Skip to main content
sharethis

ในการรำลึก 45 ปี 6 ตุลาคม 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงเช้าวันที่ 6 ต.ค. 64 กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความสิทธิมนุษยชน ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ขึ้นกล่าวปาฐกถาว่า กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยไม่มีการดำเนินการเอาผิดผู้ที่สังหารประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 มาลงโทษแต่อย่างใด

เหตุการณ์ 6 ตุลา ผ่านมา 45 ปี ไม่ใช่อุบัติเหตุทางการเมือง แต่เป็นความจงใจของกลุ่มผู้มีอำนาจในขณะนั้น ที่ต้องการกวาดล้าง ฆ่าฟันสังหารหมู่นักศึกษาที่เรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นความจงใจและตั้งใจ

ทนายความผู้นี้กล่าวด้วยว่า เราเรียกร้องให้นำตัวคนผิดมาลงโทษ หลายคนอาจสงสัยว่าเหตุการณ์ผ่านไปแล้วตั้ง 45 ปี เหตุใดต้องเอาคนผิดมาลงโทษ คนผิดบางคนก็เสียชีวิตไปแล้ว มีประโยชน์อันใดที่จะพูดถึงมัน

ทั้งนี้เพราะ 1.นิสิตนักศึกษาประชาชนในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ยังไม่ได้รับการขอโทษใดๆจากรัฐหรือผู้บงการ ยังไม่ได้รับการชดใช้ทั้งเกียรติภูมิและเรื่องอื่นๆ 2.การสังหารหมู่ดังกล่าว ถูกตัดสินด้วยสายตาทั่วโลกว่าเป็นอาชญากรรมทางการเมือง ที่ผู้ก่ออาชญากรรมต้องได้รับการลงโทษ 3.การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษเป็นหมุดหมายสำคัญ ที่จะไม่ให้ลูกหลานของพวกเราถูกกระทำโดยความอยุติธรรมอีกต่อไป

ดังนั้น เราได้ร่วมกับภาคีนักกฏหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อที่จะนำตัวคนผิดมาลงโทษ แม้ตายไปแล้วก็จะถูกจารึกไว้ว่าเป็นผู้กระทำความผิด

เมื่อไหร่ที่ยังสู้ เราก็ยังไม่แพ้: เพื่อนพี่สาวของผู้เสียชีวิตรำลึกผู้วายชนม์ 6 ตุลา

ธนาธรอยากเห็นสังคมไทยคิดเห็นแตกต่างอยู่ร่วมกันได้

ชัยธวัช-ทิม พิธา รำลึก 45 ปี 6 ตุลา เรียกร้องรัฐยุติใช้ความรุนแรง

พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถูกจองจำ ยังฝากจดหมายให้สุรีรัตน์ ชิวารักษ์ มารดาอ่านระหว่างรับรางวัลจารุพงษ์ ทองสินธุ์ ชี้ประชาธิปไตยเป็นกลไกที่ออกแบบไว้ให้ทุกกลุ่มความคิดสามารถคิดต่างกันได้โดยไม่ใช้ความรุนแรง การใช้กำลัง กฎหมาย และอำนาจเถื่อนปราบความเห็นต่างจะเป็นการก่อความคับแค้นในใจผู้ถูกกระทำ หากใฝ่ฝันถึงแผ่นดินไทยที่สงบ ปราศจากความรุนแรงทางการเมือง ต้องร่วมกันปกป้องสิทธิเสรีภาพทางความคิดของทุกคนทุกฝ่าย ปล่อยผู้ถูกจองจำด้วยเหตุแห่งความคิด

ด้านสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักสิทธิแรงงานและอดีตนักโทษการเมือง กล่าวถึงการรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 ที่เริ่มในวันนี้ว่า มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นกฎหมายที่ใช้มานานแต่หลัง 6 ตุลาคม 2519 มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษจำคุกจากสูงสุด 7 ปี เป็น 15 ปี กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีอัตราโทษสูงจึงเป็นมรดกตกทอดมาจาก 6 ตุลาคม 2519 กลายเป็นเครื่องมือปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเขาคาดหวังให้การเมืองดีกว่านี้ด้วยการยกเลิกมาตรา 112

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net