เกิดเหตุระเบิด-เพลิงไหม้ในนิคมมาบตาพุด (อัพเดท)

 เกิดเหตุระเบิด-เพลิงไหม้ในนิคมฯมาบตาพุด จนท.เร่งอพยพคนงาน พร้อมระดมรถน้ำเข้าดับเพลิง ด้านมูลนิธิบูรณะนิเวศน์ ตั้งคำถามสารพิษอะไรบ้างจากเหตุระเบิดโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ BST ที่มาบตาพุด

เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานว่า  เมื่อเวลาประมาณ 15.45 น. เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ โรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ทั้งนี้ภายหลังเกิดระเบิดเสียงดัง  และได้มีควันดำพวยพุ่งขึ้นมา โดยควันไฟฟุ้งกระจายปกคลุมไปรอบบริเวณ  นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุมีลมแรงทำให้มีกลิ่นก๊าซแอมโมเนียและกลิ่นสารเคมีกระจายออกมา เจ้าหน้าที่จึงเร่งอพยพคนงานและกันผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ให้เข้าไปภายในนิคมฯ  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้นคาดว่า เหตุระเบิดและเพลิงไหม้เกิดจากถังเคมีขนาดใหญ่จำนวนหลายถังของโรงงานบีเอสที ได้เกิดระเบิดขึ้น คาดว่ามีผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ได้ระดมรถดับเพลิงภายในนิคมอุตสาหกรรมหลาย 10 คัน พร้อมรถกู้ภัยภายในรนิคมเข้าไปดับเพลิง และอพยพคนงานทั้งหมดออกจากนิคมฯ  ทำให้การจราจรติดขัดเป็นทางยาว เจ้าหน้าที่ต้องปิดการจราจรไม่ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปภายใน เพื่อเปิดทางให้รถน้ำเข้าไปดับเพลิง อีกทั้ง ยังคุมเพลิงไม่ได้ บาดเจ็บแล้ว 15 ราย  

ล่าสุด 16.29 ผู้ว่าระยอง สั่งอพยพคนงาน ออกจากพื้นที่แล้ว หลังกลิ่นสารเคมีกระจาย และลมพัดแรง จนไปถึงตลาดสดมาบตาพุด พร้อมประกาศใช้แผนฉุกเฉิน ระดับโรงงาน อพยะคนงานทั้งหมดออกจากมาบตาพุด ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่

16.30 พนง.ใกล้รง.สารเคมีระเบิด มาบตาพุบ บอกสารเคมีรั่วไหลมากมีควันดำบ.ข้างเคียงเสียหายมาก

16.34 นายวุฒิพงษ์ พนง.ในนิคมมาบตาพุด เล่าถึงวินาทีเกิดเหตุว่า ขณะที่ รง.ซินธิติกส์ระเบิด พนง.เร่งอพยพ ได้ยินเสียงระเบิด 5-6 ครั้ง 

16.45 น.มีรายงานยอดผู้บาดเจ็บโรงงาน บีเอสที มาบตาพุด ระเบิด พุ่งกว่า 80 ราย แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต”

มูลนิธิบูรณะนิเวศน์ ตั้งคำถามสารพิษอะไรบ้างจากเหตุระเบิดโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ BST ที่มาบตาพุด

19.00 น. มูลนิธิบูรณะนิเวศน์ เปิดเผยว่าจากเหตุโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ ของบ. กรุงเทพซินธิติกส์ ระเบิดที่มาบตาพุด ตั้งแต่ช่วงเวลา 15.30 น. ที่ผ่านมาและเพิ่งจะควบคุมเพลิงได้ประมาณเวลา 18.00 น. ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 47 ราย สาหัส 6 ราย โดย 2 ราย (ตามรายงาน รมช.สาธารณสุข) และมีคำสั่งอพยพ 18 ชุมชนรอบและทิศใต้ลมของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

3 ชั่วโมงผ่านไป จนถึงขณะนี้ (18.30 น.) แม้ผู้ว่าฯจะประกาศควบคุมเพลิงได้แล้วและประกาศให้รอบนิคมเป็นเขตภัยพิบัติ แต่ยังไม่มีการให้ข้อมูลแก่สาธารณะอย่างชัดเจนว่าสารพิษที่รั่วไหลและฟุ้งกระจายไปกับกลุ่มควันและการระเบิดครั้งนี้เป็นสารอะไรบ้าง (บ้างก็ว่าเป็นสารก่อมะเร็ง บ้างก็ว่าเป็นสารทพให้ระคายเคืองผิว) เหตุการณ์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นอีกครั้งว่าทั้งภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ยังบกพร่องในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเรื่องสารพิษจากโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานที่มีการผลิตและการใช้หรือปลดปล่อยสารพิษจำนวนมากเช่นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงได้ตลอดเวลาและโดยง่าย เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเหตุโรงงานระเบิดครั้งนี้ได้

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสารพิษซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและอันตรายระยะยาว ที่อาจมีการใช้หรือเกิดในกระบวนการผลิตของโรงงานบริษัทกรุงเทพซินธิติกส์ที่มาบตาพุดได้แก่ เช่น BTEX (Benzene เบนซีน, Toluene โทลูอีน, ethylbenzene เอธิลเบนซีน, Xylene ไซลีน), Hexane เฮกเซน รวมถึงอาจมีการใช้ 1,2-Dichloroethane และ 1,3-Butadiene ซึ่งเป็นสารที่อันตรายทั้งเฉียบพลันและระยะยาวในกระบวรการผลิตด้วย ส่วนการเผาไหม้ของยางรถยนตร์สามารถทำให้เกิด PAHs (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) ซึ่งสารในกลุ่มนี้หลายตัวจัดเป็นสารก่อมะเร็งด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย ความเป็นพิษ และความปลอดภัย ของสารเคมีที่กล่าวถึง

Benzene ดูได้จาก http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00289&CAS=&Name=

1,2 Dichloroethane ดูได้จาก http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00709&CAS=&Name=1,2-Dichloroethane

1,3-Butadiene http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=28

Toluene ดูจาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=48

http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=02040

Hexane ดูจาก http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=01030

Xylene ดูจาก http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=02141

เกี่ยวกับโรงงานทีีเกิดเหตุ

บจก.กรุงเทพ ซินธิติกส์ หรือ Bangkok Synthetics Co., Ltd. (http://www.bst.co.th/)

ผลิต Mix C4 รายแรกของไทยและส่งออกรายใหญ่ที่สุดใจภูมิภาค และโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ S-SBR (Solution Polymerization Styrene-Butadiene Rubber) แห่งแรกในประเทศไทย ร่วมทุนกับ JSR ของญี่ปุ่น (ทำสัญญาเมื่อ มีนาคม 2554) และอยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างโรงงานผลิต NB Latex ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตถุงมือทางการแพทย์ (ที่มา http://www.newswit.com/prop/2011-03-07/4d70660d9e328f7284e30c6395b9eef4/)

ทะเบียนโรงงาน น.42 (1)-15/2537-ญนพ. ระบุว่าผลิต Mixed C4 (MTBE,BUTANE-1,BUTADIEN) เป็นโรงงานประเภท 4201 (การทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี) (ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าโรงที่ผลิตยางรถยนตร์และ Latex สังเคราะห์ จดทะเบียนเดียวกันหรือจดทะเบียนแยก)

ผังกระบวนการผลิตแผนกผลิตยางสังเคราะห์ที่คาดว่าเป็นต้นตอปัญหา

http://www.bst.co.th/product.aspx?cate=2

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท