Skip to main content
sharethis

กลุ่มเสรีมวลชนเพื่อสังคม ร่วมกับวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม เล่าประสบการณ์ 4 วัน ลงพื้นที่ เรียนรู้ผลกระทบถายใต้ระบบทุนนิยมและการต่อสู้ของขบวนการประชาชนในอีสาน ทั้ง เตียง ศิริขันธ์ จิตร ภูมิศักดิ์ ครอง จันดาวงศ์ การต่อสู้ของอดีตสหายชาวบ้านและอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รวมทั้งกรณีต้านเหมืองโปแตช อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

11-14 ส.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มเสรีมวลชนเพื่อสังคมร่วมกับวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการ Change the World : เสรีชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่เป็นธรรม Phase 1  “พัฒนาศักยภาพและเรียนรู้การเป็นกระบวนกร : เรียนรู้ผลกระทบถายใต้ระบบทุนนิยมและการต่อสู้ของขบวนการประชาชนในอีสาน” ที่ อำเภอภูพาน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครและอำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการฯเพื่อให้นิสิตได้สร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาจากระบบทุนนิยมและเพื่อได้สร้างการพัฒนาศักยภาพของตัวนิสิตเองให้สามารถเล็งเห็นปัญหาได้อย่างมีหลักเกณฑ์รวมถึงการลงพื้นที่ตัวจริงที่จะทำให้นิสิตนั้นสามารถฝึกทักษะการสังเกต การฟังรวมทั้งการสนทนาแลกเปลี่ยนกับผู้คนในท้องถิ่นอีสาน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนานิสิตให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนซึ่งในกิจกรรมนี้มีนิสิตที่สนใจ ในประเด็นปัญหาของระบบที่ส่งผลกระทบจากการพัฒนาภายใต้ระบบทุนนิยมดังกล่าว จำนวน 32 คน พร้อมด้ว ธวัชชัย ป้องศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา 

เตรียมความพร้อมและตรวจสอบความคาดหวังก่อนเดินทาง

วันแรก (วันศุกร์ ที่ 11 ส.ค. 2566 เวลา 18.00-20.30 น.) ของการดำเนินโครงการเป็นกิจกรรมพัฒนาศักยภาพตามหัวข้อ“เรียนรู้ผลกระทบถายใต้ระบบทุนนิยมและการต่อสู้ของขบวนการประชาชนในอีสาน” นิสิตได้รับการฝึกอบรมณ์ก่อนลงสถานที่จริงในวันเสาร์ที่ 12 ส.ค. 2566 โดยมี นริศ มณีขาว จากองค์กรกระบวนการสื่อสารอย่างสันติ บ้านใส่ใจ เป็นกระบวนกรในการนำผู้เข้าร่วมโครงการฯได้สื่อสารสร้างสันติเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นพลังสร้างสรรค์ (NVC : NonViolent Communication) ผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งภายในกิจกรรมผู้เข้าร่วมโครงการฯได้มีโอกาสตั้งคำถามถึงความคาดหวังของตนเองในการไปลงสถานที่จริงและความต้องการที่อยากได้รับในการไปร่วม กิจกรรมครั้งนี้ทั้งนี้ตัวของอาจารย์นริศได้ฝึกทักษะการพูดและการรับฟังปัญหาอย่างจริงใจในการตั้งคำถามและตอบคำถามของนิสิตที่ไปในครั้งนี้

เรียนรู้ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสังคมที่เป็นธรรมของประชาชนในพื้นที่ : เตียง ศิริขันธ์ จิตร ภูมิศักดิ์ และครอง จันดาวงศ์

ในวันที่สอง (12 ส.ค.2566) ผู้เข้าร่วมโครงการได้เดินทางไปยังอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร เพื่อศึกษาความเป็นมาของถ้ำเสรีไทยและขบวนการเสรีไทยซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ถ้ำเสรีใช้เป็นที่เก็บคลังอาวุธของขบวนการเสรีไทยและเป็นฐานที่มั่นในการต่อสู้ ผู้ช่วยให้ประเทศไทยไม่ตกเป็นผู้เสียหายหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากกลุ่มขบวนการเสรีไทยได้ส่งนาย สงวน ตุลารักษ์ เจรจากับจีน อเมริกาและฝรั่งเศส เพื่อเสนอดีลการยอมรับว่าเราเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ทางขบวนการเสรีไทยที่เจรจาไว้แล้วได้ส่งเรื่องของบรรณาการสงครามน้อยลงซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้ประเทศไทยไม่สูญเสียหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อออกมาจากถ้ำก็พบกับอนุสรณ์สถาน เตียง ศิริขันธ์ บุคคลสำคัญหนึ่งในสี่ขุนพลภาคอีสานผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกผู้แทนสภาราษฎร จังหวัดสกลนคร 5 สมัยและมีผลงานการตั้งกระทู้สะท้อนเป้าหมายการเป็นนักเมืองในระบบรัฐสภาของเตียง ว่าเป็นผู้แทน ของประชาชนและนักการเมืองที่ใส่ใจปัญหาของราษฎรและพัฒนาท้องถิ่นตามอุดมคติของการเป็น ผู้แทนการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร

อนุสรณ์สถานเตียง ศิริขันธ์

ถ้ำเสรีไทย

นอกจากนี้เตียงยังมีการเสนอ ร่างพระราชบัญญัติจำนวน 2 ฉบับที่สะท้อนความสนใจต่อการจัดตั้งพรรคการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมทั้งนี้ เตียง ศิริขันธ์ได้เป็นครูมาก่อนมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทำให้มีบทบาทสำคัญเพราะการรู้จักกันอย่างกว้างขวางของชาวบ้านและชุมชนต่างๆจะช่วยในการจัดตั้งหน่วยกำลังรบภาคอีสานต่อต้านญี่ปุ่นเป็นเรื่อง ที่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงและรวบรวมกองกำลังได้อย่างมากมายง่ายยิ่งขึ้น ครูเตียงจึงเป็นหัวหน้าใหญ่ทุกหน่วยที่นักการเมืองเหล่านี้จัดตั้งขึ้นล้วนแต่อยู่ภายใต้การควบคุมของครูเตียงและนี่คือบทบาทที่สำคัญอย่างมากในช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง

ทั้งนี้ผู้นำการเล่าเรื่องประวัติความเป็นมาในครั้งนี้คือพงศ์ธร ตันเจริญ 

หลังจากนั้นได้ออกเดินทางไปยังอนุสรณ์สถาน จิตร ภูมิศักดิ์ ที่บ้านหนองกุง อำเภอวาริชภูมิ  จังหวัดสกลนคร นักเคลื่อนไหวในระหว่างปี 2473 –2509 หรือผู้แต่งบทกวีการเมืองและหนังสือที่โด่งดังของประเทศไทยมีผลงานอย่างมากมายในช่วงชีวิตของจิตร เช่น บทกวี "คำเตือน...จากเพื่อนเก่า" ,หนังสือเรื่องโฉมหน้าศักดินาไทย,หนังสือเรื่องคำสันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย,หนังสือเรื่องทรรศนะ ฯลฯ อีกมากมาย สถานที่นี้เป็นสถานที่จิตร ภูมิศักดิ์ถูกสังหารจากการโดนล้อมยิงจากผู้ใหญ่บ้าน ณ ขณะนั้นเราได้สูญเสียจิตร ภูมิศักดิ์ไปในวันที่ 5 พ.ค.2509 จิตร ภูมิศักดิ์ มีบทบาทสำคัญอย่างมากในประวัติศาสตร์ไทยในเรื่องของบทกวีและการตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการปกครองจึงถูกรัฐบาลเพ่งเล็งเป็นอย่างมากเมื่อเขาเรียนจบในปี ค.ศ.1957 หรือ ปี พ.ศ. 2500 พอดีซึ่งเป็นปีที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจจากจอมพล ป.พจ สารสินและถนอม กิตติขจร เป็นนายกไล่เรียงต่อมา เวลานั้น จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เข้าร่วมเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้มีอุดมการณ์แบบมาร์กซิสอย่างชัดเจนซึ่งอุดมการณ์แบบมาร์กซิสและสังคมนิยมเป็นอุดมการณ์ที่เข้ามาในประเทศไทยมาตั้งแต่พ.ศ.2475หรือ ค.ศ.1932"พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย" จัดตั้งขึ้นแม้จะไม่เป็นทางการแต่มีการทำกิจกรรมในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1942 จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกจับเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยมีการนำตัวไปคุมขังหลายที่และย้ายไปขังที่คุกลาดยาวใน พ.ศ. 2503 

