จงบดขยี้วาทกรรมทุนนิยมสามานย์ “ยุบสภาคืนอำนาจประชาชน” ยืนหยัดสู่การลุกขึ้นสู้ปฏิวัติ”
“สถาปนาอำนาจอธิปไตยประชาชน” หรือ “ประชาภิวัฒน์” อันมีเป้าหมายใหญ่ปฏิรูปประเทศไทย !
….การเมืองภาคประชาชนจงเปล่งพลัง.....
....ประชาชนจักต้องกำหนดอนาคตตนเอง....
(วันมหาประชาปิติ 9 ธันวาคม 2556)
ฉากทัศน์แห่งสถานการณ์ลุกขึ้นสู้ของมวลมหาประชาชน ( mass political uprising scenario) ได้ยกระดับ
ขึ้นสู่การยึดกุมอำนาจรัฐ แล้ว ด้วยคำแถลงการณ์ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ ประสานงานเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย สู่ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (หรือ กปปส.) โดยมีจุดยืนแจ่มชัด“ประชาภิวัฒน์”หรือ การปฏิวัติโดยภาคประชาชนอย่างถึงที่สุดและยึดกุมเป้าหมาย“ปฏิรูปประเทศไทย “พิทักษ์ดอกผลของการลุกขึ้นสู้ด้วยกลไกอำนาจรัฐใหม่ในนาม “สภาประชาชนปฏิวัติ” (คำแถลงการณ์ของ กปปส. ณ 9 ธันวาคม 2556 เวลา 18.00 น.
ก่อนหน้านั้น ฝ่ายอำนาจรัฐ (เดิม)ตอบโต้ผู้ชุมนุมด้วยการประกาศเขต หวงห้าม และการขอคืนพื้นที่ (กระชับพื้นที่) ตาม พรบ.ความมั่นคงภายใน รวมทั้ง การประกาศล่าสุดของนายก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร “ยุบสภา คืนอำนาจประชาชน” หวังสยบกระแสการลุกขึ้นสู้ ซึ่งขยายตัวอย่างถล่มทลาย ของมวลมหาประชาชนกว่า5 ล้านคนทั่วประเทศ (คำแถลงการณ์ นายกยิ่งลักษณ์ ณ 9 ธันวาคม 2556 เวลา 8. 45 น.)
เมื่อทบทวนระลอกแห่งการลุกขึ้นสู้ (political uprising) นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นมา (การจัดงาน
รำลึก 40 ปี สืบสานเจตนารมณ์ 14 ตุลา) ยุทธวิธีอารยขัดขืน(civil disobedience ) ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องดุจระลอกคลื่นอันกระเพื่อมอย่างเข้มข้น การเคลื่อนย้ายมวลชนในลักษณ “ดาวกระจาย” ณ ราชดำเนิน และไปยังสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในส่วนกลาง (กระทรวง / ทบวงกรม/ ทำเนียบรัฐบาล) และในต่างจังหวัด (ศาลากลางจังหวัด )
โดยเฉพาะในภาคใต้ เกิดบรรยากาศของการจัดขบวน มวลชน ออกเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ หนึ่ง มวลชนระลอกแรกหรือ ทัพหน้า (Vanguard mass action) ผู้ซึ่งเข้าร่วมชุมนุมอย่างสม่ำเสมอ ติดตามข่าวสารข้อมูลทั้งด้านกว้างและด้านลึก เกิดความตื่นรู้ เข้าใจเป้าหมายยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี รวมทั้งจังหวะก้าวของฝ่ายแกนนำ สอง มวลชนสมทบหรือ ทัพหลัง (active support mass) ซึ่งเข้าร่วมการชุมนุมตามเงื่อนไขที่เป็นจริง หรือ เข้าร่วมต่อสู้ในประเด็นที่“โดนใจ” เช่นประเด็น นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง (สุดซอย) ประเด็นไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็น การใช้แก๊สน้ำตายิงกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างไม่ยั้ง ประเด็นความตาย 5 ศพ ณ ถนนหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงฯลฯ และ สาม มวลชนสำรอง (Potential mass)หรือพลังท้องถิ่นซึ่งจะมีการบุกเข้ายึดศาลากลางจังหวัดหรือการเปิดเวทีปราศรัย ประจำวันเพื่อดึงพลังเงียบ(Silence majority)เข้าสู่กระแสธารการเคลื่อนไหวตามความแปรเปลี่ยนของสถานการณ์ และคำชี้นำของแกนนำ ส่วนกลาง ซึ่งมีการยกระดับปรับเปลี่ยนตลอดเวลาภายหลังจากที่เกิดการเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน จนเกิดความตึงเครียด ส่อเค้าความรุนแรง
ฝ่ายอำนาจรัฐ (นายกยิ่งลักษณ์) กับตัวแทนผู้ชุมนุม (สุเทพ เทือกสุบรรณ) ได้พบปะเจรจากัน 2 รอบ โดยมีฝ่ายกองทัพเป็นสะพานเชื่อม ฝ่ายอำนาจรัฐก็ได้ผ่อนคลายมาตรการปกป้องพื้นที่ มาสู่การเปิดพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ให้ผู้ชุมนุมสามารถเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล และสถานที่ราชการอื่น ๆได้ ทำให้สถานการณ์ทางการเมือง เข้าสู่ดุลย์อำนาจใหม่ระหว่างสองฟากฝ่าย
