Skip to main content
sharethis

วันนี้ (1 มี.ค.) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความลงในเฟซบุคของตน โดยเผยแพร่แบบสาธารณะ แสดงความคิดเห็นภายหลังเหตุการณ์ทำร้ายนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ที่เกิดขึ้นวานนี้

โดยสมศักดิ์ได้แนะว่า การทำงานรณรงค์เรื่องม. 112 ควรหยุดพักไว้ก่อน เนื่องจากไม่สามารถมีอะไรมารับประกันความปลอดภัยของวรเจตน์ และกลุ่มนิติราษฎร์ได้ แต่เสนอว่าควรหันไปเลือกรณรงค์เรื่องอื่นที่มีโอกาสปฏิบัติได้มากกว่า ในขณะเดียวกัน ก็ควรมุ่งการ "ทำงานทางความคิด" เรื่องดังกล่าวในระยะยาวแทน

โดยข้อความทั้งหมดมีดังนี้ 

0000

เมื่อวานตอนไปกินข้าว-ไปโรงพยาบาลกัน มีเพื่อนแอ๊คติวิสต์คนหนึ่ง (ไมใช่สมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์ แต่ไปด้วยกัน) พูดพาดพิงถึงเรื่องที่ผมเสนอยืนยันว่า กฎหมายหมิ่นฯ ควรเสนอเลิกสิ้นเชิง มากกว่าเสนอแก้ ทำนองว่า ถ้ายิ่งเสนอเลิกเลยแบบผม จะยิ่งแย่กว่านี้

ผมเชื่อว่า เกิดเรื่องทำร้าย อ.วรเจตน์ คงมีหลายคนคิดถึงประเด็นอยู่ ผมเองก็คิดทบทวนอยู่ แต่ว่า ผมยังยืนยันไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุผล 3 ประการต่อเนื่องกันดังนี้

(1) ที่ "พวกนั้น" โจมตี นิติราษฎร์ จริงๆ ไม่เกียวกับว่า เสนอแก้ โจมตีหนักขนาดนี้ เสนอเลิกเลย จะยิ่งโจมตีหนักกว่านี้ .. ผมว่า ไม่เกี่ยว คือสำหรับ "พวกนั้น" เสนออะไรเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันฯ ไม่ว่าระดับแค่ไหน ก็รับไม่ได้ทั้งนัน ดังนั้น เสนอเลิก ก็ไมใช่ว่าจะ "โดนหนักกว่านี้" แต่อย่างใด

(2) ดังที่ผมเคยมาก่อน ผมเห็นมาแต่ไหนแต่ไรว่า ในสถานการณ์ประเทศไทยขณะนี้ เราไม่สามารถทำให้เกิดการแก้หรือเลิก กม.หมิ่นฯได้ (อันนี้ ที่ผมแย้งคนที่สนับสนุน ครก. มาตลอด ที่หลายคน พยายาม "ยกตัวอย่าง" ประเภท "ถ้าแก้ กม. เป็นแบบที่นิติราษฎร์เสนอ จะ..." ซึงผมเห็นว่า เป็นการยกตัวอย่าง ที่ไม่เป็นจริง ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีทางเกิดขึนในปัจจุบันทีเห็น)

ดังนั้น สิ่งที่น่าทำคือ เสนอเลิก แล้วทิ้งไว้ (เมื่อวานมีเพื่อนแอ๊คติวิสต์คนหนึงที่แลกเปลียนเรื่องนี้ ใช้คำว่า "เสนอ แล้วจบ" คือ เสนอเป็นครั้งๆ เมื่อมีโอกาส ซึงผมเห็นด้วย)

(3) ที่ต่อเนื่องมาจากข้อ (2) คือ ไม่รณรงค์ เรื่องนี้ แต่รณรงค์เรื่องอื่น เช่น "นิรโทษกรรม อากง ฯลฯ" (ซึงจริงๆ เป็นตัว "จุดประกาย" เรื่อง 112 ในปัจจุบันอยู่แล้ว)

คือ เสนอเป็น "ไอเดีย" ตั้งไว้ ให้ เลิก กม.หมิ่นฯ โดยสิ้นเชิง, "ประเทศไทย ต้องไม่มี กม.พิเศษ สำหรับเจ้า, ถ้า กม.ธรรมดา ดีพอสำหรับคนธรรมดา ก็ควรดีพอสำหรับเจ้าด้วย" .. เสนอแบบนี้แล้ว"จบ" ทิ้งไว้

แล้วรณรงค์เรื่องอื่น ที่มีโอกาสทางปฏิบัติได้มากกว่า และ "แหลมคม" น้อยกว่า

ที่ผมเคยเขียนไปคือ เราต้อง combine (ประสาน) การเสนอไอเดียที่เป้นหลักการที่ถูกต้องสูงสุดไว้ กับ การรณรงค์ ทีมีลักษณะ "เบา" กว่าข้อเสนอในเชิงไอเดียในเชิงหลักการนั้น ที่อาจจะมีผลในทางปฏิบัติเป็นจริงได้ (นิรโทษกรรม ฯลฯ)

(มันเหมือนกับที่ในภาษาฝ่ายซ้ายสมัยก่อน พูดถึงเรือ่ง "หลักนโยบายสูงสุด" ว่าเราต้องการอะไร ที่ควรเป็นสิ่งที่มาจากหลักการของเรา โดยไม่ปิดบัง เพื่อให้การศึกษา ทำงานความคิด ฯลฯ กับเรื่อง การรณรงค์ หรือ "เคลื่อน" "เป็นครั้งๆ" ซึงเป็นคนละอย่าง)

0000

"กำลังของเรา มีไม่พอ จะรณรงค์ เรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันฯ"

กระทู้นี้ ต่อเนื่องจากกระทู้ข้างล่างติดกัน

เรื่องนี้ ผมคิดมาหลายสัปดาห์แล้ว ตั้งแต่ก่อนเกิดเรืองทำร้าย อ.วรเจตน์ เมื่อวาน เมื่อวานตอนเจอหน้าคณะนิติราษฎร์ ก็เลยได้พูดๆเสนอไปบ้าง

คือ เท่าที่ผมประเมินจากสิ่งทีเกิดขึ้นในระยะ 2 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือ การที่ นปช. เพื่อไทย ยังไงก็คง "ไม่เอาด้วย" เรื่องนี้ และพอพวกนี้ ไม่เอาด้วย จะมีผลสำคัญ 2 อย่าง คือ ในระดับการเมืองส่วนกลาง ที่พวกนี้ ไม่มีทางผลักดันให้เป็นวาระสาธารณะ มิหนำซ้ำ วันดีคืนดี ยังออกมาโจมตีด้วย และในระดับมวลชนระดับล่าง ซึ่งพวกเขานำอยู่ (ดังทีหลายคนคงเคยได้ยิน พอ ฝ่ายนำ นปช. เพื่อไทย ไม่สนับสนุน ระดับชาวบ้านส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะคิดอย่างไรกับ 112 ก็จะไม่เข้าร่วม)

หมายความว่าในปัจจุบัน "กำลังของเรา ไม่พอ" ที่จะทำการในลักษณะรณรงค์เรื่องสถาบันฯ

ทำงานความคิดได้ จัดอภิปรายเป็นครั้งๆได้ เสนอไอเดียได้ และควรเสนอด้วย ไม่ควรหยุด (และแม้แต่เสนอให้เลิกหมด ให้ปฏิรูปรอบด้าน) แต่เรื่อง รณรงค์ เห็นได้ชัดว่า "เรามีกำลังไม่พอ" แน่ๆ

รูปธรรมง่ายๆ ที่ อ.วรเจตน์ และ นิติราษฎร์ "ตกเป็นเป้า" ส่วนสำคัญมากส่วนหนึง ก็คือ แม้แต่ในหมู่ "ครก." ที่มาสนับสนุน ก็ไม่มีคนที่มี seniority และ authority เพียงพอ ที่จะนำเสนอเรื่องสถาบันฯ เรื่อง 112 ในลักษณะทีสามารถ command attention ในระดับ อ.วรเจตน์ ได้

