โพลล์เผยนักเศรษฐศาสตร์ 64.4% หนุนรัฐฯ ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 250 บาทต่อวัน

กรุงเทพโพลล์สำรวจความเห็น “ประเด็นเศรษฐกิจเดือนกันยายน 53” เผยนักเศรษฐศาสตร์ 67.1% เชื่อค่าเงินบาทไม่หลุดต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเสนอผู้ว่าฯ ธปท.คนใหม่ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทและราคาสินค้า 

 
วานนี้ (13 ก.ย.53) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-10 ก.ย. ที่ผ่านมา พบว่า 
 
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 67.1 เชื่อว่าค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่สูงกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐโดยเฉลี่ย และให้เหตุผลของการแข็งค่าดังกล่าวว่าเป็นผลมาจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น/ตลาดตราสารหนี้ (ร้อยละ 31.3) การส่งออกที่ขยายตัวสูง/การเกินดุลการค้า (ร้อยละ 20.3) ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น/ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยและกลุ่มประเทศชั้นนำ (ร้อยละ 15.8) 
 
ประเด็นเกี่ยวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 58.9 เชื่อว่านักลงทุนจะได้เห็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุดภายในปีนี้ ซึ่งระดับดัชนีดังกล่าว นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 43.8 เชื่อว่าเป็นระดับที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ขณะที่ร้อยละ 41.1 เชื่อว่าเป็นระดับที่สูงกว่าปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
 
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 250 บาทต่อวันของนายกรัฐมนตรีนั้น นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 64.4 สนับสนุนแนวคิดของนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่า ระดับราคาสินค้าในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนมีค่าครองชีพเพิ่มขึ้นซึ่งจะกระทบกับประชาชนผู้ใช้แรงงาน นอกจากนี้การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 
 
ด้านข้อเสนอนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยที่ต้องการให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่เข้ามาดูแลมากที่สุดคือ ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทและเสถียรภาพของราคาสินค้า(ร้อยละ 58.6) ดูแลธนาคารพาณิชย์ให้เกื้อกูลต่อเศรษฐกิจและคนในประเทศ (ร้อยละ 22.7) และดูแลการเข้าถึงโอกาสทางการเงิน (โดยเฉพาะคนระดับรากหญ้าและ SMEs) (ร้อยละ 9.4) 
 
(ดังรายละเอียดต่อไปนี้)
 
1. ความเห็นประเด็น “การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยในช่วงที่เหลือของปี normal">”
 
ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่สูงกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐโดยเฉลี่ย
ร้อยละ   67.1
ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐโดยเฉลี่ย
ร้อยละ   27.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
ร้อยละ normal">   5.5
 
2. ความเห็นประเด็น “ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าในปัจจุบัน normal">”
 
อันดับ   1
เงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น/ตลาดตราสารหนี้
ร้อยละ   31.3
อันดับ    2
การส่งออกที่ขยายตัวสูง/การเกินดุลการค้า
ร้อยละ   20.3
อันดับ    3
ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น/ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยและกลุ่มประเทศชั้นนำ (สหรัฐฯ, ยูโรโซน, ญี่ปุ่น)
ร้อยละ   15.8
อันดับ    4
เศรษฐกิจประเทศ font-weight:normal">G-3 ที่ยังแย่อยู่ (G-3 ได้แก่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี)
ร้อยละ   14.2
อันดับ    5
พื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง/เศรษฐกิจไทยเติบโตสูง
ร้อยละ   11.4
อันดับ    6
การเมืองที่มีเสถีรภาพมากขึ้น
ร้อยละ   3.4
อันดับ    7
การโจมตีค่าเงินบาท
ร้อยละ   1.8
อันดับ    8
อื่นๆ คือ นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของประเทศ G-3
ร้อยละ   0.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
ร้อยละ   1.4
 
3. ความเห็นประเด็น SET index ว่า “ภายในปีนี้นักลงทุนจะได้เห็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุดหรือไม่”
 
นักลงทุนจะได้เห็น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุด
ร้อยละ   58.9
นักลงทุนจะไม่ได้เห็น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุด
ร้อยละ   27.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
ร้อยละ   13.7
 
