Skip to main content
sharethis

112WATCH สัมภาษณ์ Joshua Kurlantzick นักวิชาการอาวุโสด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกี่ยวกับหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่สำรวจอิทธิพลของจีนที่มีต่อสื่อ การเมือง และสังคมในประเทศไทย

14 เม.ย. 2566 เมื่อ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา โครงการ 112WATCH เผยแพร่บทสัมภาษณ์แปลคอลัมน์ The Big Interview โดยเป็นบทสัมภาษณ์ โจชัว เคอร์ลันท์ซิค (Joshua Kurlantzick) นักวิชาการอาวุโสด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสมาชิกอาวุโสของสภาความสัมพันธ์ต่างประเทศ (Council of Foreign Relations) ที่วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ รวมทั้งยังเป็นเป็นนักเขียน โดยหนังสือเล่มใหม่ของเขา "Beijing's Global Media Offensive" ที่พูดถึงอิทธิพลของจีนต่อสื่อไทย การเมืองไทยและสังคมไทย โดยย้ำถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ไทยได้นำเข้าแม่แบบการใช้อินเตอร์เน็ตของจีน และนำมาซึ่งผลกระทบต่อการแสดงความเห็นในโลกไซเบอร์ชองไทย

โดยมีรายละเอียดดังนี้

112WATCH: จีนมีบทบาทมากขึ้นในอิทธิพลของสื่อ การเมือง และสังคมในประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มันเป็นไปแล้วได้อย่างไร?

Kurlantzick: ทางปักกิ่งได้ขยายพื้นที่สื่อของรัฐที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมากขึ้น รวมไปถึง China Global Television Network, China Radio International และ Xinhua ซึ่งเป็นสายข่าว ดังที่ผมได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือของผม และในเรื่องการนโยบายต่างประเทศ Xinhua ค่อนข้างประสบความสำเร็จในการลงนามในข้อตกลงแบ่งปันเนื้อหากับสำนักข่าวไทยหลายแห่ง จริงที่ว่า Xinhua ได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งปันเนื้อหากับเครือมติชน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรข่าวที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในประเทศ เช่นเดียวกับสำนักข่าวอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อ Xinhua ลงนามในข้อตกลงเหล่านี้ เนื้อหาข่าวของ Xinhua ถูกนำมาใช้มากขึ้นในสื่อไทย แต่อย่างที่เห็น Xinhua ไม่ได้เป็นสื่ออิสระอย่างแท้จริงเหมือน Associated Press, Kyodo หรือ Reuters เป็นต้น แต่ก็ยังคงเป็นองค์กร หรือหน่วยงานที่ถูกควบคุมโดยปักกิ่ง ดังนั้นหลายๆคนมองว่าในระยะยาวจะมีการใช้งานเนื้อหาข่าวจาก Xinhua ที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทย และจะทำให้สำนักข่าวไทยผลิตข่าวที่ครอบคลุมจีนและภายในประเทศ รวมทั้งนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศมากขึ้นในทิศทางเอนเอียงตามต้องการมากขึ้น

นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าปักกิ่งมีความสนใจที่จะปิดปากสำนักพิมพ์อิสระที่มีคุณภาพบางแห่งในประเทศไทย ในขณะที่ Silkworm Books ของผมยังคงเป็นอิสระ (และจะถูกตีพิมพ์ฉบับแปลเป็นภาษาไทย) สำนักพิมพ์ Sam Yan Books เป็นหนึ่งในสำนักพิมพ์อิสระชั้นนำอื่นๆ เช่นกันที่กำลังเผชิญกับการถูกเข้าซื้อ และครอบครองอย่างแข็งขันโดยนักธุรกิจคนสำคัญของปักกิ่ง ซึ่งดูเหมือนจะต้องการซื้อสำนักพิมพ์และ ปิดมันลง ดังที่ตัวแทนของ Sam Yan Books เคยบอกกับ Radio Free Asia ว่า "สำนักพิมพ์เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทยได้รับการติดต่อจากนักธุรกิจชาวจีนที่ต้องการจ่ายเงินเพื่อปิดตัวลงเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ของเขากับปักกิ่งหลังจากการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน บริษัทนักสืบเอกชน ติดต่อ Sam Yan Press ในเดือนพฤษภาคมโดยได้รับข้อเสนอ 2 ล้านบาทจากนักธุรกิจชาวจีนที่ต้องการซื้อบริษัทเพื่อปิดตัวลง”

นอกจากนี้ เจ้าของใหม่ที่เป็นผู้ฝักใฝ่อย่างเข้มข้นในปักกิ่งได้ครอบครองสื่อภาษาจีนภายในท้องถิ่นทั้งหมดในประเทศไทย หมายความว่า ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆในภาษาจีนแทบไม่ได้เป็นอิสระจากเนื้อหาข่าวจากปักกิ่งเลย หากพวกเขาพยายามรับข้อมูลผ่าน WeChat หรือแพลตฟอร์มออนไลน์โซเชียลมีเดียต่างๆ ของจีน อันที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย พวกเขาจะถูกเซ็นเซอร์ข้อมูลและกลั่นกรองข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวในประเทศจีนอย่างหนัก ซึ่งไม่ใช่การรายงานข่าวที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงเลย

ท้ายสุดแล้ว ทางปักกิ่งใช้อำนาจที่กว้างขวาง และที่ได้เติบโตในแวดวงธุรกิจในประเทศไทย ที่แม้ไม่นานมานี้ประเทศจีนจะมีปัญหาภายในเองก็ตาม  ทางการไทยจะหันกลับมาตามทิศทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯอย่างเล็กน้อย แต่การที่สหรัฐฯขาดการมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในเอเชีย ซึ่งแปลว่าจีนจะยังคงเป็นผู้มีบทบาทหลักในด้านการค้ากับเอกชนในไทย และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อบริษัทไทยหลายแห่ง  เป็นสถานการณ์ที่ซึ่งส่งเสริมการเซ็นเซอร์ในตัวเองอย่างเข้มข้นขึ้นอีกเกี่ยวกับทางการปักกิ่งในหมู่ผู้นำธุรกิจต่างๆของไทย และแม้แต่ผู้นำต่างๆ ในสังคมด้วย

อิทธิพลของจีนที่เพิ่มมากขึ้นในไทยมีผลอย่างไรต่อการรายงานข่าวของสื่อที่อยู่ภายใต้การครอบคลุมของจีน และต่อสถานะโดยรวมของเสรีภาพของสื่อและข้อมูลข่าวสาร?

ประการหนึ่ง ในขณะที่ประเทศไทยเอง  เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้นำมุมมองในโครงสร้างต่างๆของอินเทอร์เน็ตในจีน ซึ่งมันได้ลดทอนในบางมุมมองของโครงสร้างอินเทอร์เน็ตในไทยที่ทำให้เสรีภาพออนไลน์ลดลง แม้ประเทศไทยยังไม่ใช่จีน ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐที่มีการกดขี่มากที่สุดในแง่ของเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตในโลก แต่อิทธิพลของจีนได้กระตุ้นให้ประเทศไทยมีท่าทีต่อการควบคุมอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่แล้วของไทย นอกจากนี้อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีนในประเทศไทยยังนำไปสู่การเซ็นเซอร์ในตัวเองในการพูดคุยเชิงวิชาการเกี่ยวกับทางการปักกิ่ง และเรื่องราวในประเทศและต่างประเทศภายในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย (แม้ว่าจะเป็นการพูดคุยเชิงวิชาการในออนไลน์ก็ตาม และอีกที่ที่เห็นได้จากกลุ่มพันธมิตรชานมไข่มุก (Milk Tea Alliance) และการพูดคุยบนออนไลน์ในหมู่คนไทยด้วย) ถึงกระนั้นในหลายมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะที่ที่มีสถาบันขงจื๊อ และแหล่งสนับสนุนอื่นๆจากจีนจะมีกลิ่นอายความเซ็นเซอร์ในตัวเองจะปรากฏชัด นี่ยังไม่พูดถึงว่าราชวงศ์มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับทางการชั้นสูงของจีน ที่ซึ่งยิ่งเพิ่มความละเอียดอ่อนในการพูดคุยถึงบางองค์ประกอบของความสัมพันธ์ไทย-จีน นอกจากนี้การใช้เนื้อหาของ Xinhua ที่เพิ่มขึ้นจะบ่อนทำลายเสรีภาพสื่อในประเทศไทย โดยที่ทางรัฐบาลเองได้ใช้เวลาหลายปีในการทำลายสื่ออิสระด้วยวิธีต่างๆ และมีรายงานหลายฉบับโดยสำนักข่าวต่างประเทศ และสำนักข่าวอิสระของไทยได้สร้างความชัดเจนแล้วว่า มีนักข่าวไทยบางคนเอง มีส่วนร่วมในการทำเซ็นเซอร์อย่างจริงจัง เมื่อต้องรายงานข่าวเกี่ยวกับจีน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจีน

หนังสือเล่มใหม่ของ Kurlantzick ตามรายละเอียดที่นี่ https:// www.cfr.org/book/beijing-global-media-offensive กำลังแปลเป็นไทยโดย Silkworm Books

ในทางทฤษฎีแล้วประเทศไทยพอจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อลบล้างอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีนที่มีต่อภาคส่วนต่างๆ ของสังคมไทย

จากผู้นำไทยส่วนใหญ่แล้ว ในรัฐบาลชุดปัจจุบันดูเหมือนจะโอเคมากที่สุดกับการที่จีนมีอิทธิพลมากขึ้นต่อสื่อ สังคมต่างๆ ในไทย และมหาวิทยาลัยของไทย และแน่นอนว่ายินดีที่จะรับคำแนะนำจากจีนในการควบคุมและกลั่นกรองอินเทอร์เน็ต แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่กว้างขวาง และความสามารถเทียบเท่ากับปักกิ่งในเรื่องการเซ็นเซอร์และการกลั่นกรอง แต่นั้นก็เพียงเพราะจีนดำเนินการเรื่องนี้มายาวนานกว่านั้นมาก และพวกเขาได้พัฒนาโปรโตคอลกลไกการเซ็นเซอร์และการกลั่นกรองที่มีกำลังมากขึ้น (อีกทั้งที่บรรดานายทหารชั้นสูงที่จะค่อนข้างระแวดระวังมากขึ้นในความที่ประชาธิปไตยในพื้นที่นั้นกล้าแสดงออกมากขึ้นต่อจีน ซึ่งน่าจะเพิ่มขึ้นหลังจากปักกิ่งควบคุมปัญหาโควิดต่างๆ อาทิ การกักตัวที่บ้าน เป็นต้น และหันกลับไปหาสหรัฐฯ เล็กน้อยในทางยุทธศาสตร์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าบรรดานายทหารชั้นสูงจะไม่ชอบการควบคุมสังคมในหลายรูปแบบของปักกิ่ง)

ผมไม่คิดว่าประเทศไทยจะพัฒนาอินเทอร์เน็ตแบบปิดสนิทได้เหมือนจีน ที่อินเทอร์เน็ตของไทยถูกตัดขาดจากส่วนอื่นๆ ของโลก แต่ผู้นำคนปัจจุบันคงพอใจมากพอที่จะสร้างอินเทอร์เน็ตที่คล้ายกับของจีนในหลายๆ ด้าน ในด้านการสอดส่องก็ดี และเซ็นเซอร์อย่างหนักก็ดีโดยเรียนรู้จากการปรับตัวของจีนในการเซ็นเซอร์และการเฝ้าระวัง ถ้าหากพรรคฝ่ายค้าน (หรือหลายๆ พรรค) ชนะการเลือกตั้ง บางทีสิ่งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ และจะมีการเข้มข้นมากขึ้นในการปกป้องอิสรภาพของสังคมไทย สื่อต่างๆ และมหาวิทยาลัย และลดน้อยลงในการควบคุมอินเทอร์เน็ต และการลงโทษผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เรามาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการเลือกตั้ง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net