อนุสรณ์สถานจิตร ภูมิศักดิ์  

วันที่ 3 ธ.ค.2506 อัยการศาลทหารกรุงเทพฯ ยื่นฟ้องจิตรตามพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำ อันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 ในคดีนี้ผู้พิพากษาให้สัมภาษณ์ว่ารัฐบาลได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมในโอกาสครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ไปแล้วการฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการฟ้องคดีซ้ำซึ่งขัดต่อหลักการพื้นฐานของกฎหมาย ศาลทหารยกฟ้องและมีคำสั่งปล่อยตัวจิตรเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2507 การเดินทางในเส้นทางการเมืองของจิตร ภูมิศักดิ์ ได้สร้างแรงกระเพื่อมมหาศาลให้แก่เยาวชนและคนอีกมากมายในการมองสังคมไทยในเลนส์ต่างๆถึงแม้จิตรจะจากไปแต่ยังคงทิ้งบทกวีและผลงานเพื่อให้คนรุ่นหลังศึกษาทั้งนี้บทกวี "แสงดาวแห่งศรัทธา" ปัจจุบัน ก็คือเพลง"แสงดาวแห่งศรัทธา" ที่ถูกนำมาขับร้องเพื่อปลอบโลม จิตใจนักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมยังคงถูกนำมาขับร้องเสมอ 

โดยมีผู้นำการเล่าเรื่องประวัติความเป็นมาในครั้งนี้คือพงศ์ธร ตันเจริญ

ช่วงบ่ายได้ออกเดินทางจากอนุสรณ์สถานจิตร ภูมิศักดิ์มายังพิพิธภัณฑ์ครูครอง จันดาวงศ์ ตำบลบ้านงอนใหม่ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ผู้ถูกตั้งข้อหาคอมมิวนิสต์และกบฏต่อภายในและภายนอกราชอาณาจักร ก็เพื่อที่จะใช้กฎหมายมาตรา 17 ได้ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมใดๆในการประหารครูครอง จันดาวงศ์ ทั้งนี้ครูครองได้กล่าวคำพูดก่อนตนจะถูกประหารที่หลักประหาร  ครูครองกล่าวว่า"เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" เป็นคำกล่าวที่เป็นอมตะมาจนถึงทุกวันนี้ ครูครองถูกใส่ร้ายว่าเป็นคอมมิวนิสต์ระหว่างดำเนินกิจกรรมก็ได้มีโอกาสร่วมวงสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับตัวของลูกชายครูครอง จันดาวงศ์ คือคุณลุงวิทัต จันดาวงศ์ หรือคุณลุงป่านอายุ 84 ปี คุณลุงป่านได้เล่าถึงความเป็นมาของครูครอง จันดาวงศ์อย่างลึกซึ้ง หลังจากจบกิจกรรมร่วมวงสนทนาที่พิพิธภัณฑ์ ครูครอง จันดาวงศ์กับตัวลูกชายของครูครอง  จันดาวงศ์ในช่วงบ่ายได้มีการมอบของที่ละลึกและออกเดินทางไปยัง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

พิพิธภัณฑ์ครูครอง จันดาวงศ์

ลงพื้นที่และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้าน : กรณีต้านเหมืองโปแตช อ.วานรนิวาส  จ.สกลนคร

ลงพูดคุยแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านชุมชนบ้านวังบง ในช่วงเย็นของวันที่ 12 ส.ค. 2566 ผู้พบเจอปัญหาการขุดเจาะแร่อันทำให้มีปัญหาระยะยาวในเรื่องของสุขอนามัยน้ำในการบริโภคและใช้ใน เชิงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ได้มีการรับประทานอาหารจากชาวบ้านและร่วมวงสนทนาแลกเปลี่ยนถามถึงปัญหาในเรื่องของการขุดเจาะแร่โปแทชที่สร้างปัญหาอย่างมากทั้งที่ดินทำกินน้ำไม่สามารถทำอุตสาหกรรมการเกษตรได้แต่ยังคงถูกรัฐละเลยในด้านของความปลอดภัยและสุขภาพอันพึงควรที่จะได้รับจากรัฐบาลการเยียวยาต่างๆจากภาครัฐหน่วยมาตรวัดน้ำที่ราคาพุ่งสูงถึง27บาทต่อ1หน่วยไม่รวมราคาน้ำดื่มที่ต้องซื้อมาบริโภคเองมันคือราคาที่สูงมากสำหรับชาวบ้านที่ทำการเกษตรยังมีในเรื่องของสารพิษที่หลุดมาจากขั้นตอนการชะล้างที่ทำให้บ่อน้ำใช้ทำการเกษตรไม่ได้นานนับ 7-8 ปีการขุดเจาะมีขนาดกว้างและหลายหลุมทำให้เกิดผลเสียแก่ชุมชนและชาวบ้านอย่างมหาศาลทั้งในเรื่องค่าความเค็มดินที่เพิ่มมากขึ้นจนไม่สามารถวัดค่าความเค็มได้และปัญหา    ปากท้องการใช้ชีวิตตามวิถีชีวิตชาวบ้านก็ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องปัจจุบันชาวบ้านยังคงคัดค้านอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้มีการต่อสัญญาการขุดเจาะแร่โปแทชอีกครั้งหลังจากจบการร่วมวงสนทนาแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านกิจกรรมเสร็จสิ้นได้มีการมอบของที่ละลึกไว้ให้แก่ชาวบ้านและได้เข้าพักที่บ้านของชาวบ้านในชุมชนเป็นระยะเวลา 1 คืน

เรียนรู้เรื่องราวการต่อสู้ของอดีตสหายชาวบ้านและอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

วันที่สาม (13 ส.ค. 2566) ทางกลุ่มฯได้รับประทานอาหารเช้าที่บ้านของชาวบ้านและได้ออกเดินทางต่อไปยังอนุสรณ์สถานสันติภาพภูพาน ตำบลหนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์และ บ้านนาหินกอง บ้านปากช่อง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร พบปะพูดคุยกับกับชาวบ้านผู้เป็นสมาชิกเก่าของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เล่าเรื่องราวในยุคนั้นความเป็นมาและสิ่งที่ถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรมจากภาครัฐก่อนจะเดินทางไปยังอนุสรณ์สถานสันติภาพภูพานทางกลุ่มฯ ได้ทำความเคารพและรับฟังเรื่องราวความเป็นมาต่างๆของอนุสรณ์สถานสันติภาพภูพานปัจจุบันอนุสรณ์สถานสันติภาพภูพานเป็นศูนย์รวมรายชื่อและอัฐิของนักต่อสู้และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และได้มอบของที่ละลึกก่อนออกเดินทางต่อไปยังศูนย์คริสตศาสนธรรมเซนต์ปอล สองคอน สักการสถาน พระมารดาแห่งมรณสักขีประเทศไทย บ้านสองคอน ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เพื่อพักแรมและใช้พื้นที่ทำกิจกรรม Reflection ไตร่ตรองประสบการณ์ตลอดการเรียนรู้ที่ผ่านมาในวันรุ่งขึ้น

ร่วมกันสรุปทบทวนไตร่ตรองประสบการณ์ในการเรียนรู้

วันสุดท้าย (14 ส.ค. 2566) ช่วงเช้าเวลา 8.00-11.00 น. ได้เข้าทำกิจกรรมกับวิทยากร นริศ มณีขาว สื่อสารสร้างสันติ เปลี่ยนความขัดแย้งเป็นพลังสร้างสรรค์ NVC :NonViolent Communication ได้เข้าอบรมณ์พัฒนาศักยภาพในด้านของการพูดและฟังรวมถึงการคิดอย่างเป็นเหตุและผลการตอบสนองต่อคำพูดอย่างมีเทคนิคในด้านของการสื่อสารอย่างสันติ พูดอย่างไรถึงจะไม่นำพาภัยมาถึงตนเองและพูดให้ฝ่ายตรงข้ามเล็งเห็นถึงเหตุผลมากกว่าอารมณ์การพูดอย่างน่าฟังสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเทคนิคในการนำมาดัดแปลงเพื่อใช้ในการสื่อสารได้ในชีวิตประจำวันทั้งนี้ยังคงมีกิจกรรมการ Reflection “ร่วมกันคิดเชิงวิพากษ์” ไตร่ตรองประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดระยะเวลา 3 วัน 2 คืนที่ผ่านมา ที่ศูนย์คริสตศาสนธรรมเซนต์ปอล สองคอน สักการสถาน พระมารดาแห่งมรณสักขีประเทศไทย บ้านสองคอน ตำบลป่งขาม      อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งมีกระบวนกรนำผู้เข้าร่วมโครงการกิจกรรมดังกล่าว  คือ  นริศ มณีขาว 







 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net