Skip to main content
sharethis

นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงผู้เคยเขียนหนังสือตีแผ่อุตสาหกรรมอาวุธ ระบุถึงกรณีการถอนตัวออกจากข้อตกลงยับยั้งนิวเคลียร์อิหร่านของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าจะทำให้สหรัฐฯ จะกลายเป็นผู้ละเมิดข้อตกลงดังกล่าวเสียเอง และแทบจะไม่มีโอกาสเลยที่สหรัฐฯ จะ "ประสบความสำเร็จ" ในการใช้กำลังกับอิหร่าน

 
 
 
11 พ.ย. 2561 วิลเลียม ดี ฮาร์ตุง ผู้อำนวยการโครงการยุทโธปกรณ์และความมั่นคงจากศูนย์เพื่อนโยบายนานาชาติ นำเสนอบทความวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจนำสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงยับยั้งนิวเคลียร์อิหร่าน
 
ฮาร์ตุง ผู้เคยเขียนหนังสือตีแผ่อุตสาหกรรมค้าอาวุธล็อคฮีท มาร์ติน ชื่อ "Prophets of War: Lockheed Martin and the Making of the Military-Industrial Complex" ระบุถึงการตัดสินใจครั้งนี้ว่าเป็นสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดสงครามได้ แม้แต่ โจเซฟ โวเทล ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการกลางสหรัฐและ เจมส์ แมตทิส รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ก็ยอมรับว่าการตัดสินใจนำสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงยับยั้งนิวเคลียร์อิหร่านถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างที่สุด และอาจจะส่งผลร้ายแรง
 
การตัดสินใจออกจากข้อตกลงของสหรัฐฯ ถูกประเมินจากฮาร์คุงว่าจะทำให้อิหร่านมีโอกาสตัดสินใจครอบครองอาวุะนิวเคลียร์มากขึ้น ทำให้พวกนักการเมืองสายการทหารสุดโต่งอย่าง จอห์น โบลตัน กับไมค์ ปอมเปโอ อ้างใช้ทำสงครามกับอิหร่านได้ในอนาคต ขณะเดียวกันกลุ่มของโบลตันก็มองว่าควรมีการใช่วาจาแข็งกร้าวกับการสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลอิหร่าน MEK ที่ไม่ได้รับความนิยมและจะได้ผลในการกำจัดรัฐบาลอิหร่านถือเป็นเรื่องเพ้อฝัน
 
จากข้ออ้างของทรัมป์ที่บอกว่าจะเจรจาหารือให้ได้ "ข้อตกลงที่ดีกว่า" นั้นฮาร์ตุงก็มองว่าเป็นข้ออ้างที่ฟังดูไม่มีทิศทาง อีกทั้งข้อตกลงกับอิหร่านที่มีอยู่เดิมก็ได้ผลอยู่แล้ว จากการที่สามารถทำให้มีการลดการสะสมยูเรเนียมเสริมสมรรถนะในอิหร่านลงร้อยละ 98 ทำให้เกิดการสั่งปิดโรงงานผลิตพลูโตเนียมขนาดใหญ่ รวมถึงโครงการนิวเคลียร์ต่างๆ จะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ขณะที่แผนการเดิมมีการยับยั้งตั้งแต่การได้มาวึ่งวัตถุดิบพัฒนานิวเคลียร์สำหรับอิหร่าน แต่รัฐบาลทรัมป์ไม่ได้มีแผนการทางการทูตอื่นใดเลย
 
ฮาร์ตุงยังประเมินอีกว่าแผนการ "โจมตี" อิหร่านของโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่า "ความสำเร็จ" ที่ว่าจะหมายถึงการยุติโครงการนิวเคลียร์หรือการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลให้เป็นมิตรกับสหรัฐฯ มากขึ้น นอกจากนี้การโจมตีของสหรัฐฯ จะยิ่งเร่งให้อิหร่านพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เร็วขึ้นกว่าเดิมด้วย และถ้าหากมีปฏิบัติการทางทหารในอิหร่านเกิดขึ้นจริงก็อาจจะทำให้ทรัมป์ดูเป็นคนพูดอย่างทำอย่างจากเดิมที่เขาเคยประกาศว่าการรุกรานอิรักเป็น "หายนะ" มาก่อน
 
ทั้งนี้ ยังไม่รู้ว่าประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, รัสเซีย และจีน ที่ร่วมหารือและลงนามในข้อตกลงยับยั้งนิวเคลียร์อิหร่านจะกอบกู้ข้อตกลงนี้อย่างไรหลังจากที่ทรัมป์นำสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงนี้แล้ว ฮาร์ตุงมองว่ามันก็ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าสหรัฐฯ เป็นคนทำลายข้อตกลงนี้เสียเองไม่ใช่อิหร่าน และฮาร์ตุงก็เสนอว่าควรจะมีใครทำให้รัฐบาลทรัมป์ต้องชดใช้อย่างหนักกับการตัดสินใจที่ไม่สร้างสรรค์เช่นนี้
 
 
 
เรียบเรียงจาก
 
Make No Mistake: Trump Is Paving the Way for War with Iran, FPIF, 09-05-2018

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net