Skip to main content
sharethis

ภาคต่อของการอภิปราย “เมื่อความจริง (นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” โดยธงชัยพูดเรื่องภาวะ “Hyper Royalism” และภาวะตอแหลในสังคมไทย พร้อมอธิบายเรื่อง “1984 แบบไทยๆ” ที่ George Orwell ไม่รู้จัก เรื่องก่อนหน้านี้ ธงชัย วินิจจะกูล (1): เมื่อความจริง(นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน, 20 ธ.ค. 54 เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ร้าน Book Re:public จ.เชียงใหม่ ได้จัดการเสวนาหัวข้อ “เมื่อความจริง (นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” โดยมีผู้อภิปรายคือธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ดำเนินรายการโดย “ภัควดี ไม่มีนามสกุล” นักแปลและคอลัมน์นิสต์ โดยก่อนหน้านี้ ประชาไทได้นำเสนอส่วนหนึ่งของการอภิปรายของธงชัย วินิจจะกูล ไปแล้ว (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) และต่อไปนี้เป็นส่วนต่อเนื่องของการนำเสนอโดยธงชัย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (หมายเหตุ: ข้อความในวงเล็บและคำเน้น เป็นการเน้นโดยประชาไท) ธงชัย วินิจจะกูล \(George) Orwell ไม่เคยเจอสังคม 1984 ที่เป็นจริงนอกไปจากสังคมนาซี Orwell ไม่เคยเจอ 1984 แบบตะวันออก พูดง่ายๆ ว่า สังคมที่ใช้ Thought Control เป็นหลัก มันเวิร์คยังไงในความเป็นจริง Orwell ไม่เคยเจอ ในกรณีของ 1984 ในสังคมไทย มีคนฉลาดมากมายที่ไม่ได้บิ๊กนัก ทั้งบิ๊กทั้งไม่บิ๊ก บิ๊กระดับพอสมควร ไม่บิ๊กที่สุด พร้อมจะปกปักรักษา 1984 หรือทำตัวเป็นคนสอดส่องพวกเราแทน มีคนพร้อมจะออกหนังสือเพื่อ Whitewash อยู่เป็นประจำ อยู่เต็มไปหมด พวกเขาจึงมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะเขียนงานวิจัย พิมพ์หนังสือ ทำตัวฉลาด ทำตัวเป็นผู้รู้ผู้ดีและเฉลิมฉลองไป ในขณะที่คนจำนวนมากทำอย่างนั้นไม่ได้ มีคนอย่างนี้เต็มไปหมด ไม่ใช่ Big Brother เท่านั้น ... ประเด็นหนึ่งที่เดวิดมองข้าม มองข้ามเลย แล้วผมไม่คิดว่าเขาผิด เพียงแต่ผมอยากจะหยอดให้เขาเพิ่ม ให้เขาคิด คือ เมื่อเขาอธิบายถึง Defamation Regime ที่เกิดขึ้นในภาวะที่ไม่ปกติที่กลายเป็นปกติบนรากฐานของวัฒนธรรมเกี่ยวกับการจัดการความจริงแบบพุทธเถรวาท เขาอภิปรายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สฤษดิ์ (ธนะรัชต์) ถึงปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้แยกแยะอย่างชัดเจน โดยที่เขาอธิบายว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นแยะเป็นธรรมดา แต่มีอะไรไหมที่เป็นลักษณะเฉพาะและเป็นเงื่อนไขเป็นพิเศษในช่วงประมาณ 50 ปีนี้ สิ่งที่ผมอยากจะเพิ่ม นี่เป็นส่วนของผมแล้วนะ ไม่ใช่หนังสือเล่มนี้ คือ ผมคิดว่าสังคมไทยมี Royalism เป็นปกติ แต่ภาวะที่ผมเรียกว่า “Hyper Royalism” เป็น “อีกภาวะหนึ่งซึ่งไม่ปกติที่กลายเป็นปกติ” ตรงนี้เป็นสิ่งที่เดวิดมองข้าม และเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าไม่ต้องการ Schmitt กับ Agamben (Carl Schmitt และ Giorgio Agamben) คุณต้องการความรู้ประวัติศาสตร์ไทยธรรมดาๆ ผมเคยอธิบายแล้วในที่อื่นว่า 14 ตุลาฯ คือจุดเปลี่ยนผ่านให้อำนาจของ Monarchists ผมพูดถึง Monarchists มีตัว S ข้างหลังด้วยนะ เพราะฉะนั้นผมพูดถึง “พวกนิยมเจ้า” ทั้งหลาย ผมไม่ได้พูดถึงเจ้าด้วยซ้ำไป ผมพูดทุกครั้ง เวลาพูดเรื่องนี้ต้องบอกว่า ตัวอย่างของพวกนิยมเจ้าที่ชัดเจนคือ พล.อ.เปรม (ติณสูลานนท์) ถ้าคุณไม่เชื่อ ไปถามท่านดูว่าท่านนิยมเจ้าไหม ท่านก็ต้องบอกว่า “ท่านนิยมเจ้า” 14 ตุลา คือจุดพลิกผันที่พวกนิยมเจ้าขึ้นมามีอำนาจ ไม่ใช่เปรม ตอนนั้นไม่ใช่เปรม ผมยกตัวอย่างแค่นั้น มีคนอื่นเยอะแยะ มีทั้งที่เป็นเจ้า และไม่เป็นเจ้า กลุ่มนิยมเจ้าพยายามขึ้นมาเถลิงอำนาจนับตั้งแต่หลังรัฐประหารปี 2490 ร่วมมือกับกองทัพ ผมจะไม่อธิบายเพิ่มคุณไปหาอ่านเอง ตอนนั้นยังระหกระเหิน สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ ภายในเวลาแค่ 4-5 ปี ก็ถูกเตะออกไป แต่ในระหว่างนั้นก็เริ่มต้น รวมถึงวางฐานทางความคิดซึ่งพัฒนาต่อมาในยุคสฤษดิ์ หรือหลังสฤษดิ์เป็นต้นมา ตั้งแต่ 2490 หรือ 2492 เช่น รัฐธรรมนูญที่บอกว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net