Skip to main content
sharethis

10 ธ.ค. 2559 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ออกแคมเปญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ส่งเสียงค้ดค้านไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หรือผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ชะลอหรือยับยั้งการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ผ่านการโพสต์-แชร์ รูปภาพรณรงค์ ไปยังหน้าเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ของประธาน รองประธาน และ สนช. รวมถึงส่งอีเมลถึงบุคคลดังกล่าว

ณัชปกร นามเมือง เจ้าหน้าที่ไอลอว์ เล่าว่า เดิมทีอยากจะสื่อสารถึงคณะกรรมาธิการร่างฯ ให้พิจารณาถอนร่างนี้ออก แต่เมื่อเข้าเว็บ สนช. พบว่า กมธ.พิจารณาเสร็จสิ้นและส่งให้ สนช.แล้ว โดยมีกำหนดจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของ สนช.ในวันที่ 15 ธ.ค. นี้ ทำให้เห็นความเป็นไปได้ที่ สนช.จะเร่งผ่านร่างกฎหมายนี้ ทั้งที่ในเวทีรับฟังความเห็นเมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา มีการแจ้งว่าถ้าแก้ไขเสร็จแล้วจะเปิดรับฟังความเห็น แต่ปรากฏเขากลับยื่นเลย สะท้อนภาวะกึ่งลักหลับ

ณัชปกร ระบุว่า มาตราที่ไอลอว์กังวลที่สุด คือ มาตรา 20/1 และมาตรา 14

มาตรา 20/1 เดิม เขียนให้อำนาจคณะกรรมการกลั่นกรองในการส่งศาลให้พิจารณาปิดเว็บที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ขัดศีลธรรมอันดีหรือความสงบเรียบร้อย ก็เป็นความน่ากลัวเชิงคุณภาพอยู่แล้ว แต่ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับล่าสุดนี้ เพิ่มจำนวนคณะกรรมการกลั่นกรองให้มีหลายคณะได้ นั่นยิ่งเพิ่มความน่ากลัวเชิงปริมาณ

เขากล่าวว่า กมธ.ร่างฯ มักอ้างว่าในการพิจารณานั้นจะมีศาลเป็นผู้กรอง แต่เมื่อเป็นเนื้อหาที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย ก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลแต่แรก ดังนั้น การส่งให้ศาลพิจารณาจึงไม่เวิร์ค เพราะไม่ได้วินิจฉัยบนฐานของกฎหมาย

ขณะที่มาตรา 14(2) มีการกำหนดนิยามความผิดของการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จไว้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ "การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ การบริการสาธารณะ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" จนทำให้สงสัยว่าสุดท้ายแล้วโพสต์อะไรได้บ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลต่อเสรีภาพในการแสดงออก

นอกจากนี้ สิ่งที่ร้ายแรงอีกอย่างก็คือ บางเรื่องนั้นซ่อนเอาไว้ในร่างประกาศกฎกระทรวงฯ ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ เช่น ประเด็นซิงเกิลเกตเวย์ซ่อนรูป ที่ให้มีการตั้งศูนย์รวมสำหรับการบล็อคเว็บไว้ที่จุดเดียว

เขาชี้ว่า หากร่าง พ.ร.บ.นี้ผ่าน การฟ้องคดีแบบไร้สาระจะเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การบล็อคเว็บที่รุนแรงมาตลอดจะยิ่งมีความชอบธรรมมากขึ้น

"โอเคมั้ยที่จะถูกกำหนดความรับรู้ โอเคมั้ยที่จะถูกยัดความคิดด้านเดียวให้" ณัชปกรตั้งคำถาม

 

รณรงค์: ขอเสียงประชาชนหยุด! ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่

ตามระเบียบวาระการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2559 มีการกำหนด "เรื่องด่วน" ไว้สี่อย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว มีความเป็นไปได้มาก ที่ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ" ฉบับใหม่ จะผ่านวาระ 3 ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ทั้งที่ กลุ่มพลเมืองผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการจำนวนไม่น้อยต่างก็ประสานเสียงกันว่า กฎหมายฉบับนี้ยังเต็มไปด้วยปัญหา เช่น นิยามความผิดที่ห้ามนำข้อมูลเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขว้าง จนประชาชนไม่สามารถรู้ได้ว่าขอบเขตอยู่ตรงไหน นอกจากนี้ ยังเพิ่มอำนาจการบล็อคเว็บแม้เนื้อหาจะไม่ผิดกฎหมายให้กับ "คณะกรรมการกลั่นกรอง" ซึ่งมีได้มากกว่าหนึ่งคณะ เป็นต้น (อ่านรายละเอียดได้ที่นี้)

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ออกแคมเปญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ส่งเสียงค้ดค้านไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ชะลอหรือยับยั้งการพิจารณากฎหมายฉบับนี้

โดยพวกเราสามารถรวมพลังกันเพื่อคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ได้ดังนี้

1) โพสต์-แชร์ รูปภาพรณรงค์ (อยู่ด้านล่างสุด) ในประเด็นที่เราไม่เห็นด้วยไปยังหน้าเฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ของประธาน รองประธาน และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามช่องทางนี้

1.1) เฟซบุ๊ก

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (@SenateThailand)
สนช. พบประชาชน (@NLAMeetPeople)
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา (@Thaiparliamentchannel)
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย  (@สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย)
สุรางคณา วายุภาพ (@surangkana.wayuparb)

1.2) ทวิตเตอร์

วิทยุโทรทัศน์รัฐสภา @TPchannel
สุรางคณา วายุภาพ @SurangkanaWayup


2) ส่งอีเมลพร้อมรูปภาพรณรงค์ไปที่ยัง ประธาน รองประธาน และสมาชิก สนช. ซึ่งเป็นกรรมาธิการร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่

พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง
พีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง
พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ภัทรศักดิ์ วรรณแสง รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง
กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่สอง
จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพจ
สุรางคณา วายุภาพ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร กรรมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา
พลตำรวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้ กรรมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา
ธานี อ่อนละเอียด กรรมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา
ฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล กรรมาธิการวิสามัญ
ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล กรรมาธิการวิสามัญ
ประมุท สูตะบุตร กรรมาธิการวิสามัญ

คัดลอกอีเมลทั้งหมดได้ตามนี้

chatchawal_su@police.go.th, sen031@senate.go.th, phattarasak.v@coj.go.th, jintanant.sub@mahidol.ac.th, sen057@senate.go.th, sen103@senate.go.th, sen007@senate.go.th, surangkana@etda.or.th, sen215@senate.go.th, sen085@senate.go.th, sen127@senate.go.th, sen058@senate.go.th, chatchai@metroply.com, sen115@senate.go.th, chusak.l@psu.ac.th, sen171@senate.go.th, sen080@senate.go.th, sen089@senate.go.th,
jatingja2479@hotmail.com, sen170@senate.go.th, p_senate@hotmail.com, sen096@senate.go.th,
wp2557@hotmail.com, ilaw@ilaw.or.th

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพรณรงค์ไปใช้ได้ ตามนี้

หนึ่ง: ไม่เห็นด้วยกับ "การมีคณะกรรมการมาคิดแทนเราว่า เราควรดูอะไร ไม่ควรดูอะไร" (ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่)
 

 

สอง: ไม่เห็นด้วยกับ "การกำหนดนิยามความผิดกว้างขว้าง จนโพสต์อะไรแทบไม่ได้" (ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่)
 



สาม: รูปภาพรณรงค์ขอให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติยับยั้งการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ (ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่)




 

ข้อมูลประกอบเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net