นิวยอร์กไทมส์: เมื่อยุโรปสวนกูเกิลเรื่องความเป็นส่วนตัวบนเว็บ

ประชาชนในสเปน 90 รายเรียกร้องให้ลบข้อมูลของพวกเขาออกจากเว็บ หนึ่งในนั้นเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งพบว่าที่อยู่ของเธอสามารถพบได้ง่ายๆ ผ่านกูเกิล ขณะที่อีกรายซึ่งกำลังเข้าสู่วัยกลางคน รู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรมที่การกดแป้นพิมพ์ไม่กี่ตัวก็สามารถขุดคุ้ยเรื่องที่เธอเคยถูกจับกุมสมัยเรียนได้ เสียงของพวกเขาอาจไม่ได้รับความสนใจนักในสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งบริษัทกูเกิลตั้งอยู่ แต่สำหรับในยุโรปแล้ว แนวคิดที่ว่าปัจเจกบุคคลควรมี \สิทธิที่จะถูกลืม\" ในเว็บ เป็นแนวคิดที่ยึดถือโดยทั่วไป รัฐบาลสเปนกำลังต่อสู้เรื่องนี้ โดยสั่งให้กูเกิลหยุดการเก็บข้อมูลของพลเมือง 90 คนซึ่งยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อหน่วยงานคุ้มครองข้อมูล คดีนี้กำลังอยู่ในชั้นศาลและถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากทั่วทั้งยุโรป ว่ามันจะส่งผลอย่างไรต่ออำนาจการควบคุมที่พลเมืองจะมีเหนือข้อมูลที่พวกเขาโพสต์ หรือข้อมูลที่คนอื่นโพสต์เกี่ยวกับพวกเขาบนเว็บ ไม่ว่าผลของคดีดังกล่าวจะออกมาเป็นอย่างไร ก็มีการคาดการณ์ว่าสหภาพยุโรปจะพิจารณาข้อบังคับใหม่ว่าด้วย \"สิทธิที่จะถูกลืม\" ในฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ประมาณตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป) วิเวียน เรดดิง กรรมการฝ่ายยุติธรรมของคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เสนอรายละเอียดที่เธอคิด แต่ย้ำว่าเธอตัดสินใจแล้วว่าจะมอบอำนาจมากขึ้นให้แก่กลุ่มจับตาเรื่องความเป็นส่วนตัว \"ฉันไม่สามารถยอมรับแนวคิดที่ว่า ปัจเจกบุคคลไม่มีสิทธิจะตัดสินใจใดๆ กับข้อมูลของพวกเขาอีก ทันทีที่มันถูกปล่อยเข้าสู่โลกไซเบอร์แล้ว\" เธอกล่าวเมื่อเดือนที่ผ่านมา เธอยังระบุด้วยว่าเธอได้ยินข้อโต้แย้งว่าการควบคุมที่มากขึ้นนั้นเป็นไปไม่ได้ และยุโรปควรจะยุติเรื่องนี้ได้แล้ว อย่างไรก็ตาม เรดดิงกล่าวว่า \"ฉันไม่เห็นด้วย\" เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ยุโรปและสหรัฐอเมริกาเห็นต่างกันอย่างมาก \"สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ การปะทะระหว่างสองฟากมหาสมุทรแอตแลนติก\" ฟรานซ์ เวอร์โร ซึ่งเกิดและโตในสวิตเซอร์แลนด์ และปัจจุบันเป็นนักวิชาการด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ในสหรัฐอเมริการะบุว่า \"สองวัฒนธรรมนี้ไปกันคนละทาง เมื่อพูดถึงเรื่องสิทธิในความเป็นส่วนตัว\" เวอร์โรยกตัวอย่างว่า ในสหรัฐฯ ศาลมักลงความเห็นอย่างสม่ำเสมอว่า สิทธิในการตีพิมพ์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตของใครสักคนนั้น อยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัว ขณะที่ชาวยุโรปมองต่างออกไป \"ในยุโรป คุณไม่มีสิทธิพูดถึงใครอย่างไรก็ได้ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องจริงก็ตาม\" เวอร์โรกล่าวว่า ยุโรปเห็นความจำเป็นในการสร้างสมดุลระหว่าง เสรีภาพในการพูดและสิทธิในการรับรู้ กับ สิทธิของบุคคลในความเป็นส่วนตัวและเกียรติยศชื่อเสียง ซึ่งแนวคิดนี้มีอยู่ทั่วไปในกฎหมายของยุโรป ทัศนะเช่นนี้ของยุโรปเกิดขึ้นจากการที่ข้อมูลถูกรวบรวมและใช้ทำร้ายปัจเจกบุคคล ภายใต้ผู้นำเผด็จการอย่างฟรังโกและฮิตเลอร์และภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ หน่วยงานรัฐบาลรวบรวมแฟ้มข้อมูลของพลเมืองเป็นกิจวัตรเพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุม คดีความในศาลเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ผุดขึ้นทั่วทั้งยุโรป ตัวอย่างเช่น ในเยอรมนี วูลฟ์กัง แวเล และ มันเฟรด เลาเบอร์ ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักจากการสังหารนักแสดงชาวเยอรมันคนหนึ่งในปี 1990 ได้ฟ้องสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดียให้ลบเนื้อหาที่เกี่ยวกับพวกเขาออกไป ทั้งนี้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของเยอรมนีนั้นอนุญาตให้ปิดปังรูปพรรณของผู้ก่ออาชญากรรมในรายงานข่าวทันทีที่มีการชดใช้ความผิดแล้ว ทนายความของมือสังหารทั้งสองกล่าวว่า อาชญากรก็มีสิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิที่จะอยู่ตามลำพังเช่นกัน กูเกิลเองก็ถูกฟ้องร้องในหลายประเทศ รวมถึงในเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก เหตุจากการเก็บภาพบนท้องถนนในบริการกูเกิลสทรีตวิว ศาลเยอรมนีตัดสินว่าบริการนี้ของกูเกิลไม่ผิดกฎหมาย แต่กูเกิลก็เปิดให้ปัจเจกบุคคลและองค์กรธุรกิจเลือกที่จะไม่ถูกเก็บข้อมูลได้ โดยมี 250

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท