Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 ในการประชุมวุฒิสภา มีวาระรายงานผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี 2566 และรายงานการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ประจำปี 2566

นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา เสนอ กสทช. รับเคสประชาชนถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง

ช่วงหนึ่งนันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา เสนอโมเดลให้ กสทช.ใช้เครือข่ายที่มีประสานรับเคสประชาชนโดนหลอกจากคอลเซ็นเตอร์เข้าช่วยเหลือและเยียวยาประชาชน บูรณาการทำงานร่วมกับตำรวจเพื่อส่งต่อให้ความช่วยเหลือด้านการแจ้งความ ส่อต่อไปยังธนาคารที่เคสเปิดบัญชีเพื่อทำการระงับบัญชีช่วยเหลือทันที

ประเด็นที่สอง ควบรวบกิจการโทรคมนาคมระหว่างค่ายอินเตอร์ 2 ค่าย คือ ค่ายทรู และ ดีแทค ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากควบรวบยังไม่ได้รับการเยียวยา กสทช. จะช่วยเหลืออย่างไร

ประเด็นที่ สาม ปัญหาการนำสายสื่อสารลงดิน ที่ดำเนินการเชื่องช้า สุดท้ายแล้วสายโทรคมนาเหล่านี้จะลงดินกี่โมง 

"ดิฉันคิดว่า กสทช. เป็นหน่วยงานที่จะดูแลเรื่องการสื่อสารโทรคมนาของประเทศควรจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวกการสื่อสารของประชาชนให้ดีขึ้น ไม่ใช่ให้การสื่อสารมาทำร้าย มาทำลายชีวิตของประชาชน"

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ วุฒิสมาชิก วอน กสทช. สร้างมาตรฐานรายการโทรทัศน์ อำนวยความสะดวกให้คนพิการ

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ สมาชิกวุฒิสภา ได้เสนอ 2 ประเด็นเกี่ยวกับมาตรฐานกิจกรรมโทรทัศน์ กรณีที่ 1 กรณีคนพิการทางการมองเห็น ได้รับผลกระทบจากการฟังเสียงรายการโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งมีระดับความดังของเสียงที่ไม่เท่ากัน ทาง กสทช. ควรจะมีการกำหนดมาตรฐานของเสียงให้อยู่ในระดับเดียวกันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนพิการทางการมองเห็น กรณีที่ 2 กำหนดมาตรฐานล่ามภาษามือว่าต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากบางสถานีโทรทัศน์ล่ามภาษามือใข้วิธีการแปลคำต่อคำ บางสถานีล่ามแสดงความคิดเห็นใส่เข้าไปในการแปลภาษามือร่วมด้วย และบางสถานีใช้วิธีการแปลภาษามือแบบสรุปประเด็น ดังนั้นจึงจะต้องมีการกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการ

อังคณา นีละไพจิตร วุฒิสมาชิก แสดงความกังวลมาตรฐานเซ็นเซอร์ของ กสทช.

อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวถึงข้อกังวลและข้อคำถาม ในประเด็นการเซ็นเซอร์ข้อมูลข่าวสาร อยากทราบถึงมาตรการของ กสทช. ในการพิจารณาออกคำสั่งปิดกั้นเนื้อหาบ้างประเภทอย่างไร โดย ยกตัวอย่างกรณี ข้อความที่ประชาชนโพสวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลโดยสุจริต โดยทาง กสทช. อาจมองว่าเป็นภัยความมั่นคง จึงทำให้เกิดความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ติชมโดยสุจริตของประชาชน 

ประเด็นที่ สอง การตรวจสอบ การติดตามการสื่อสาร โดยที่ผ่านมา กสทช. อาจมีบทบาทสนับสนุนการติดตามการสื่อสารของประชาชน การบล็อคแพลนฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์หรือแอปพลิเคชันที่ประชาชนใช้ หากกรณีนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกำกับในการดูแลโดยศาล อาจเข้าข่ายการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวรวมถึงสิทธิในการสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลอย่างอิสระของประชาชนด้วย ในส่วนข้อมูลที่นำไปเผยแพร่ ยังไม่เห็นมาตรฐานของ กสทช. ที่มีประสิทธิภาพปกป้องคุ้มครองผู้เสียหาย ในรายงานของ กตป. ได้ระบุไว้มีการร้องเรียกในเรื่อง การเผยแพร่ข้อมูล ภาพ ที่เกี่ยวข้องการละเมิดทางเพศเด็ก หรือผู้หญิง ได้ถึง 30.16% กรณีในเรื่องความอ่อนไหวทางเพศสภาพ