บรรยากาศการเคลื่อนไหวในท้องถิ่น (ต่างจังหวัด นับตั้งแต่ 6-8 ธันวาคม 2556) ต่างมีการเตรียมการเพื่อการเคลื่อนไหวสู่เป้าหมายสูงขึ้น ซึ่งแกนนำได้ประกาศให้ลุกขึ้นสู้ในขอบเขตทั่วประเทศ พร้อมกันในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 การลุกขึ้นสู้ นำสู่การขยายผลสู่มวลชนอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น ชนชั้นกลาง ในเมืองรวมทั้งชนชั้นล่างในชนบทได้ค่อย ๆ ปรับความรับรู้ข้อมูล และปรับสำนึกเข้าหากัน อย่างมีนัยยะ สำคัญยิ่งทำให้รัฐท้องถิ่น (นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด) ต้องระดมสรรพกำลัง ตำรวจ ทหาร เข้ารักษาการณ์ในพื้นที่ ราชการอย่างเข้มงวดเพื่อสะกัดกั้นผู้ชุมนุมมิให้เข้าไปปักหลักยึดสถานที่
เมื่อมีคำแถลงการณ์ของ กปปส. (โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ณ 18.00 น. วันที่ 9 ธันวาคม 2556 มวลมหาประชาชน ทั่วทุกหัวระแหง ต่างกระโดดโลดเต้นด้วยความปิติยินดียิ่ง มีการเฉลิมฉลอง กันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเปิดเสวนาและแถลงข่าวสื่อมวลชน, การเข้าร่วมกันเป่านกหวีด สลับกับการปราศรัยของแกนนำ, การเฉลิมฉลองด้วยการตั้งขบวนแห่ไปตามถนนสายสำคัญๆ รอบๆเมือง การแจกใบปลิวรณรงค์ เป็นต้น
นับเป็นปรากฎการณ์ที่ประวัติศาสตร์ไทย จะต้องจารึกไว้ว่า มวลชนทั่วประเทศกว่า 5 ล้านคนได้ก่อการลุกขึ้นสู้ยกระดับขึ้นสู่ “ การปฏิวัติประชาชน” (ประชาภิวัฒน์) แล้วนับตั้งแต่วันนี้ (9 ตุลาคม 2556)
ต่อจากนี้ไป จึงเป็นทางสองแพร่ง ที่สำคัญและสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งยวด จะเกิดสงครามช่วงชิงมวลชนด้วย
วาทะกรรมต่าง ๆของ 2 ขั้วอำนาจ เพื่อชัยชนะขั้นเด็ดขาด หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สามารถยึดกุม “หลังเงียบ”หรือ“พลังที่สาม”ได้มากที่สุดกว้างขวางที่สุด
หรือหากรัฐฝ่ายอำนาจรัฐ(เดิม) ตัดสินใจสั่งการปราบปรามผู้ชุมนุม (ตามมาตฐานสากลที่พร่ำบอก
อยู่เสมอ) จักเกิดการเผชิญหน้า และเข้าสู่ซุ้มประตูแห่ง “สงครามกลางเมือง” (Civil war) อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
...ฤา โศกนาฎกรรมใหญ่จะเกิดขึ้น
....ฤา ชะตากรรมชาติไทยจะแตกแยกเป็นเสี่ยงๆ
... ขึ้นอยู่กับการยึด มั่น กับกระบวนการสันติวิธี อย่างเหนียวแน่น ของทั้ง 2 ขั้วอำนาจ ที่จักต้องมีการ
เจรจา หาทางออกร่วมกัน โดยสันติวิธี
.... ขึ้นอยู่กับผู้คนในสังคม (นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ฝ่ายธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน
องค์กรประชาชน (ทุกประเด็น และทุกสาขาอาชีพ) จะลุกขึ้นมามีส่วนร่วมในการคลี่คลายหาทางออก
และกระทำการปกป้องหลักการ สันติวิถี (peaceful way) มากน้อย แค่ไหน เพียงไร
....จงตื่นขึ้นเถิดมวลมหาประชาชน
...อนาคตของประเทศอยู่ในมือของท่านแล้ว
...ประชาชนจักต้องกำหนดนอนาคตของตนเอง
....จงร่วมกันผลักดันอำนาจประชาชนให้ปรากฏเป็นจริงและยั่งยืน
....การปฏิวัติของประชาชน จงเจริญ !!!
ด้วยศรัทธา-คารวะ
ราชสีห์ อีศาน
กระท่อม บรรพชน
10 ธันวาคม 2556
เอกสารประกอบ/อ้างอิง
• ไปให้พ้นการเมืองเหลืองแดงสู่การปฏิวัติของประชาชน
•สถานการณ์ทางเลือกที่สาม : ไปให้พ้นสงครามกลางเมือง โดยราชสีห์ อีศาน ๑ ธันวาคม ๒๕๕๖
•ลักษณะสังคมไทย โดยหน่วยศึกษาค้นคว้า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (25 ธันวาคม 2554)
• คู่มือการเมืองภาคประชาชน 2548 โดยคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
• นโยบายในระยะปัจจุบัน พคท. (7 สิงหาคม 2555)
• สังคมทางเลือก : แนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่พึงปรารถนา โดย สนั่น ชูสกุล บรรณาธิการ
(มกราคม 2553)
หมายเหตุ : ท่านผู้ใดต้องการเอกสาร โปรดติดต่อคุณเล็ก สำนกงาน กป.อพช.อีสาน