คือ แม้แต่คนที่จะ "ทำ" เรื่องในลักษณะ "รณรงค์" ก็ไม่พอแล้ว 

(หลายสัปดาห์ก่อน ผมบอกเรื่อง นี้ อ.วรเจตน์ กับ อ.ปิยบุตร เหมือนกันว่า วันที่ 15 ผมเซอร์ไพรส์ เหมือนกัน นี่ "ภาพ" ออกมาในลักษณะ "นิติราษฎร์" เดิมผมนึกว่า "ภาพ"จะออกมา ในลักษณะ นิธิ ผาสุก ชาญวิทย์ มากกว่านี้เยอะ เพราะไอเดียทีคนที่ยกมาโต้ผมเรื่อง เสนอเลิกไม่ได้ เพราะพวกนั้น จะไม่เอา หนีหมดอะไรแบบนั้น แต่พอถึงเวลาจริงๆ เสนอแค่แก้ พวกนั้น ก็ไม่ได้ออกมาเท่าไร ก็นิติราษฎร์ เป็นหลักเกือบหมด)

อันนี้บอกตรงๆว่า ช่วงที่ นิติราษฎร์ โดนตีหนักรายวัน ผมถึงกับนึกๆว่า น่าจะ call off การรณรงค์ ยังคุยกับเพื่อนสนิทบางคนเรื่องนี้ แต่ไม่ได้เสนอออกไป เมือวาน เกิดเรือง ผมก็ยังนึกๆถึงไอเดียนี้อยู่ โดยส่วนตัว ผมเองไม่ห่วงเรื่อง "เสียการเมือง" หรือ "เหมือนยอมแพ้" อะไรนะ ผมเห็นว่าเรื่องนี้มัน "ยาว" เป็นหลายๆปี หยุด แล้วทำเมื่อไรก็ได้

ผมคิดว่านี่เป็นความจริง ที่เราต้องตระหนัก และ "คิดในระยะยาว" มากกว่า ในแง่ของการ "รณรงค์" ให้ได้เป็นครั้งๆ (รณรงค์ ทำได้ แต่ต้องเรื่องที่ "เบา" กว่า เช่นที่เสนอคือ นิรโทษกรรม อะไรแบบนั้น)

ขอพูดเรื่อง "กำลังเราไม่พอจะรณรงค์" และเรื่อง call off ต่ออีกนิดนะ

(ผมคิดไปเขียนไป ทำงานอื่นไปด้วย เลยออกมาเป็นหลายกระทู้ กรุณาตามอ่าน 3-4 กระทู้ก่อนหน้านี้ในเช้านี้ เพื่อต่อเนื่องกัน)

ปีกลาย สมยศ ทำรณรงค์ทำนองนี้เหมือนกัน แต่ทำได้ราวเดือนเดียว ก็ถูกจับ (และหลายคนเชื่อว่า มีส่วนมาจากเรื่องนี้เหมือนกัน)

ตอนนี้ ครก. กำหนดเป้ารณรงค์ไว้ถึง 4 เดือน

ผมกำลังรู้สึกว่า "กำลังไม่พอ" ที่จะทำรณรงค์ยาวขนาดนี้น่ะ

รณรงค์เรื่องอื่น ประเภท "ปล่อย อากง" "นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง" อะไรได้ (แม้แต่ในรูปแบบที่อาจจะเสนอเป็นร่างกฎหมาย)

แต่เรื่อง 112 หรือเรื่องสถาบันฯ ผมว่า เราไม่มีกำลังพอจะทำนานขนาดนี้

หลายคนมองว่า ผมเสนออะไร "สุดโต่ง" นะ

ข้อเสนอเรื่องสถาบันฯของผม "สุดโต่ง" มาแต่ไหนแต่ไร มาเป็นสิบปีแล้ว

แต่ผม "ใจเย็น" นะ ในแง่ที่ ไม่คิดว่า ข้อเสนอพวกนี้ สามารถทำให้เป็นจริงได้ในเวลาสั้นๆ (แม้แต่เรื่อง แก้ 112 ก็เถอะ ที่ผมเถียงกับบางคน อย่างคุณวาด ระวี หรือ คุณ Phuttipong Ponganekgul ทีชอบยกตัวอย่างเรื่อง "ถ้า แก้ ตาม ที่นิติราษฎร์ เสนอ ได้ ก็จะ ..." อะไรทำนองนั้น ซึงผมเห็นว่าเป็นการสมมุติที่ไม่ realistic)

