วยเหลือครั้งแรก ๆ

จากนั้นจึงจะทำการช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอหรือป่วยเป็นลำดับต่อมา มีชาวเหมืองรายหนึ่งป่วยเป็นความดันโลหิตสูง อีกรายหนึ่งเป็นโรคเบาหวาน รายอื่น ๆ มีอาการติดเชื้อทางช่องปาก และทางเดินหายใจ หรือบางคนก็เกิดรอยแผลทางผิวหนังจากความชื้นในเหมือง

ดร.เจนนิเฟอร์ ไวล์ด จากสถาบันจิตเวชคิงส์คอลเลจ กล่าวว่า แม้ชาวเหมืองที่ได้รับการช่วยเหลือจะแสดงท่าทีปลอดโปร่ง แต่พวกเขาก็ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้พวกเขากลับไปใช้ชีวิตปกติได้

นักจิตวิทยา เจมส์ ทอมป์สัน กล่าวกับบีบีซีเวิร์ลว่า ความรู้สึกสนุกสนานในตอนนี้อาจจางหายไปในเวลาต่อมาและกลายเป็นความซึมเศร้ากับโรควิตกกังวล หลังจากที่พวกเขากลับสู่โลกความจริง พวกเขาต้องจัดการกับความสัมพันธ์ในครอบครัวและสถานะของฮีโร่ รวมถึงความทรงจำในช่วงที่พวกเขาติดอยู่ใต้ดิน

โดยหลังจากได้พบกับครอบครัวแล้วคนงานเหมืองจะถูกส่งตัวไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใกล้กับเมืองโคปิอาโปต่อไป

ทางรัฐบาลชิลีได้เผยแพร่ภาพการช่วยเหลือไว้ใน Flickr

ที่มา
Joy as first Chile miners freed, BBC , 13-10-2010

สามารถติดตามการรายงานสดได้จาก บีบีซี

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net