Skip to main content
sharethis
หนึ่งในสิ่งที่ทำให้จีนขึ้นไปอยู่บนเวทีทีมีแสงไฟสาดส่องบนเวทีโลกตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่แล้วคือการประกาศโครงการ "หนึ่งแถบ หนึ่งสายทาง" หรือ 'เส้นทางสายไหมใหม่' ซึ่งโครงการนี้สร้างอะไรไปแล้วบ้าง มีหลายประเทศที่กังขาต่อโครงการนี้เพราะเหตุใด หรือแม้แต่ประเทศพันธมิตรของจีนเองอะไรที่ทำให้ประชาชนกังวลต่อโครงการเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลกของจีน

20 พ.ค. 2560 รายงานของนิวยอร์กไทม์ระบุถึงโครงการลงทุนต่างๆ ของทางการจีน ที่ทำไว้ตั้งแต่ก่อนการประกาศ "เส้นทางสายไหมใหม่" ในที่ประชุมเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา นิวยอร์กไทม์ระบุถึงการที่วัศวกรจีนกำลังขุดเจาะอุโมงค์และสร้างสะพานในวังเวียง ประเทศลาว เพื่อสร้างทางรถไฟระยะทาง 260 ไมล์ ในโครงการราคา 6,000 ล้านดอลลาร์ ที่จะเชื่อมต่อประเทศอาเซียน 8 ประเทศ
 
ทุนจีนยังไปลงกับโรงไฟฟ้าของปากีสถานเพื่อจัดการกับปัญหาไฟฟ้าเรื้อรัง ซึ่งเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการลงทุนที่มีผู้คาดการณ์กันว่าจะมากถึง 46,000 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ยังมีแผนการวางเส้นทางรถไฟจากบูดาเปสต์ไปยังเบลเกรด, เซอร์เบีย,เป็นเส้นทางที่จะส่งผ่านสินค้าไปสู่ยุโรปผ่านทางท่าเรือในกรีซที่จีนเป็นเจ้าของ
 
นิวยอร์กไทม์ระบุว่าแผนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เหล่านี้และโครงการอื่นๆ ผ่านยุโรป เอเชีย และแอฟริกานับเป็นความพยายามสร้างการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจแบบหยั่งรากลึกและการทูตให้แน่นแฟ้น โครงการที่ชื่อ "หนึ่งแถบ หนึ่งสายทาง" (One Belt, One Road) ของจีนที่มุ่งสร้างโครงสร้างงพื้นฐานมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร ์ ทอดผ่านประเทศมากกว่า 60 ประเทศ จึงเป็นการแผ่อิทธิพลใหม่ของจีนในนาม "การค้าระดับโลก" ซึ่งประธานาธิบดีสีจิ้นผิงต้องการให้จีนใชัความมั่งคั่งและอุตสาหกรรมที่ชำนาญการในการพยายามขึ้นมามีอำนาจเหนือสถาบันเศรษฐกิจตะวันตกโดยพยายามถึงประเทศและภาคส่วนต่างๆ เข้ามาอยู่ในวงของจีน
 
บทความนิวยอร์กไทม์มองอีกว่าโครงการนี้เน้นเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจจีนล้วนๆ ใตอนนี้อัตราการเติบโตเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัว และจีนก็ผลิตพวกเหล็กกล้า ซีเมนต์ และเครื่องจักรออกมามากเกินความต้องการของประเทศตัวเองจึงพยายามหาลู่ทางเพื่อให้เศรษฐกิจในประเทศตัวเองไปต่อได้โดยเฉพาะการตกลงกับประเทศกำลังพัฒนา
 
เชาเวิ่นเหลียน อธิบดีศูนย์เพื่อความร่วมมือนานาาติของคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาชาติและการปฏิรูปที่เป็นองค์กรตัวตั้งตัวตีของ "เส้นทางสายไหมใหม่" กล่าวว่า "แผนการนี้จะทำให้เกิดโลกาภิวัตน์ 2.0" และเป็นการที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเชื่อว่าจะเป็นแผนระยะยาวที่ส่งไปถึงคนุ่รนต่อๆ ไปด้วย นอกจากนีสีจิ้นผิงยังแสดงท่าทีไปในทางตรงกันข้ามกับโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ที่เน้นแนวทางคุ้มครองการค้าประเทศตัวเอง โดนสีจิ้นผิงเคยบอกว่าแนวคิดคุ้มครองการค้า "เป็นการขังตัวเองไว้ในห้องมืด"
 
