Skip to main content
sharethis

คนเห็นความสาคัญของต้นไม้ในเมือง ร้อง ก.ล.ต. สอบธรรมาภิบาล บ.อิตาเลียนไทย หลังตัดต้นไม้โดยไม่รออนุมัติ หน้า ม.เกษตรฯ พร้อมร้อง ผู้ว่า กทม. ทบทวนมาตรการปฏิบัติต่อต้นไม้ในเมือง ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 

ที่มาภาพ เพจ เครือข่ายต้นไม้ในเมือง :: Thailand Urban Tree Network

7 มี.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 13.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มตัวแทนภาคประชาชนที่เห็นความสาคัญของต้นไม้ในเมือง เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง ประธานกรรมการ ก.ล.ต. (คณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ฯ) เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบธรรมาภิบาลของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จากัด (มหาชน) กรณีตัดต้นไม้ โดยไม่รอการอนุมัติหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ที่เรื่องราวดังกล่าวถูกเปิดเผยโดย เพจเฮ้ยนี่มันฟุตบาทไทยแลนด์ จนได้รับการรายงานต่อเนื่องในสื่อมวลชนทุกแขนง กระทั่งผู้อำนวยการเขตจตุจักรได้แจ้งต่อสถานีตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวัน เพื่อเปรียบเทียบปรับตามข่าว

ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง ขนิษฐา ลาสุด ผู้ประสานงานกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนฯ ดังกล่าว เปิดเผยว่า นอกจากยื่นหนังสือกับ ก.ล.ต.แล้ว กลุ่มยังเดินทางไปที่ศาลาว่าการกรุงเทพฯ เพื่อยื่นจดหมายถึงผู้บริหาร กทม. ด้วย เพื่อเรียกร้องให้ทบทวนมาตรการปฏิบัติต่อต้นไม้ในเมือง ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า

ผู้ประสานงานกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนฯ เปิดเผยด้วยว่า ในวันที่ 12 มี.ค.นี้ เวลา 10.30 น. ทางกลุ่มจะเดินทางเข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครองในกรณีดังกล่าวด้วย

สำหรับเหตุที่เดินทางมายื่นหนังสือถึงประธาน ก.ล.ต.นั้น หนังสื่อของกลุ่มนี้ระบุว่า เนื่องจากกลุ่ม รู้สึกไม่สบายใจต่อวิธีการทำงานของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนทำกำไรเพิ่มมากยิ่งๆ ขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ทั่วโลกยังให้น้ำหนักกับการส่งเสริมธรรมาภิบาลขององค์กรควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการตรวจสอบการปฏิบัติตนขององค์กร ที่แสดงออกถึงจิตสำนึกที่ดีต่อสาธารณะ ทั้งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติตนตามกฎกติกาของสังคม  แต่จากเหตุการณ์ในข่าวที่เกิดขึ้นนี้เป็นเหตุให้สงสัยว่า บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ได้กระทำการที่แสดงว่าเป็นองค์กรที่ไม่มีธรรมาภิบาล ไม่เคารพในกฎกติกาของสังคม ไม่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และไม่เคารพในทรัพย์สมบัติที่เป็นของสาธารณะ หรือไม่ จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.ทำการตรวจสอบกรณีดังกล่าว ว่าเข้าข่ายหรือไม่ และหากเข้าข่ายซึ่งสาธารณชนเห็นพ้องว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ขอให้ ก.ล.ต.ได้พิจารณาให้เกิดบทลงโทษ อาทิ คำสั่งหยุดการซื้อขาย เป็นต้น พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางปฏิบัติในอนาคตที่จะบังคับใช้ให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะได้รับคุณได้รับโทษอย่างเป็นรูปธรรม ในประเด็นด้านธรรมาภิบาล ที่ทั่วโลกและรัฐบาลไทยกล่าวอ้างถึงอย่างสม่ำเสมอต่อไป

ขณะที่จดหมายถึง ผู้ว่าฯ กทม. นั้นมี 7 ข้อเรียกร้อง ดังนี้

  1. ขอให้เปิดเผยข้อมูลต้นไม้ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสายตลอดโครงการ และเปิดเผยแผนการปฏิบัติที่กำหนดไว้เดิม (ตามสิทธิใน พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ)
  2. ขอให้มีการตัดและล้อมย้ายต้นไม้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านต้นไม้มืออาชีพมากำกับดูแลการทำงาน
  3. ขอให้ทำการตรวจสอบต้นไม้ที่มีการขุดล้อมย้ายไปก่อนหน้านี้ ว่ายังปกติดีหรือไม่ หรือตายไปหมดแล้ว หรือถูกนำไปปลูกยังบ้านผู้บริหารหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือไม่
  1. ขอให้มีจุดปลูกเสริม หากจำเป็นต้องมีการตัดทิ้งหรือย้ายต้นไม้
  2. ขอให้สร้างวิธีการที่ประชาชนจะสามารถตรวจสอบได้ ว่าหน่วยงานของท่านได้ดำเนินการตามนั้นจริง
  3. ขอให้มีการจัดตั้งตัวแทน 4 ฝ่ายเพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติต่อต้นไม้ คือตัวแทนจาก กทม. ตัวแทนบริษัทผู้รับเหมา ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน และตัวแทนภาควิชาการ มาหารือร่วมกันว่าควรหรือไม่ที่จะตัดหรือย้ายต้นไม้ต้นไหน อย่างไร และกำหนดแนวทางการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้
  4. ขอให้ทบทวนแนวทางการประเมินคุณค่าของต้นไม้กรณีที่ต้องถูกตัดทำลายลง เพราะอัตราค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนดนั้นเทียบไม่ได้กับคุณค่าของต้นไม้ในเมืองแต่ละต้น ที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้คนเมืองได้มากมหาศาล ทั้งการเป็นเครื่องปรับอากาศจำนวนมาก และเป็นเครื่องฟอกอากาศที่ดูดซับก๊าซพิษ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีเครื่องจักรใดๆ มาทำหน้าที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศให้กับคนเมืองแทนต้นไม้ในเมืองได้

สำหรับกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนที่เห็นความสำคัญของต้นไม้ในเมืองนั้น ประกอบด้วย เครือข่ายต้นไม้ในเมือง (โดย ช่อผกา วิริยานนท์) กลุ่มบิ๊กทรี (โดยอรยา สูตะบุตร) สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เพจเฮ้ยนี่มันฟุตบาทไทยแลนด์ เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มจตุจักรโมเดล ชมรม อนุรักษ์ทรัพยากรและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพจกรุงเทพเดินสบาย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net