Skip to main content
sharethis

112 watch สนทนากับ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการเคลื่อนไหวของเยาวชน โดยตั้งคำถามว่า การเคลื่อนไหวปี 2563-2564 เมื่อมาถึงปัจจุบันคิดว่าเยาวชนยอมแพ้แล้วหรือมีโอกาสจะกลับมาเคลื่อนไหวอีก พิชญ์ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ไม่คิดว่าเยาวชนยอมแพ้ แกนนำหลายคนถูกดำเนินคดีหลายกรรมรวมถึงมาตรา 112 และ116 มันเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะฟื้นคืนการเคลื่อนไหวในตอนนี้

อย่างไรก็ตาม พรรคก้าวไกลที่ได้รับความนิยมในฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตยจากทั้งเยาวชนและไม่ใช่เยาวชน ได้มีบทบาทในการเคลื่อนไหวผ่านสภาแทนจากการเคลื่อนไหวนอกสภาในฐานะฝ่ายค้าน แกนนำเยาวชนบางคนก็ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือไม่ก็เป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล ในช่วงเดียวกัน สื่อทั้งแบบที่เป็นออนไลน์และไม่เป็นออนไลน์ก็ได้หันมาสนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย

ปัจจุบันเยาวชนก็ยังมีส่วนสำคัญในการตรวจสอบและจับตาทางการเมือง โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรค พวกเขายังคงมีความคิดเห็นทางการเมืองผ่านช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะ ทวิตเตอร์และติ๊กต็อก

เมื่อถามว่า ประเทศไทยถูกนิยามว่าเป็นประเทศที่ประชาชนถูกแบ่งด้วยความเป็นเมืองและความเป็นชนบท และถูกแบ่งคร่าวๆ ด้วยสีเสื้อระหว่างเสื้อเหลืองที่มักจะเป็นคนรวยกับเสื้อแดงที่เป็นคนจน ทุกวันนี้แนวทางในการนิยามการเมืองไทยเช่นนี้ยังใช้ได้หรือไม่ พิชญ์ตอบว่า ณ ขณะนี้การเมืองไทยถูกแบ่งออกเป็น 5 ฝ่าย

กลุ่มแรกอยู่ฝ่ายซ้ายคือ ผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล (เดิม) ประกอบไปด้วยเยาวชน อดีตคนเสื้อแดงที่ผิดหวังจากพรรคเพื่อไทยและทักษิณ ชินวัตร

กลุ่มที่สองก็ยังอยู่ฝ่ายซ้าย แต่ใกล้ตรงกลางมากกว่าคือ ผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ประกอบไปด้วยเสื้อแดงเก่า ผู้สนับสนุนทักษิณ และคนที่เชื่อในแนวทางสายกลางและประนีประนอมกับระบอบเผด็จการ

กลุ่มที่สามคือฝ่ายกลางขวา ประกอบไปด้วยพรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตรกับฝ่ายรัฐประหาร เช่น พรรคภูมิใจไทย พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์และรวมไทยสร้างชาติ

กลุ่มที่สี่คือฝ่ายขวา ประกอบไปด้วยวุฒิสภาที่ถูกตั้งมาโดยเผด็จการทหาร

กลุ่มสุดท้ายคือฝ่ายไม่สนับสนุนประชาธิปไตยนอกรัฐสภา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากต่อการเมืองไทย ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เมื่อประเทศไทยมีการรัฐประหาร กองทัพและสถาบันอื่นๆ มีบทบาทหลักในการทำรัฐประหารและใช้การรัฐประหารเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง

เมื่อถามว่า มองเห็นศักยภาพใดของเยาวชนไทยที่เป็นผู้ลี้ภัยว่าพวกเขาสามารถมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยได้ด้วยวิธีใดบ้าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มองว่า ชุมชมผู้ลี้ภัยที่มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยตั้งแต่ช่วงหลังการรัฐประหารปี 2557 และผู้ลี้ภัยที่เป็นเยาวชนก็ไปเสริมความแข็งแกร่งของการเคลื่อนไหวในครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม เยาวชนผู้ลี้ภัยหลายคนยังมีข้อจำกัดจากการที่พวกเขากำลังรอที่จะได้รับสถานะผู้ลี้ภัย ไม่ว่ายังไงก็ตาม จากการที่สื่อออนไลน์แพร่หลายไปทั่วโลกจากโลกาภิวัฒน์ ทำให้ผู้ลี้ภัยชาวไทยรวมถึงเยาวชนผู้ลี้ภัยเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยของไทยผ่านการแสดงความคิดเห็นและทำงานกับชุมชนระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทย

    

เรียบเรียงจาก

A Chulalongkorn University Professor talks about the Youth Movement in Thailand

=====

112 WATCH เป็นการรวมตัวของผู้คนและองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในประเทศไทย โครงการนี้ริเริ่มโดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ศาสตราจารย์จากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต เมื่อราวปลายปี 2564 โดยจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรในการทำงานสื่อสารเพื่อหยุดยั้งการใช้มาตรา 112 ผ่านช่องทางหลักคือ https://112watch.org/

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net