Skip to main content
sharethis

'วราวุธ' แจงถอนข้อสงวนข้อที่ 22 อนุสัญญาสิทธิเด็ก ไม่เกี่ยวกับการให้สัญชาติไทยลูกหลานแรงงานข้ามชาติหรือผู้ลี้ภัย หลังมีผู้ใช้สื่อออนไลน์แสดงความเห็น-อัดคลิปต่อต้านมติ ครม.ถอนข้อสงวนดังกล่าว

 

10 ก.ย. 2567 เว็บไซต์ Bright TV รายงานวันนี้ (10 ก.ย.) จากกรณีที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียมีการอัดคลิปวิดีโอหรือแสดงความเห็นต่อต้านหลังกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ประกาศว่า เมื่อ 30 ส.ค. 2567 ไทยได้ยื่นตราสารถอนข้อสงวนข้อ 22 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ‘ว่าด้วยเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง’ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 9 ก.ค. 2567

ผู้ใช้สื่อออนไลน์บางรายทำคลิปตีความว่า การถอนข้อสงวนข้อที่ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จะทำให้เด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติหรือผู้ลี้ภัยได้รับสัญชาติไทย ได้เรียนฟรี 12 ปีทันที หรือมีการแสดงความคิดเห็นทำนองว่า ทำไมต้องให้ภาษีคนไทยไปให้ลูกหลานแรงงานข้ามชาติเรียนฟรี ทำไมต้องแบกรับเพื่อนบ้าน หรือทำไมไม่นำสวัสดิการมาให้เด็กไทยให้ทั่วถึงก่อน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเมื่อ 8 ก.ย. 2567 ชี้แจงถึงกรณีที่มีบุคคลทำคลิปเสนอในสื่อโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับรายละเอียดของมาตรา 22 ของสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) และอาจสร้างความสับสนหรือเข้าใจผิดต่อการถอนข้อสงวนดังกล่าว

วราวุธ กล่าวว่า การเผยแพร่คลิปวิดีโอสั้นของผู้ใช้สื่อออนไลน์มีข้อมูลไม่ถูกต้อง และระบุว่าการถอนข้อสงวนข้อที่ 22 ของอนุสัญญาฯ ไม่ได้ระบุถึงการให้สัญชาติเด็ก เพียงแค่ปกป้องสิทธิให้เด็กมีสิทธิเข้ารับการศึกษา ได้รับการดูแลทั้งทางสุขภาพกายและใจ และสามารถให้เขาเติบโตได้ตามสิทธิที่เด็กคนหนึ่งพึงมี

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net