SIU: สื่อนอกโหมกระแส การเสียชีวิตของ อากง sms

รวมรวมการนำเสนอข่าวการเสียชีวิตของนายอำพล หรืออากง SMS ในสื่อต่างประเทศ  จากสำนักข่าวใหญ่อย่างเอพี รอยเตอร์ ไปจนถึงหัวเศรษฐกิจอย่างไฟแนนเชียล ไทมส์และวอลล์สตรีท เจอร์นัล ไม่ใช่ในโลกภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังถูกนำเสนอเป็นภาษาเยอรมันและบาฮาซา อินโดนีเซียด้วย 

0000

การสูญเสียชีวิตของอากง หรือนายอำพล (สงวนนามสกุล) ขณะจำคุกเป็นเวลา 20 ปี ถูกตีแผ่ในสื่อต่างชาติจำนวนมาก SIU ขอรวบรวมการตีแผ่จากสื่อต่างประเทศหลายสำนัก ให้ท่านได้ติดตามโดยทั่วกัน

Guardian ระบุ ชายไทยวัย 60 ปีผู้ที่กลายเป็น “อากง sms” หลังถูกศาลพิพากษาว่า หมิ่นสถาบันกษัตริย์ด้วย sms ได้เสียชีวิตแล้ว ขณะต้องคำพิพากษาจากศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปีโดยไม่รอลงอาญา

อากง-sms-620x403

อากงมีอาการป่วยจากโรคมะเร็งในช่องปากอยู่ก่อนหน้าที่จะถูกตัดสินจำคุกเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ถือเป็นโทษหนักสุดนับตั้งแต่การตัดสินรับโทษจากการกระทำดังกล่าว

สาเหตุของการเสียชีวิตของอากง (นายอำพลฯ) ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อากงมีอาการปวดท้องเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาและได้ถูกโอนย้ายไปยังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ อากงถูกจับกุมตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2010 ที่ผ่านมา หลังส่งข้อความ 4 ข้อความ (sms) ไปยังเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นการหมิ่นสถาบันกษัตริย์

อากงปฏิเสธในการส่งข้อความดังกล่าวและกล่าวว่ายังไม่รู้วิธีการส่งข้อความทางโทรศัพท์เลยด้วยซ้ำ เขาร่ำไห้ขณะอยู่ในกระบวนการของศาลและกล่าวว่า “ผมรักในหลวง” (I love the king) การตัดสินดังกล่าวนั้น เชื่อได้ว่าเป็นโทษสูงสุดจากการหมิ่นสถาบันกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และตามความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

อากง-sms-ใน-the-Guardian1-620x338

 ภาพจาก The Guardian

Fox News ระบุคำกล่าวของภรรยาหลังทราบข่าวสามี (อากง) เสียชีวิต “อำพล ตั้งนพกุล ตอนนี้คุณสามารถกลับบ้านได้แล้ว” “คุณเป็นอิสระแล้ว กลับบ้านนะ”

“Amphon Tangnoppakul, you can come home now,” she said. “You’re free now. Come home!”

อากง-sms-ใน-Fox-News-620x521

 ภาพจาก Fox News

อากง-sms-ใน-Reuters-620x311

 ภาพจาก Reuters

ขณะที่ Reutersระบุว่า ชายไทยผู้ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ภายหลังพบว่ามีความผิดจากการส่งข้อความหมิ่นสถาบันกษัตริย์ และมีเนื้อหาข่าวจากสถานการณ์ดังกล่าวไม่ต่างจาก The Guardian มากนัก โดยทิ้งท้ายว่า สถานทูตสหรัฐอเมริกาได้วิพากษ์ถึงการจับกุมดังกล่าว และกล่าวสนับสนุนเสรีภาพของการแสดงออกทั้งในประเทศไทยและที่อื่นๆ ในโลก 

อากง-sms-ใน-CBCNEWS-620x486

ภาพจาก CBCNEWS

อากง-sms-ใน-Voice-of-America-620x497

 ภาพจาก VOA Voice of America  

อากง-sms-ใน-International-Business-Times-620x631

 ภาพจาก International Business Times 

อากง-sms-ใน-Washington-Post

 ภาพจาก The Washington Post

ส่วน The Washington Postก็นำเสนอข่าวอากงที่นำมาจาก AP เช่นกัน

อากง-sms-ใน-StarTribune-620x538

 ภาพจาก The StarTribune

ด้าน StarTribuneก็นำข่าวจาก AP มานำเสนอแบบเดียวกัน

 อากง-sms-ใน-Huffington-Post-620x471

 ภาพจาก The Huffington Post

ขณะที่ Huffington Postก็นำเสนอไม่ต่างกัน

อากง-sms-ใน-ABC-News-620x402

 ภาพจาก ABC News

ส่วน ABC Newsก็นำเสนอข่าวเช่นเดียวกับ AP

อากง-sms-ใน-BBC-620x600

 ภาพจาก BBC

ด้าน BBCก็นำเสนอข่าวอากงเช่นกัน

 อากง-sms-ใน-AP-620x428

 ภาพจาก AP

0000

สกายนิวส์ สื่อจากประเทศออสเตรเลีย ได้พาดหัวอย่างมีนัยสำคัญว่า "นักโทษทางความคิด" ของไทยได้เสียชีวิตลง

อากง-sky news

ภาพจาก Sky News

นอกจากนี้ สื่อหัวเศรษฐกิจอย่างไฟแนนเชียลไทมส์ และวอลล์สตรีทเจอร์นัล ก็ได้ให้ความสนใจกับข่าวนี้ไม่น้อยเช่นกัน จะเห็นจากไฟแนนเชียลไทมส์นั้นได้เขียนข่าวเชิงวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การใช้กฎหมายหมิ่นในเมืองไทยและแนวโน้มในอนาคต

 อากง Financial Times

ภาพจาก Financial Times

อากง Wall Street Journal

ภาพจาก The Wall Street Journal

นอกจากในสื่อกระแสหลักภาษาอังกฤษแล้ว ยังพบว่า มีการรายงานข่าวการเสียชีวิตของ "อากง SMS" ในสื่อเยอรมันอย่างเว็บไซต์ TAZ.de ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในกรุงเบอร์ลินด้วย โดยรายงานความคิดเห็นของประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น และสุดา รังกุพันธ์ นักวิชาการและนักเคลื่อนไหว ที่มองว่ากฎหมายหมิ่นฯ เป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงกรณีของจีรนุช เปรมชัยพร ที่กำลังรอคำตัดสินในข้อหาพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์อีกด้วย

อากง Taz.de

 ภาพจากเว็บไซต์ Taz.de

นอกจากนี้ ยังมีการรายงานข่าวในภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย โดยสำนักข่าวอยซ์ ออฟ อเมริกา ประจำอินโดนีเซีย

 อากง VOA Indonesia

ภาพจาก Voice of America Bahasa Indonesia

0000 

ต้นข่าวที่มาจาก AP  การเสียชีวิตในขณะจำคุกของอากง อาจทำให้มีการเคลื่อนไหวแก้มาตรา 112 เพิ่มมากขึ้น แต่ในห้วงเวลาที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยกำลังขับเคลื่อนการใช้นโยบายปรองดองเช่นนี้ อาจจะทำให้ไม่สามารถสนับสนุนกระบวนการดังกล่าวได้ และอาจนำไปสู่การสร้างความไม่พอใจและปมขัดแย้งจากคนเสื้อแดงบางกลุ่มได้

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ร่างของอากงกำลังเตรียมรับการชันสูตร ซึ่งเจ้าหน้าที่เรือนจำก็ระบุว่า การที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ประกันตัวตอนยื่นคำร้องเพราะศาลพิจารณาแล้วว่าอาการป่วยของจำเลยไม่อาจทำให้เสียชีวิตได้ เจ้าหน้าที่เรือนจำจึงออกมาให้ความเห็นว่าอาการป่วยของอากงนั้นพิจารณาแล้วไม่น่าเสียชีวิต

แม้ว่าก่อนหน้านั้น จะมีความพยายามยื่นประกันตัวโดยมีกลุ่มนักวิชาการจำนวน 7 คน ได้เดินทางมายื่นหลักทรัพย์ประกันตัวอากง ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ร่วมกับทนายความของอากง ที่ได้ยื่นขออุทธรณ์คดีอากงนั้น

ทนายอากง กล่าวว่า ยื่นหลักทรัพย์ประกันตัว แบ่งเป็นตำแหน่งนักวิชาการจำนวน 7 คนและเงินสดจากกองทุนยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจำนวน 1 ล้านบาท รวมหลักทรัพย์ 2 ล้านบาทเมื่อยื่นประกันตัวแล้ว ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถประกันตัวอากงออกมาได้

การประกันตัวออกมาเพื่อมนุษยธรรมก่อนที่จะเกิดการสูญเสียเช่นนี้ คงไม่ทำให้สลดใจเท่ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทาง SIU ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปของอากง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คดีอากงจะสะท้อนปัญหาในเมืองไทยและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท