Skip to main content
sharethis

กลุ่มด้วยใจและภาคีเครือข่าย ออกแถลงการณ์ กรณี การลอบสังหารอาสาสมัครนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มด้วยใจ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยประกันให้มีการสอบสวนคดีที่ต้องสงสัยเกี่ยวกับการฆาตกรรมทั้งหมดอย่างละเอียด รวดเร็ว และเป็นกลาง

30 มิ.ย. 2567 กลุ่มด้วยใจ  เผยแพร่แถลงการณ์กลุ่มด้วยใจและภาคีเครือข่าย กรณี การลอบสังหารอาสาสมัครนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มด้วยใจ วันที่ 29 มิ.ย. 2567 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แถลงการณ์กลุ่มด้วยใจและภาคีเครือข่าย
กรณี การลอบสังหารอาสาสมัครนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มด้วยใจ วันที่ 29 มิ.ย. 2567

ข้อมูลเบื้องต้น

นายรอนิง ดอเลาะ ชาวมลายูมุสลิมจังหวัดปัตตานีเป็นเหยื่อจากการควบคุมตัวภายใต้ การบังคับใช้กฎหมายพิเศษจํานวน 5 ครั้งระหว่างปี 2550 - 2560 ทั้งนี้ในปี 2550 และปี 2560 ในระหว่างการสอบสวนในค่ายทหารนายรอนิง ถูกกระทําทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม นอกจากนี้นายรอนิงยังถูกสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ตํารวจด้วยใน ปี 2560 ต่อมาในปี 2558 - 2562 นายรอนิงได้เข้าร่วมกระบวนการฟื้นฟูสภาพจิตใจและ
ร่างกายโดยนักจิตวิทยาคลีนิคจัดโดยกลุ่มด้วยใจและได้รับการเข้ารับการอบรมหมอนวดแผนไทยจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีจนได้รับประกาศนียบัตรและประกอบอาชีพหมอนวดแผนไทยในคลีนิคแห่งหนึ่งในอําเภอรือเสาะจังหวัดนราธิวาส

สําหรับครอบครัวนายรอนิ่ง ดอเลาะแต่งงานมีภรรยาและลูก 5 คนประกอบไปด้วย ลูกชายอายุ 14 ปี 1 คนและลูกสาวอายุ 13, 11, 7 และ 8 เดือนตามลําดับ นอกจากนี้นาย รอนิงยังรับผิดชอบดูแลลูกของพี่ชายอีก 3 คนเนื่องจากเป็นเด็กกําพร้า ในปี 2558 จนถึงปี 2566 นายรอนิงได้เข้ารับการอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชน กระบวนการ สันติภาพ การฟังอย่างตั้งใจและการฝึกอาชีพผ้ามัดย้อม กลุ่มด้วยใจจึงเชิญให้นายรอนิง เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครกลุ่มด้วยใจ มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายจากการถูกทรมานและการควบคุมตัวโดยพลการ ประสานงานชุมชนและจัดอบรมในชุมชน นายรอนิงยังมีส่วนช่วยยุติความรุนแรงต่อสตรีโดยการทําหน้าที่ประสานให้ความช่วยเหลือร่วมกับให้กับผู้หญิงในชุมชนที่ถูกกระทําทารุณ ถูกล่อลวง

กลุ่มด้วยใจได้รับรายงานเรื่องความกังวลเกี่ยวกับการคุกคามนายรอนิงที่เกิดขึ้นอย่างต่อ เนื่องจากการถูกเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ทหารหลายครั้งและถูกควบคุมตัวภายใต้กฎหมายพิเศษโดยไม่มีการดําเนินคดี 5 ครั้งซึ่งได้มีการรายงานให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบมาโดย ตลอด และในที่สุดเขาก็ถูกลอบสังหารในวันที่ 25 มิถุนายน 2567

การลอบสังหาร

การลอบสังหารนายรอนิงอย่างโหดร้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2567 เวลา ประมาณ 20:45 น. ขณะที่นายรอนิงกําลังนั่งพักผ่อนอยู่ตรงหน้าบ้านกับลูกสาววัย 7 ขวบ คนร้ายที่ยังไม่สามารถระบุได้และไม่ทราบจํานวนได้กราดยิงมาจากทางด้านหลังบ้านจน นายรอนิงล้มลงตรงประตูหน้าบ้าน ต่อมาคนร้าย 2 คนแต่งกายด้วยชุดดํา ใส่หน้ากาก ปิดบังใบหน้าบริเวณปากและสวมรองเท้าบู๊ท เข้ามายิงซ้ำต่อหน้าลูกสาวและภรรยาที่ ตะโกนถามว่ายิงเขาทําไม หลังจากนั้นคนร้ายก็วิ่งหลบหนีไปทางป่าหลังบ้าน การสังหารนี้เกิดขึ้นหลังการประกาศความสําเร็จของคณะพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาล ไทยและขบวนการ Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani และก่อนถึงวันสากลเพื่อ การสนับสนุนเหยื่อของการทรมาน

ความน่ากังวลใจ

กลุ่มด้วยใจและภาคีเครือข่ายขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งและประณามการลอบสังหารนายรอนิง ดอเลาะ ซึ่งเรากังวลว่าจะเป็นการกระทําตอบโต้โดยตรงต่องานด้านสิทธิมนุษย ชนของเขาและบทบาทความเป็นผู้นําในการแสวงหา การคุ้มครอง การตระหนัก และการ ปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ในจังหวัดชายแดนใต้และสี่อําเภอจังหวัดสงขลา และ เรามีความกังวลใจต่อการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นการพบ
ปลอกกระสุนจํานวน 28 ปลอกที่เก็บโดยเจ้าหน้าที่ตํารวจและทหารและการตัดสินตีตรา นายรอนิงที่เป็นอดีตผู้ต้องสงสัย เมื่อพิจารณาถึงงานนายรอนิงในฐานะอาสาสมัครกลุ่มด้วยใจ เราเน้นย้ำว่ามาตรฐานสิทธิ
มนุษยชนระหว่างประเทศกําหนดว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนมีสิทธิที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยไม่มีการข่มขู่ ข่มขู่ หรือคุกคามใด ๆ เราใช้โอกาสนี้เพื่อระลึกว่าสนธิสัญญาสิทธิมนุษย ชนระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับรัฐบาลไทยในการรับประกันการพิจารณาคดีอย่าง ยุติธรรมและให้การช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวอย่างเท่าเทียม

ข้อเรียกร้อง

เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยประกันให้มีการสอบสวนคดีที่ต้องสงสัยเกี่ยวกับการ ฆาตกรรมที่ผิดกฎหมายทั้งหมดอย่างละเอียด รวดเร็ว และเป็นกลาง ซึ่งสอดคล้องกับหลัก การว่าด้วยการป้องกันและการสืบสวนที่มีประสิทธิผลของการประหารชีวิตนอกกฎหมาย การสังหารตามอําเภอใจและการสังหารแบบรวดรัด ซึ่งได้รับการรับรองโดยสภาเศรษฐกิจ และสังคม มติที่ 1989/65 และคู่มือสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและการสอบสวนที่มี ประสิทธิผลของการบังคับคดีนอกกฎหมาย การบังคับคดีโดยพลการ และโดยสรุป [พิธีสาร มินนิโซตาว่าด้วยการสอบสวนการเสียชีวิตที่อาจผิดกฎหมาย (2016)] ทั้งนี้ความล้มเหลว ในการสอบสวนอย่างเหมาะสมถือเป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิต และรับประกันความ ปลอดภัยของอดีตผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงที่ได้รับการปล่อยตัว

ลงนาม
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม 
สมัชชาภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ
กลุ่มด้วยใจ
เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD) 
องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี
Pakkamol Sirirat
 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net