มันเป็นเรื่องที่ผมมองว่า เป็นการ "ทำงานความคิด" "ต่อสู้ความคิด" ในระยะยาวมากๆน่ะ

แต่เรื่อง รณรงค์ เราต้องทำเรื่องอื่นๆ ที่พอมี "กำลัง" จะทำได้มากกว่านี้

0000

คือ การที่ "พวกนั้น" ส่งคนมาทำร้าย อ.วรเจตน์ ถึงในธรรมศาสตร์ เป็นอะไรที่ผมว่า ซีเรียส มากๆนะ (ผมยังเชื่อว่า ไม่ใช่เรื่อง "พวกคลั่งทำเอง")

ขนาดสมัย 6 ตุลา ยังไม่กล้า เข้ามาทำร้ายถึงในมหาวิทยาลัย (ไม่นับวันที่ 6 ตุลาเอง ที่เป็นคนละเรื่อง)

ผมจึงอยากให้ลองชั่งน้ำหนักเรื่องนี้อย่างจริงจังนะ

นักการเมือง หรือ แอ๊กติวิสต์อาชีพ อย่าง แกนนำ ทั้งหลาย อาจจะมี "บอดี้การ์ด" 24 ชม. เป็นเวลาติดกันนานๆได้ แต่นักวิชาการ ทำไม่ได้ ไม่สะดวกกับชีวิตนักวิชาการด้วย

สรุปแล้ว เราไม่มีอะไรเลย ในแง่การป้องกัน

การ "หยุด" แล้ว "เปลี่ยนรูปแบบ" เมื่อถึงจุดที่รู้สึกว่า "เสี่ยงเกินไป" ทีจะทำต่อในรูปแบบทีใช้อยู่ ผมมองว่าเป็นธรรมดานะ 

("นอกเรื่อง" แต่เกี่ยวกันนิด ตอน ราชประสงค์ หลายคนคงจำได้ว่า ผมก็ยืนยัน ให้สลายชุมนุมก่อน เพราะเห็นว่า ชุมนุมต่อ มีสิทธิ์ถูกปราบนองเลือด ตายเป็นร้อยแน่)

0000

ดูคลิปแถลงข่าวเรื่อง "ฝาแฝด" ที่ทำร้าย อ.วรเจตน์แล้ว ขอเม้นท์ส้นๆ อย่างนี้นะครับ

(ก) ผมยินดีจะยอมรับว่า อาจจะ (ย้ำ "อาจจะ") ประเมินผิด เรื่อง "ใบสั่ง" คือ 2 คนนี้ อาจจะ "คลั่งทำเอง" ได้ ก็ได้ แต่เรื่องนี้ ในที่สุด ผมคิดว่า ไม่มีทางพิสูจน์เด็ดขาดได้ (อย่างที่ผมเขียนไปใน rep หนึ่งข้างล่างว่า คดี "เล็ก" แบบนี้ ถ้าผู้ต้องหา "สารภาพ" อย่างที่ทำ ตำรวจ เขาก้ไม่ "ขยายผล" อะไรต่อหรอกครับ ว่าใครสั่งมาหรืออะไร เรือง ก็ "จบ" เท่าที่สารภาพมานี้ เพราะไมใช่ คดีฆ่ากันหรืออะไร)

(ข) แต่ประเด็นนี้ ก็ยังไม่ได้แปลว่า ที่เสนอให้ ครก. ลองพิจารณา เรื่อง call off การรณรงค์ นี่ ใช้ไม่ได้นะ

ผมยังเห็นว่า ควรพิจารณาอย่างซีเรียสอยู่

"เวลา" ของการรณรงค์ นี่ มันแค่ประมาณไม่ถึงครึ่งหนึ่ง (ของ 112 วัน) เท่านั้น ยังเหลืออีกถึง 2 เดือนกว่า มีนา-เมษา อีกถึง 2 เดือนเต็มๆ เป็นอย่างน้อย

