Skip to main content
sharethis
  • สรุปสาระสำคัญของรายงานผลการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง ซึ่งเดิมมีกำหนดเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (3 ต.ค.) แต่ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด หลังจากนักการเมืองหลายพรรคออกมาคัดค้านว่าไม่ต้องการให้รวมคดีมาตรา 112 เข้าไปด้วย
  • ทั้งนี้ รายงานฉบับนี้ยังไม่ใช่กฎหมาย เป็นเพียงผลการศึกษาจาก กมธ. ที่ก็ยังคงไม่มีข้อสรุปว่าจะมีการรวมคดี ม.112 ด้วยหรือไม่ โดยมีการรวบรวมความเห็นของ กมธ.ในประเด็นคดี 112 ที่แตกออกเป็น 3 แนวทางเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

 

 

ใครได้ประโยชน์

  • ครอบคลุมตั้งแต่ 1 ม.ค. 2548 จนถึงปัจจุบัน
  • ไล่มาตั้งแต่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.), แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) จนถึงการชุมนุมของเยาวชน

นิรโทษกรรมคดีอะไรบ้าง

  • เฉพาะการกระทำที่เกิดจาก “แรงจูงใจทางการเมือง” ใน 25 ฐานความผิด
  • ไม่รวมฆ่าให้ตาย

โดยมีการจำแนกคดีออกเป็นคดีหลัก คดีรอง และคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง เพื่อพิจารณาว่าการกระทำไหนที่ควรได้รับการนิรโทษกรรม

  1. การกระทำในคดีหลัก มีตั้งแต่ก่อการร้าย ยุยงปลุกปั่นไปจนถึงทำให้บ้านเมืองสกปรก

1) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

1.1) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร

  • มาตรา 113 (1) หรือ (2) (ความผิดฐานกบฏ)
  • มาตรา 114 (สะสมกำลังเพื่อก่อกบฏ) (เฉพาะการตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ) มาตรา 116 (กระทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย)
  • มาตรา 117 (ยุยงให้หยุดงานเพื่อให้เปลี่ยนแปลงกฎหมาย)
  • มาตรา 118 (กระทำต่อธงชาติ)

1.2) ความผิดเกี่ยวกับก่อการร้าย มาตรา 135/1 (2) หรือ (3) (ความผิดฐานก่อการร้าย)

  • มาตรา 135/2 (ขู่เข็ญจะก่อการร้าย)
  • มาตรา 135/3 (โทษของผู้สนับสนุนการก่อการร้าย)

2) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

3) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551

4) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

5) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558

6) ความผิดตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

7) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559

  1. การกระทำในคดีรอง

1) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

1.1) ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

  • มาตรา 136 (ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน)
  • มาตรา 137 (แจ้งความเท็จ)
  • มาตรา 138 (ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน)
  • มาตรา 139 (ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ)
  • มาตรา 140 (รับโทษหนักขึ้นฐานต่อสู้ขัดขวางและข่มขืนใจเจ้าพนักงาน)

1.2) ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม

  • มาตรา 168 (ขัดขืนคำบังคับของอัยการ หรือพนักงานสอบสวนเพื่อให้ถ้อยคำ)
  • มาตรา 169 (ขัดขืนคำบังคับของอัยการ หรือพนักงานสอบสวนให้ส่งทรัพย์หรือเอกสารใด)
  • มาตรา 170 (ขัดขืนหมายหรือคำสั่งศาลให้มาเบิกความ)
  • มาตรา 184 (ทำลายหลักฐานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ต้องรับโทษ)
  • มาตรา 190 (หลบหนีระหว่างถูกคุมขัง)
  • มาตรา 191 (ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นจากการคุมขัง)
  • มาตรา 198 (ดูหมิ่นหรือขัดขวางผู้พิพากษา)

1.3) ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

  • มาตรา 206 (กระทำการเหยียดหยามศาสนา)
  • มาตรา 208 (แต่งกายเป็นนักบวชในศาสนา)

1.4) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน

  • มาตรา 209 วรรคหนึ่ง (ความผิดฐานเป็นอั้งยี่)
  • มาตรา 210 ถึงมาตรา 214 (ความผิดฐานซ่องโจร, ร่วมประชุมอั้งยี่ ซ่องโจร, ช่วยเหลือ อุปการะอั้งยี่ ซ่องโจร, โทษของสมาชิกและพรรคพวกอั้งยี่ ซ่องโจร และจัดหาที่พำนัก ซ่อนเร้นให้ผู้กระทำผิด)
  • มาตรา 215 วรรคหนึ่ง (มั่วสุมทำให้เกิดการวุ่นวายในบานเมือง)
  • มาตรา 216 (ไม่ยอมเลิกมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน)

1.5) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน

  • มาตรา 217 ถึงมาตรา 220 (วางเพลิงทรัพย์ผู้อื่น, เหตุฉกรรจ์วางเพลิง ทรัพย์ผู้อื่น, ตระเตรียมวางเพลิงทรัพย์ผู้อื่น และทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุ)
  • มาตรา 221 (ทำให้เกิดระเบิดน่าจะเป็นอันตรายฯ)
  • มาตรา 225 (ทำให้เกิดระเบิดจนเป็นอันตรายแก่ทรัพย์)
  • มาตรา 226 (กระทำต่อโรงเรียน สิ่งปลูกสร้าง น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้อื่น)

1.6) ความผิดต่อร่างกาย

  • มาตรา 295 (ทำร้ายร่างกายบาดเจ็บ)
  • มาตรา 296 (ทำร้ายร่างกายบาดเจ็บด้วยเหตุฉกรรจ์)
  • มาตรา 297 (ทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส)
  • มาตรา 299 (ชุลมุนต่อสู้บาดเจ็บสาหัส)
  • มาตรา 300 (ประมาทเป็นเหตุให้บาดเจ็บสาหัส)

1.7) ความผิดต่อเสรีภาพ

  • มาตรา 309 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม (ข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการ ไม่กระทำการ)
  • มาตรา 310 วรรคหนึ่ง (หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น)
  • มาตรา 310 ทวิ (หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นเพื่อให้กระทำการให้แก่บุคคล)
  • มาตรา 311 วรรคหนึ่ง (ทำให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยประมาท)

1.8) ความผิดฐานหมิ่นประมาท

  • มาตรา 326 (หมิ่นประมาท)
  • มาตรา 328 (หมิ่นประมาทโฆษณา)
  • มาตรา 329 (แสดงความเห็นโดยสุจริต ไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท)

1.9) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

  • มาตรา 358 (ทำให้เสียทรัพย์)
  • มาตรา 359 (3) (เหตุเพิ่มโทษฐานทำให้เสียทรัพย์)
  • มาตรา 360 (ทำให้เสียทรัพย์สาธารณประโยชน์)

1.10) ความผิดฐานบุกรุก

  • มาตรา 362 (บุกรุกอสังหาริมทรัพย์)
  • มาตรา 364 (บุกรุกเคหสถาน)
  • มาตรา 365 (1) หรือ (2) โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือ (3) (บุกรุกเหตุฉกรรจ์)

1.11) ความผิดลหุโทษ

  • มาตรา 368 (ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน)
  • มาตรา 370 (ส่งเสียงดังอื้ออึง)
  • มาตรา 371 (พกพาอาวุธ)
  • มาตรา 385 (กีดขวางทางสาธารณะ)
  • มาตรา 391 (ทำร้ายร่างกายไม่บาดเจ็บ)
  • มาตรา 393 (ดูหมิ่นซึ่งหน้า)

2) ความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

  • มาตรา 30 (ศาลออกข้อกำหนด เพื่อรักษาความเรียบร้อยในศาล)
  • มาตรา 31 (ละเมิดอำนาจศาล)

3) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

4) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

5) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

6) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

7) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

8) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

9) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

10) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493

11) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551

12) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535

13) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ. 2490 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

14) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

15) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเดินทางอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

16) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

17) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

18) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธง พ.ศ. 2522

19) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550

ในส่วนคดีหลักและคดีรอง ผู้พิจารณาวินิจฉัยเบื้องต้นว่าจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่ คือ หน่วยงานราชการในกระบวนการยุติธรรม

  1. การกระทำในคดีที่มีความอ่อนไหว

ได้แก่ คดีมาตรา 110 ประทุษร้ายเสรีภาพพระราชินีฯ และ มาตรา 112 หมิ่นประมาทกษัตริย์

ในส่วนนี้ ผู้พิจารณาวินิจฉัยว่าจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่ คือ คณะกรรมการนิรโทษกรรม

สำหรับคำถามที่ว่า คดี ม.112 จะได้รับการนิรโทษกรรมด้วยหรือไม่ กมธ. ยังไม่มีข้อสรุป มีเพียงรวบรวมความเห็นที่แตกออกเป็น 3 แนวทางเพื่อให้สภาพิจารณาต่อไป

  • แนวทางที่ 1 – ไม่ให้นิรโทษกรรม
  • แนวทางที่ 2 – ให้นิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไข
  • แนวทางที่ 3 – ให้นิรโทษกรรมไม่มีเงื่อนไข

ผลของการนิรโทษกรรม

  1. ผู้กระทำพ้นจากความผิด
  2. ถ้าศาลตัดสินลงโทษแล้ว ถือว่าไม่เคยถูกพิพากษาว่าทำผิด
  3. ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ให้ปล่อยตัว เหมือนไม่เคยทำผิด
  4. ลบประวัติอาชญากรรม
สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net