นิวยอร์กไทม์ประเมินว่าจีนทุ่มหนักเพราะคำนวนผลระยะยาวโดยยอมเสี่ยงผิดพลาดในระยะสั้น แม้กระทั่งการลงทุนในประเทศที่เสี่ยงเกิดคอร์รัปชันสูงเพื่อผลทางการทหารและการทูต แต่ประเทศอื่นๆ รวมถึงสหรัฐฯ ประเทศในเอเชียและประเทศในยุโรปก็เข้าหาจีนอย่างระมัดระวังในเรื่องนี้ ออสเตรเลียไม่ยอมเซ็นสัญญาตกลงกับจีน อินเดียก็ไม่สบายใจที่จีนจะสร้างถนนตัดผ่านพื้นที่ขัดแย้งที่มีชาวปากีสถานอยู่มากอย่างแคว้นแคชเมียร์ 
 
อย่างไรก็ตามในแง่การค้าเหล่านักธุรกิจข้ามชาติและธนาคารนานาชาติทั้งหลายก็คว้าโอกาสที่จีนจะพยายามปรับการค้าโลกเช่นนี้ กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของเยอรมนีก็เข้าร่วมประชุมกับจีน บรรษัมอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของตะวันตกอย่างเจเนอรัลมอเตอร์และซีเมนส์ก็ร่วมด้วย แม้แตสหรัฐฯ เองก็ส่งคนที่ดูมีความสำคัญพอสมควรไปประชุมด้วยราวส่งสัญญาณว่าเริ่มเปิดรับความสัมพันธ์กับจีนมากขึ้น
 
ทางรถไฟในลาว
 
หนึ่งในประเทศที่รับวัตถุดิบโครงสร้างพื้นฐานจากจีนอย่างมากคือลาว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใช้ในโครงการที่ลาวผลิตในจีนทั้งหมด รวมถึงแรงงานเองก็เป็นคนจีนด้วย ในช่วงก่อสร้างหนักๆ มีการประเมินว่าจะต้องใช้แรงงานชาวจีนมากถึงราว 100,000 คน ขณะที่จีนพยายามใช้จุดนี้เป็นตัวดึงดูดการเติบโตทางเศรษฐกิจให้จีนเองแล้ว การลงโครงสร้างพื้นฐานในลาวยังเป็นหนึ่งในแผนการที่จะถอนอำนาจสหรัฐฯ ออกจากพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
 
จีนต้องการสร้างทางรถไฟระยะทาง 260 ไมล์ ในโครงการราคา 6,000 ล้านดอลลาร์เชื่อมจากตอนเหนือของลาวมาจนถึงเมืองหลวงเวียงจันทร์ ทางรถไฟของพวกเขาต้องผ่านเทือกเขาต่างๆ ทำให้มีการขุดเจาะอุโมงค์และสร้างสะพานแทยจะร้อยละ 60 ของเส้นทางทั้งหมด ขณะเดียวกันก็มีปัญหาเรื่องที่พื้นที่หลายพื้นที่ยังมีทุ่นระเบิดของสหรัฐน ในสมัยสงครามเวียดนามตกค้างอยู่
 
ท่าเรือปากีสถานและทางรถไฟเคนยา
 
นิวยอร์กไทม์ระบุว่าในแต่ละที่จีนก็มีการสร้างอะไรในเชิงที่จะเอื้อผลประโยชน์กลับคืนตัวเอง ในปากีสถานมีการสร้างท่าเรือกวาดาร์บนทะเลอาหรับโดยจะเชื่อมด้วยทางรถไฟและถนนใหม่ทาบผ่านพื้นที่ซินเจียงเป็นทางลัดในการค้าขายกับยุโรป รวมถึงโครงการทางหลวงและโรงไฟฟ้า จีนมีความต้องการป้องกันไม่ให้ผู้ก่อการร้ายจากปากีสถานข้ามเขตแดนเข้าไปอยู่ในซินเจียง
 
ในเคนยาจีนต้องการพัฒนาทางรถไฟจากท่าเรือที่มอมบาซาไปถึงไนโรบีที่จะทำให้ส่งสินค้าจีนเข้าไปในเคนยาได้ โดยที่จีนทำการปรับปรุงโครงสร้าพื้นฐานที่กำลังผุพังในแอฟริกามาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี แล้ว ซึ่งไม่เพียงแค่เคนยาเท่านั้นจีนยังให้ทุนสร้างทางรถไฟฟ้าข้ามประเทศทางแรกในแอฟริกามูลค่าราว 4,000 ล้านดอลลาร์ 
 
ดูเหมือนจีนจะกำลังแผ่อิทธิพลไปได้หลายที่ในโลก อย่างไรก็ตามทอม มิลเลอร์ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความฝันของเส้นทางสายไหมใหม่ของจีนก็บอกว่า มีอีกหลายประเทศที่จีนต้องหาทางโน้มน้าวชักจูงให้ได้เพราะพวกเขามองออกว่าจีนต้องการควบคุมในเชิงยุทธศาสตร์
 
บริหารจัดการความเสี่ยง
 
ถึงจะดูเป็นพ่อบุญทุ่ม แต่ในประเทศพันธมิตรคอมมิวนิสต์ที่ยอมรับจีนอย่างลาวเองก็มีความกังวลว่าพวกเขาจะร่วมทุนกับโครงการราคาสูงๆ กลายพันล้านได้อย่างไรเมื่อเทียบกับรายได้ของพวกเขาเอง โดยที่ธนาคารนำเข้าส่งออกของจีนให้ลาวยืมเงินจำนวน 800 ล้านดอลลาร์ ทำให้ลาวรบภาระหนี้หนักจนไอเอ็มเอฟเตือนว่าหนี้สาธารณะของพวกเขาอาจจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 70 ของขนาดเศรษฐกิจลาว
 
อินโดนีเซียที่มีโครงการรถไฟความเร็วสูงกับจีนก็มีเรื่องโต้เถียงเกี่ยวกับการถือครองที่ดิน ในไทยรัฐบาลก็เรียกร้องข้อตกลงที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟ นิโคลัส อาร์ ลาร์ดี ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนจากสถาบันเพื่อเศรษฐกิจนานาชาติในวอชิงตันเองก็มองว่าจีนยังคงเผยแผนการลงทุนด้วยวงเงินที่ไม่สูงมาก ยังคงเทียบเท่ากับโครงการลงทุนภายในประเทศ
 
แม้กระทั่งรัสเซียท่ดูเป้นมิตรกับจีนก็ยังตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการ  "หนึ่งแถบ หนึ่งสายทาง" กับจีน จากที่กลุ่มคณาธิปไตยคนใกล้ชิดกับผู้นำ วลาดิเมียร์ ปูติน ต่างก็ยังคงกังขาว่าโครงการจีนจะส่งผลในทางปฏิบัติได้จริงหรือไม่
 
ขณะเดียวกันก็มีการประเมินว่าการกรจายทุนออกไปจากจีนเองอาจจะกลายเป้นปัญหากลับมาหลอกหลอนจีนเองด้วยหรือไม่ เมื่อธนาคารจีนจำต้องให้กู้ยืมในโครงการที่ไม่น่าปรารถนาเท่าใดและหลายประเทศก้ประเมินว่าโครงการ "หนึ่งแถบ หนึ่งสายทาง" มีระดับเครติดต่ำกว่ามาตรฐานการลงทุน
 
ในมุมมองของผู้คนทั่วไปในลาวเองก็แสดงความกังวลว่าจำนวนคนจีนที่เอาเข้ามาในประเทศลาวมากเกินไปก็อาจจะไม่ดีกับลาว แม้จะเห็นด้วยว่าลาวควรจะพัฒนาให้ดูทัดเทียมกับอารยประเทศบ้าง ชาวนาในลาวก็กังวลเรื่องสิทธิที่ดินทำกินโดยมีชาวนารายหนึ่งให้สัมภาษณ์ต่อนิวยอร์กไทม์ว่ารัฐบาลลาวเคยมาขอซื้อที่ดินแต่ก็ไม่เคยจ่ายเงินให้เขาเลย
 
 
เรียบเรียงจาก
 
Behind China’s $1 Trillion Plan to Shake Up the Economic Order, JANE PERLEZ and YUFAN HUANGMAY , New York Times, 13-05-2017
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net