Skip to main content
sharethis

เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยและองค์กรเครือข่ายยื่นหนังสือถึงยูเอ็น กรณีกะเหรี่ยงบางกลอยเดินกลับใจแผ่นดิน ระบุ 4 ข้อเรียกร้อง รัฐรับรองสิทธิชุมชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยง-สามารถอยู่อาศัยทำกินที่ใจแผ่นดินได้-ให้ขั้นตอนขึ้นทะเบียนมรดกโลกผ่านการรับฟังความเห็นชุมชน-ยอมรับชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศน์

10 กพ. 64 เวลา 11.00 น. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยและองค์กรเครือข่ายเข้ายื่นหนังสือถึงองค์การสหประชาชาติ กรณีชนพื้นเมืองชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจากชุมชนบางกลอยเดินทางกลับขึ้นไปยังที่อาศัยของบรรพบุรุษที่บ้านใจแผ่นดิน ในผืนป่าแก่งกระจาน โดยมีข้อเรียกร้องสี่ข้อ คือ

1.) รับรองสิทธิของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 และเคารพในหลักการและกลไกของพันธกรณีระหว่างประเทศที่ได้ลงนามหรือได้รับรองไปแล้ว เช่น ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) และอนุสัญญาอื่น ๆ อีกหลายฉบับ

2.) รัฐบาลต้องรับรองว่าสมาชิกชุมชนที่เดินทางกลับไปอยู่ที่บางกลอยบน-ใจแผ่นดิน สามารถอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ตามบรรพบุรุษได้ และต้องไม่มีการบังคับอพยพ ข่มขู่คุกคาม หรือดำเนินคดีโดยเด็ดขาด

3.) ขอให้กระบวนการและขั้นตอนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกให้สอดคล้องกับหลักการสากล และการรับฟังความคิดเห็นก่อนการตัดสินใจร่วมกันกับชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองในเขตพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน

4.) ยอมรับชนเผ่าพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงในฐานะเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศน์และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของพวกเขาในฐานะผู้พิทักษ์และการดูแลรักษาระบบนิเวศน์

นอกจากนี้ยังมีการประกาศยกระดับกิจกรรม โดยจะมีการทำกิจกรรมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 15 กพ. นี้

 

แถลงการณ์ฉบับเต็ม

"ชาวกะเหรี่ยงบางกลอย ก็คือมนุษย์บนโลกใบนี้"

เมื่อถูกข่มเหงรังแก จึงเป็นหน้าที่เราทุกคนที่ต้องบอกให้โลกรับรู้

วันพรุ่งนี้เวลา 11.00 น. เชิญพี่น้องผู้รักความเป็นธรรม ร่วมกัน #Saveบางกลอย ที่หน้าตึก UN กทม. และเชิญร่วมลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ โดยการพิมพ์ชื่อองค์กร หรือชื่อ - นามสกุลไว้ในคอมเม้นท์ได้เลยครับ

*********************

แถลงการณ์ฉบับแปล

รัฐต้องให้ความคุ้มครองและยอมรับสิทธิชุมชนของชาวกะเหรี่ยงบางกลอย

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 มีข้อมูลจากแหล่งข่าวแห่งหนึ่งรายงานว่า มีชาวบ้านจากบางกลอยล่าง ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวนประมาณ 70 คน ได้เดินทางกลับขึ้นไปที่บางกลอยบน - ใจแผ่นดิน ซึ่งเป็นหมู่บ้านดั้งเดิมของพวกเขา หลังต้องเผชิญกับความยากลำบากจากการขาดที่ดินทำกินกว่า 20 ปี

ชนเผ่าพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงถูกอพยพลงมาครั้งแรกในปี 2539 ด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-พม่า หลังจากที่ลงมาแล้วไม่มีที่ทำกิน ชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงอพยพย้ายกลับขึ้นไปอยู่ที่เดิมอีก และถูกอพยพลงมาอีกครั้งในปี 2554 ซึ่งการอพยพในครั้งนั้นมีการใช้ความรุนแรง และมีการเผาบ้านและยุ้งข้าวชาวบ้านด้วย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่คำนึงถึงวิถีการดำรงชีวิตตามประเพณีของชุมชนกะเหรี่ยงที่ต้องพึ่งพาการทำไร่หมุนเวียนและการประกอบอาชีพอื่น ๆ ตามประเพณีที่ยั่งยืนอยู่ในขณะนั้น

ในช่วงที่มีการอพยพลงมาครั้งที่หนึ่งในปี 2539 นั้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินและสามารถปรับตัวเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่ได้ ขณะที่ชาวบ้านอีกหลายคนที่ไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินเลย

จากการสัมภาษณ์กลุ่มชาวบ้าน 30 ครัวเรือน มีจำนวน 3 ครอบครัวที่ได้รับการจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัยประมาณ 20 ไร่ ขณะที่ 27 ครอบครัวไม่รับการจัดสรรที่ให้เลย ทั้งที่ทำกินและที่อยู่อาศัย กลุ่มผู้เดือดร้อนเหล่านี้ได้พยายามปรับตัวโดยการออกไปทำงานรับจ้างทั้งในและนอกชุมชน ซึ่งรายได้ที่ได้รับก็ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูครอบครัว

ชาวกะเหรี่ยงที่ผิดหวังต่อการจัดการของรัฐ ได้ตัดสินใจเดินทางกลับไปถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอีกครั้ง ก่อนจะถูกอพยพลงมาอีกในปลายปี 2553 จนถึงต้นปี2554 ภายใต้ยุทธการตะนาวศรี ซึ่งมีการเผาบ้านเรือนและยุ้งฉางของชาวบ้านอย่างไร้มนุษยธรรม และในที่สุดก็ถูกอพยพลงมาทั้งหมดในปี 2554

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้แทนชาวบ้านจำนวน 6 คน ได้ฟ้องศาลปกครองเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งศาลตัดสินให้ชาวบ้านชนะคดี เพราะมีหลักฐานจากกรมแผนที่ทหารพิสูจน์ได้ว่าชุมชนได้ตั้งมาแล้วตั้งแต่ปี 2455 และจากบัตรประจำตัวประชาชนของปู่โคอี้ มิมิ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงใจแผ่นดิน เกิดในปี 2454 ซึ่งเกิดก่อนที่มีกฎหมายป่าไม้ฉบับแรกถึง 30 ปี และก่อนมีกฎหมายอุทยานแห่งชาติฉบับแรกถึง 50 ปี

การกระทำของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่ผ่านมา ถือเป็นการละเมิดข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน โดยเฉพาะสิทธิในการได้รับการปรึกษาหารือและการให้การยินยอมก่อนที่จะมีการอพยพ รวมทั้งสิทธิชุมชนด้วย เนื่องจากชาวบ้านหลายคนยังไม่มีบัตรประชาชน ทำให้พวกเขาไม่สามารถร้องเรียนค่าชดเชยใด ๆ ได้เลย

พื้นที่ที่ถูกอพยพลงมาด้านล่างก็ไม่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของชาวกะเหรี่ยง เนื่องจากไม่สามารถทำไร่หมุนเวียนและการดำรงชีพอื่นตามประเพณีเดิมได้ ด้วยเหตุดังกล่าวชาวบ้านหลายคนต้องย้ายถิ่นออกไปข้างนอกเพื่อหางานทำ

การไม่ได้รับการเอาใจใส่จากรัฐและหน่วยงานต่างๆ ทำให้ชาวบ้านหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเดินทางกลับไปที่ใจแผ่นดิน แผ่นดินเกิดเป็นครั้งที่สอง ซึ่งมีเหตุผลประกอบหลายประการ

ประการสำคัญยิ่งในแง่ของวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ สมาชิกในชุมชนต้องการทำพิธีกรรมเพื่อนำเอากระดูกขึ้นไปฝังและส่งวิญญาณของปู่โคอี้ที่ใจแผ่นดิน ตามระบบความเชื่อดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอหรือกะเหรี่ยง ที่ต้องประกอบพิธีและเลี้ยงแขกที่มาร่วมงานโดยใช้ข้าวที่ปลูกโดยลูกหลานของตนเท่านั้น พิธีกรรมถึงจะสมบูรณ์ และดวงวิญญาณของปู่จะได้ไปสู่สุคติ

เนื่องจากสมาชิกในชุมชนจำนวนหลายคนยังไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้มานานกว่า 20 ปี พวกเขาต้องอยู่อย่างยากจน ทำงานเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างรายวัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายคนต้องถูกเลิกจ้างและออกจากงาน ส่วนใหญ่เดินทางกลับมาบ้าน ซึ่งไม่มีอาชีพอะไรรองรับสำหรับพวกเขา พวกเขาจึงตัดสินใจเดินทางกลับไปที่บางกลอยบน-ใจแผ่นดิน เพื่อทำไร่หมุนเวียนและอาชีพอื่นๆ ตามประเพณี คนที่ขึ้นไปข้างบนนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ต้องพึ่งพาตนเองโดยการออกไปรับจ้างรายวัน ซึ่งมีรายได้ประมาณ 20,000 – 30,000 บาทต่อปี เท่านั้น

ชาวกะเหรี่ยงที่ถูกอพยพลงมาในปี 2539 นั้น ช่วงนั้นยังไม่มีบัตรประชาชน บางคนได้รับบัตรหลังจากนั้น ทำให้ไม่สามารถได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย

การกลับไปคือทางรอดและเป็นแนวทางที่ยั่งยืนแนวทางเดียวสำหรับพวกเขา เนื่องจากหน่วยงานรัฐไม่ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้หลังจากที่ถูกอพยพลงมาแล้ว และการฟื้นฟูก็ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง

จากหลักฐานที่มีอยู่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น สามารถดูแล รักษาและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศน์ได้เป็นอย่างดี

ชาวบ้านที่อพยพกลับขึ้นไปชุมชนดั้งเดิมในครั้งนี้ มีความกลัวว่าจะประสบปัญหาเฉกเช่นเดียวกับที่เคยเจอมาจากการกระทำของรัฐ จึงอาศัยอยู่ด้วยความหวาดผวา พวกเราองค์กร/หน่วยงานที่ลงชื่อท้ายแถลงการณ์นี้ ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลไทย รีบหาทางแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยให้ความคุ้มครองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยง ที่ต้องการเดินทางกลับไปอยู่ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของตนเองอย่างเร่งด่วน ดังนี้

1) รับรองสิทธิของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 และเคารพในหลักการและกลไกของพันธกรณีระหว่างประเทศที่ได้ลงนามหรือได้รับรองไปแล้ว เช่น ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) และอนุสัญญาอื่น ๆ อีกหลายฉบับ

2) รัฐบาลต้องรับรองว่าสมาชิกชุมชนที่เดินทางกลับไปอยู่ที่บางกลอยบน-ใจแผ่นดิน สามารถอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ตามบรรพบุรุษได้ และต้องไม่มีการบังคับอพยพ ข่มขู่คุกคาม หรือดำเนินคดีโดยเด็ดขาด

3) ขอให้กระบวนการและขั้นตอนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกให้สอดคล้องกับหลักการสากล และการรับฟังความคิดเห็นก่อนการตัดสินใจร่วมกันกับชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองในเขตพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน

4) ยอมรับชนเผ่าพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงในฐานะเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศน์และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของพวกเขาในฐานะผู้พิทักษ์และการดูแลรักษาระบบนิเวศน์

เคารพจิตวิญญาณบรรพชน ยอมรับวิถีชนเผ่าพื้นเมือง

10 กุมภาพันธ์ 2564

1) เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

2) ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น

3) มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อมส

4) มาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย

5) เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี

6) เครือข่ายนักปกป้องสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ในประเทศไทย

7) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

8) Asia Indigenous Peoples Pact – AIPP

9) มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์

10) Spirit in Education Movement (SEM)

11) Project SEVANA South-East Asia

12) องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน

13) V-Day Thailand

14) มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre Foundation)

15) ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

16) ENLAW THAI FOUNDATION

17) ส.รัตนมณี พลกล้า

18) นพพล ไม้พลวง

19) พนม ทะโน

20) อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล

21) วรวรรณ ศุกระฤกษ์

22) Wora Suk

23) ปภาวรินทร์ สุดแดนไพร

24) ธนกฤต โต้งฟ้า

25) ชเลฝัน ดิษฐ์ผู้ดี

26) พัชราภรณ์ เสถียรชัยภักดิ์

27) น้ำฝน กึกก้องโลกา

28) วาสนา โชคชีวา

29) วิไลวรรณ สุดแดนไพร

30) กนกพร จันทร์พลอย

31) กฤษณกัณฑ์ แพทย์ชายแดน

32) กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

33) ธรธรร การมั่งมี

34) ทิพย์อักษร มันปาติ

35) มีนา นามชื่น

36) มัจฉา พรอินทร์

37) วีรวรรณ วรรณะ

38) มงคล ด้วงเขียว

39) กรกนก วัฒนภูมิ

40) องอาจ เดชา

41) ศิลป์พีรสิษฐุ์ รักการเลี้ยง

42) จิราภา แซ่ว้าน

43) ปาลิตา ใฝ่เวลาดี

44) ไพรินทร์ เสาะสายคะ

45) จินตนา ประลองผล

46) จารุณีย์ รักษ์สองพลู

47) ณัฐกานต์ ชยากรณ์

48) สุดารัตน์ สกุลทรัพย์อนัน

49) สุดารัตน์ ทัดระเบียบ

50) ธีระชัย จ่อวาลู

51) พวงชมพู รามเมือง

52) สร้อยแก้ว คำมาลา

53) อารีย์ อาภรณ์

54) พัชยานี ศรีนวล

55) อัมพิกา อนันต๊ะ

56) ประจักษ์ ศรีคำภา

57) ทวี ม่อนจองตระกุล

58) สิทธิพล บุญชูเชิด

59) อะมีมะ แซ่จู

60) ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ

61) เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

62) ไพรินทร์ เสาะสายคะ

63) ปาลิตา ใฝ่เวลาดี

64) ชานน์ บุญเฉลย

65) ธนดล เสถียรชัยภักดิ์

66) ลาหมึทอ แดนวิมาน

67) สมนึก วนาเขียวขจี

68) สมชาติ อมรใฝ่สีแดง

69) ดาริน สุดไฉไลจำปา

70) ดาริกา ดวงเดช

71) จิตติ ชลธีการกิจ

72) วรินธร อัมพรพันธ์นาค

73) ธนวัฒน์ ตานะรัตน์

74) นงลักษณ์ ธัญโรจน์

75) สรสิทธิ์ เพชรชลธี

76) อายุวัฒน์ ระรื่น

77) ธีรชัย ตระสักพนาดร

78) วิภาวดี เรือนศักดิ์สิทธิ์

79) สุดารัตน์ เฉลาบุษบา

80) โชคชนะ บำรุงพนัส

81) วราวุธ ผาติพรพิชิต

82) วิวัฒน์ วนาดอน

83) ศฤงคาร เผ่าผู้ดีแท้

84) ศิวกร โอ่โดเชา

85) นางสาว น่อเกดา วนาธรรมเจริญ

86) มงคล พนาพงศ์ไพร

87) ด.ช.วรัญชิต พิมพ์วรรธนา

88) พัฒนา วิชิตเขตแดนไกล

89) นางสาว วนิดา วนาสกุลสุข

90) นางสาว คึโหย่ รักษาวารี

91) น้องแอร์ สายรุ้งยามเย็น

92) นางสาว สุดารัตน์ วนามั่นชัย

93) มะเมียะเส่ง สิริวลัย

94) สมฤดี สง่าเดชปรีชากิจ

95) นางสาวธนาวิน กวีนิพันธ์

96) นางสาวอารีย์ ปองผาติพร

97) นางรินทร์ดา มูลแก้ว

98) ภัทรวดี แซ่ลี

99) กนกกาญจน์ โคตรวงค์

100) ชวลิต เกสรียรรยง

101) สมชาย แซ่ย่าง

102) นางสาวเขมิกา เลิศดวงพร

103) นาย ไกรวิชญ์ นาคาม้วนหาง

104) นายธนวัฒน์ พงศ์ไพรภูมิ

105) นิชนันท์ สุขสมหวัง

106) ส.ส.มานพ คีรีภูวดล บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์

107) บุญศรี ฉลักกนก

108) นายธีรภาพ ผาด่าน

109) นายธีรภาพ ผาด่าน

110) นายพัฒนา โกมา

111) นางสาวฑิตยาใฝ่กุศลอภิชน

112) นายสุภชัย สุนามเจริญกุล

113) นายชนพัฒน์ เงินสุเจ

114) ขนิษฐา ผลไพบูลย์

115) นางสาวจารุวรรณ อุทาปา

116) นายเศกสรรค์ สุมนตรี

117) นางสาวมะลิ เปี่ยมวนา

118) นางสาวโสภิดา สารพรหม

119) ชุมพล ศรีมันตะ

120) สมยศ มานะคงคา

121) นางสาวอรทัย ไหมแก้ว

122) นางสาวณัฐกานต์ สมรโสภิตวงค์

123) นายสุข ไหมแก้ว

124) นางสาวมนฤดี พงษ์วารีรักษ์

125) น.ส.พิณนภา พฤกษาพรรณ

126) สายพร อัสนีจันทรา

127) นายเสสาวินยัง มีแก้ว

128) นาย วิทยา พุฒิวีรชน

129) เยาวลักษณ์ ศรีคำภา

130) สัมฤทธิ์ ชิณวงษ์

131) ภัครทรินทร์ จรุงสาคร

132) โอปอ ศรีสุวรรณ์

133) ภูวเนศวร์ เลิศชูทรัพย์

134) นายสุมิตร. วอพะพอ

135) นายชาคริต. วอพะพอ

136) นางพัชราพร วอพะพอ

137) เฉลิมศรี ประเสริฐศรี

138) ศักดิ์นรินทร์ ยุทธกิจ

139) น.ส.นฤมล เกื้อธวัชชัย

140) นาย.ศุภชัย เสมาคีรีกุล

141) นาย.อาทิตย์ วงศ์พฤกษาสกุล

142) นาย.ปราโมทย์ เวียงจอมทอง

143) นาย.อภิชาย อุดมรักพันธ์พง

144) มนตรี จันทวงศ์

155) พิราวรรณ วงศ์นิธิสถาพร

156) นายกฤชพล แก้วสุวรรณ

157) นาย สุเมธ พนาพงศ์ไพร

158) สุวัต ษมาจิตโอบอ้อม

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net