"หากท่านไปที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดทางเทศโนโลยีจะเห็นผู้หญิงนั่งร้องไห้ เนื่องจากคลิปส่วนตัวเผยแพร่ไม่สามารถยุติหรือยับยั้งการแพร่กระจายได้"

อังคณา กล่าวทิ้งท้าย ประเด็น คอลเซ็นเตอร์ ที่นอกจากมิจฉาชีพแล้ว กังวลในส่วนของการล่อล่วงให้ทำงานเกี่ยวข้องกับเว็บพนัน หวังให้ กสทช. ต้องมีมาตรการที่เข้มข้นมากกว่านี้ อยากฝากปัญหาภายในของ กสทช. ที่โดนวิจารณ์อย่างมากจากประชาชนที่อาจจะมาความไม่เป็นประชาธิปไตย ความไม่โปร่งใส ที่เป็นเรื่องน่ากังวลใจ จะส่งผลให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นและสัตย์ทาในการทำหน้าที่ของ กสทช.

เทวฤทธิ์ มณีฉาย วุฒิสมาชิก อภิปราย 7 มาตรการลดผลกระทบจากการควบรวบ ผูกขาดกิจการโทรคมนาคม

เทวฤทธิ์ มณีฉาย สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึง ประเด็นการควบรวบธุรกิจกิจการโทรคมนาคม หรือ เรียกอย่างตรงไปตรงมา คือ การทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมมีผู้เล่นน้อยราย หรือ ผูกขาด ส่งผลกระทบตั้งแต่ กสทช. มีมติ และมีมาตราการเงื่อนไขป้องกัน ผลกระทบนี้ดูจากรายงานของสภาพัฒน์ วันที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมารายงานภาวะสังคมไทยไตมาสที่ 4 / 2566 ภาพรวม 2566 ประเด็นสำคัญ เรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค ผลกระทบที่ผู้บริโภคที่ได้รับประกอบไปด้วย ราคาบริการรายเดือนปรับตัวเพิ่มขึ้น บางโปรโมทชั่นลดนาทีลง และคุณภาพสัญญาณอินเตอร์เน็ต

"ผมมีประเด็น 2 คำถาม ประเด็นคำถามที่สำคัญ คือ การควบรวบธุรกิจกิจการโทรคมนาคมจากมติของ กสทช. นัดพิเศษครั้งที่ 5 ในปี 2565 วันที่ 20 ตุลาคม ชอบด้วยประการของ กสทช. เรื่องมาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำการอันเป็นการผูดขาด หรือ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันกิจการสื่อสารการโทรคมนาคม 2549 หรือไม่ ขัดต่อมาตรการกำกับดูแลรวบธุรกิจการในกิจการ 2561 หรือไม่"

สว. เทวฤทธิ์ เสนอ 7 ข้อเสนอแนะในการบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภค จากภาคประชาชนฝากมา

1.  ดำเนินการตรวจสอบ กำหนดอัตราค่าบริการพื้นฐาน ทั้งการปรับ - ลด พื้นฐาน มาตรการกำหนดลดค่าอินเตอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์เพื่อคุ้มครองประชาชนสูงสุด

2.  เปิดเผยรายงานประกอบธุรกิจของผู้ร่วมควบรวบธุรกิจกิจการโทรคมนาคมที่จัดส่ง กสทช. ทุก 6 เดือนเป็นเวลา 5 ปี ทางช่องทางสื่อออนไลน์ให้ประชาชนเข้าถึง

3.  สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคอย่างเป็นระบบ (การเปลี่ยนแพ็คเกจ)

4.  เร่งรัดการดำเนินการเปิดเผยรายการส่งเสริมการขายในราคาต่ำเป็นพิเศษสำหรับผู้มีรายได้น้อย - ด้อยโอกาสทางสังคม

5.  ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ มาตรการไม่ควรต่ำก่อนหน้าการควบรวบธุรกิจกิจการโทรคมนาคม

6.  พิจารณาเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ผู้ประกอบการรายใหม่

7.  ส่งเสริมยกระดับการแข่งขันของบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติเพื่อให้เป็นทางเลือกกับผู้บริโภคอย่างแท้จริง

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net