4. ความเห็นประเด็น SET index ว่า “ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุด เป็นระดับที่สะท้อนเศรษฐกิจไทยอย่างไร
 
ดัชนีฯ อยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ   41.1
ดัชนีฯ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ   4.1
ดัชนีฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ   43.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
ร้อยละ   11.0
 
5. ความเห็นเกี่ยวกับ แนวคิดการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 250 บาทต่อวันของนายกรัฐมนตรี
 
เห็นด้วย
ร้อยละ   64.4
font-weight:normal"> เพราะ 1. ราคาสินค้าในปัจจุบันเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนมีค่าครองชีพเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบ การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
 
font-weight:normal"> 2. ค่าแรงขั้นต่ำเดิมอยู่ในระดับต่ำเกินไป(ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น) อีกทั้งที่ผ่านมาค่าแรงขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ภาครัฐควรจะต้องมีมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
 
font-weight:normal"> 3. การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำถือเป็นการกระตุ้นการบริโภคอีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาอุปสงค์ภายในประเทศ ลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ อันจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีความสมดุลมากขึ้น
 
ไม่เห็นด้วย
ร้อยละ   27.4
font-weight:normal">เพราะ 1. การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา ดังนั้นจึงควรแก้ด้วยการควบคุมภาวะเงินเฟ้อมากกว่า นอกจากนี้ยังส่งผลให้แรงงานไร้ทักษะว่างงานมากขึ้น
 
font-weight:normal"> 2. จะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยที่ผลิตภาพการผลิตไม่ได้เพิ่มขึ้นตามส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย และจะกระทบต่อเนื่องมายังการลงทุน
 
font-weight:normal"> 3. ไม่ควรเพิ่มค่าแรงเท่ากับทุกพื้นที่เพราะอัตราเงินเฟ้อแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน อีกทั้งทักษะความรู้ของแรงงานแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน
 
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
ร้อยละ   8.2
 
6. ข้อเสนอนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจของไทยที่ต้องการให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ (คุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เข้ามาดูแลมากที่สุด (ในขอบข่ายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย)
 
1. ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทและเสถียรภาพของราคาสินค้า normal">โดยการ
·         การควบคุมเงินทุนไหลเข้าโดยเฉพาะเงินไหลเข้าเพื่อการเก็งกำไร font-weight:normal">(Hot money)
·         เสนอให้ตั้งกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ ( font-weight:normal">Sovereign Wealth Fund)
·         เสนอให้ดูแลอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสมต่อการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท และเสถียรภาพราคาสินค้า
ร้อยละ 58.6
2. ดูแลธนาคารพาณิชย์ให้เกื้อกูลต่อเศรษฐกิจและคนในประเทศ โดยการ
·         ดูแลส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากให้เหมาะสม
·         ดูแลอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนบุคคลไม่ควรสูงเกินควรเช่นปัจจุบัน (ควรเสนอทางเลือกให้กับคนที่มีระเบียบวินัยในการชำระเงินกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า)
·         ดูแลค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ให้เป็นธรรม
·         แก้ปัญหา NPL ในระบบสถาบันการเงิน
ร้อยละ   22.7
3. ดูแลการเข้าถึงโอกาสทางการเงิน (โดยเฉพาะคนระดับรากหญ้าและ SMEs) โดยการ
·         การเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับคนรากหญ้าและSMEs
·         จัดตั้งธนาคารชุมชนหรือแหล่งเงินทุนในชุมชน เพื่อลดการผูกขาดของระบบธนาคาร
·         อัตราดอกเบี้ยสำหรับคนกลุ่มนี้ควรอยู่ในระดับต่ำ
ร้อยละ   9.4
font-weight:normal">4. อื่นๆ เช่น การนำทุนสำรองไปใช้ประโยชน์ การยอมให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง กระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนและภาคเอกชน ดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกันระหว่างนโยบายการเงินกับนโยบายการคลัง เป็นต้น
ร้อยละ   9.3
 
 
หมายเหตุ: มีนักเศรษฐศาสตร์ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ทั้งหมด 53 คน
 
** รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด**
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท