Skip to main content
sharethis

มาตรฐานการคุมขังนั้นเป็นหนึ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการกระทำอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยกำลังผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหาย พ.ศ…. โดยร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 5 ได้กำหนดฐานความผิดกระทำการที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ไม่รวมถึงการลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงน่าสนใจว่า การผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนั้น จะช่วยพัฒนามาตรฐานในการคุมขังของราชทัณฑ์ได้หรือไม่อย่างไร

ข้อมูลวันที่ 23 มิถุนายน 2565 จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่ามีผู้ต้องขังคดีทางการเมืองที่ถูกขังระหว่างการพิจารณาอยู่ถึง 21 ราย เสียงของพวกเขาที่สะท้อนเรื่องราวภายในเรือนจำอย่างต่อเนื่องกลับไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาพคุมขังใดๆ อีกทั้งนักกิจกรรมอย่างน้อย 2 คนยังได้ประกันตัวโดยมีเงื่อนไขการติดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว(EM) ต้องอยู่ในเคหสถาน 24 ชั่วโมง แทบไม่แต่ต่างจากการคุมขัง

เนื่องในวันต่อต้านการทรมานสากล (26 มิถุนายน) และวันครบรอบเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย (24 มิถุนายน) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชวนนักกิจกรรมที่เคยถูกคุมขังในเรือนจำและต่อมาได้รับการประกันตัวโดยมีเงื่อนไขห้ามออกนอกเคหะสถาน 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนและด้านกฎหมายอาญา

มาพูดคุยกันถึงประเด็นดังกล่าว ในหัวข้อ “ขังในเรือนจำ และขังนอกเรือนจำต่างกันอย่างไร” พบกับ พูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรม, โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรม และรณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net