ดังนั้น ครก. จะสามารถรณรงค์ต่ออีกถึง 2 เดือน ในสถานการณ์ที่ ไม่สามารถประกันความปลอดภัย ให้ อ.วรเจตน์ และ นิติราษฎร์ หรือไม่? และต่อให้รณรงค์ จน "ครบ" ได้รายชื่อมาแล้ว ผมก็ว่า เราค่อนข้างมันใจว่า เสนอไป ก็ "จบ" ไม่ไปถึงไหนแน่

รวมถึงว่า ถ้าถึงตอนนั้น รณรงค์ไปถึงจุดเสนอเข้าสภาฯ ก็คงต้อง "พึ่ง" ให้ อ.วรเจตน์ และ นิติราษฎร์ "ออกตัว" มา "นำเสนอใหญ่" อีกครั้ง แน่ๆ (ซึงถึงตอนนั้น สถานการณ์ ก็อาจจะยังไม่เหมาะสม ดีพอให้ อ.วรเจตน์ เสี่ยงในระดับนั้น)

ผมจึงยังอยากให้คิดประเด็นนี้ให้ดีนะคับ โดย่ส่วนตัว ผมไม่รู้สึกว่าการ call off เป็นเรื่องเสียหายอะไร เราก็ move on ไปในรูปแบบอื่น ประเด็นอื่น

0000

ขอ "ตบท้าย" อะไรนิด ออกในทาง personal หน่อยๆ

ที่ผมเสนอเรื่องให้ ครก. พิจารณา call off การรณรงค์ นี่ส่วนหนึ่ง บอกตรงๆว่า มาจาก "ความรู้สึกในลักษณะส่วนตัว" ในแง่ห่วง อ.วรเจตน์ อยู๋

เมื่อวาน ตอนผมไปเจอหน้าเจอตัวแล้ว รู้สึกแย่มากๆเลย ขนาดผมไม่ใช่ ญาติอะไร (สงสัยว่า ญาติ อาจารย์ โดยตรง คงรู้สึกแย่กว่านี้หลายเท่า)

หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า อ.วรเจตน์ มีปัญหาสุขภาพประจำตัวอยู่นะ แล้ว ในสถานการณ์ทีเครียดๆในช่วงทีผ่านมา มันทำให้ปัญหาสุขภาพประจำนั้น มันแย่ลงจริงๆ (ค่าตับค่าไต มันขึ้นพรวด อะไรแบบนั้น ค่าพวกนี้ มันเกียวกับความเครียด การใช้ชีวิตอยู่นะ)

ในแง่อื่น ที่ไมใช่แง่การเมือง ความคิด ผมว่าอาจารย์วรเจตน์ ก็เป็นลักษณะ typical ของ "เด็กทุนอานนท์" นะ คือ เป็น "เด็กเรียน" เป็นคนเรียบร้อย และลักษณะร่างกาย ออกในทาง เปราะบาง ไมใช่พวก "ลุย" หรือ พวก"กร้านๆ" อะไรแบบนั้น เจอตัวเมื่อวาน ผมยิ่งรู้สึกมากขึ้นในเรื่องนี้

คนที่มีแบ็กกราวน์ และบุคคลิกลักษณะนี้ สามารถมาทำอะไรมากขนาดนี้ แสดงว่า "ใจแกร่ง" เหลือเชื่อมากๆแล้ว

ความรู้สึกของผมคือ อ.วรเจตน์ ได้ทำอะไรในช่วงสั้นๆ ในไม่กี่ปีนี้ มากกว่านักวิชาการหลายคน ทำมาเป็นสิบปีรวมกันแล้ว

ผมเชื่อว่า อ.วรเจตน์ "ใจยังสู้" ไม่คิดหยุดแน่นอน

แต่ผมพูดแบบคนที่เห็นว่า เรื่องที่เราทำๆกันอยู่นี้ มันยัง "อีกนาน" หลายๆปีมาก

ก็ไม่อยาก "เร่ง" ให้ อ.วรเจตน์ ต้องมา "ทรุดโทรม" "เสี่ยงภัย" มากเกินไป เร็วเกินไปตั้งแต่ตอนนี้ 

อยากให้ลองพิจารณาเรื่องนี้อย่างซีเรียสดูนะครับ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net