Skip to main content
sharethis

การทำงานในเศรษฐกิจแบบจ้างงานแบบจบเป็นครั้งๆ หรือ Gig economy เป็นความเสี่ยงในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ ถ้าคุณหล่นจากรถจักรยาน อุบัติเหตุรถชน หรือเจ็บป่วย คุณต้องยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเอง กระแสรายได้ถูกตัดในช่วงเวลาที่คุณต้องการมันมากที่สุด COVID-19 ได้เป็นเหตุให้เห็นปัญหาที่เข้มข้นของความเสี่ยงเหล่านี้สำหรับคนงานที่ถูกจ้างงานแบบจบเป็นครั้งๆ หรือ Gig worker จำนวนมากของคนงานเหล่านี้พบว่าตนเองอยู่แนวหน้าของวิกฤตนี้


ที่มาภาพประกอบ: shopblocks (CC BY 2.0)

การสนองตอบต่อสถานการณ์ COVID-19 แพลตฟอร์มอย่าง Uber ได้ทำบางอย่างที่สหภาพแรงงานและนักกิจกรรมเรียกร้องมาตลอดในช่วงหลายปีมานี้ บริษัทสัญญาว่า จะจ่ายเงินชดเชยกรณีเจ็บป่วยเป็นเวลา 14 วันให้แก่คนขับที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสหรือคนที่ต้องถูกให้กักตัวแยกจากคนอื่นด้วยเหตุผลด้านการรักษาพยาบาล

ด้วยการดำเนินการนี้ Uber ยอมรับกลายๆ สองประการว่า คนขับรถจำนวนมากพึ่งพาแพลตฟอร์มทั้งหมดสำหรับรายได้ของพวกเขา และพยายามควบคุมในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของคนงานด้วย

การทำงานในเศรษฐกิจแบบจ้างงานแบบจบเป็นครั้งๆหรือ Gig economy เป็นความเสี่ยงในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ ถ้าคุณหล่นจากรถจักรยาน อุบัติเหตุรถชน หรือเจ็บป่วย คุณต้องยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเอง กระแสรายได้ถูกตัดในช่วงเวลาที่คุณต้องการมันมากที่สุด COVID-19 ได้เป็นเหตุให้เห็นปัญหาที่เข้มข้นของความเสี่ยงเหล่านี้สำหรับคนงานที่ถูกจ้างงานแบบจบเป็นครั้งๆ หรือ Gig worker จำนวนมากของคนงานเหล่านี้พบว่า ตนเองอยู่แนวหน้าของวิกฤตนี้

การรักษาระยะห่างทางสังคม พูดอย่างง่ายๆ เป็นไปไม่ได้ถ้าคุณส่งอาหารหรือให้บริการการขนส่ง ในขณะที่คนงานอื่นๆ ผู้ที่แสดงอาการ ยังสามารถแยกตัวเองออกจากคนอื่นได้ การที่ค่าจ้างต่ำและขาดตาข่ายทางสังคมรองรับทำให้ยากที่จะตัดสินใจหรือเกินกว่าที่จะคิด สำหรับคนงานที่ทำงานแบบจบเป็นครั้งๆ เหล่านี้

สถานการณ์ที่มีทางเลือกยากๆ แบบนี้ มีความซับซ้อนที่มากไปขึ้นอีกในสาขาการขนส่ง สาขาการบริการซึ่งคนขับรถส่วนใหญ่ มีต้นทุนในการการผ่อนส่งและบำรุงรักษายานพาหนะที่ใช้ในการทำงานอย่างเป็นปกติและมีความเข้มงวด แม้ว่าก่อนวิกฤต (จากความต้องการการใช้บริการที่ลดลงอย่างรวดเร็ว) คนขับ บ่อยครั้ง ต้องทำงานให้ได้มากกว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพียงเพื่อให้คุ้มทุน

วิกฤต COVID-19 เปิดเผยให้เห็นว่า อะไรคือ แกนกลาง โมเดลที่เอาความเสี่ยงทางกายภาพทั้งหมดของการทำธุรกิจไปอยู่ที่คนงาน และอนุญาตบริษัทแพลตฟอร์มหนีจากความรับผิดชอบที่สำคัญ

คนงานแพลตฟอร์มที่ทำงานแบบจบเป็นครั้งๆ เผชิญกับสิ่งที่มาคู่กันคือความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นต่อสุขภาพของพวกเขา จากธรรมชาติของงานของพวกเขาที่ไม่ใช่การทำงานในสถานการณ์ปกติ ซึ่งตอนนี้ต้องออกไปภายนอกเผชิญกับไวรัส และความไม่แน่นอนทางการเงินของพวกเขาที่ทำให้ต้องทำงานต่อไปแม้ว่าเมื่อเจ็บป่วยก็ตาม

มากไปกว่านั้น คนงานที่ทำงานแบบจบเป็นครั้งๆ ยังสามารถ (โดยไม่ตั้งใจ) แพร่เชื้อไวรัสได้อีกด้วย และปราศจากการป้องกันที่เหมาะสม พวกเขาอาจจะประกอบอยู่วิกฤตสุขอนามัยสาธารณะซึ่งรัฐบาลทั่วโลกกำลังพยายามอย่างที่สุดในการควบคุม

‘แค่คนกลาง’

ตรรกะที่เป็นรากฐานของเศรษฐกิจแบบ Gig economy ที่ได้เริ่มต้นถูกอธิบาย จนถึงปัจจุบัน แพลตฟอร์ม ในทุกมุมของโลก ได้นำเสนอตัวเองในฐานะตัวกลางดิจิตัล ผู้ที่อำนวยความสะดวกให้แก่การซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ที่ต้องการซื้อและผู้ที่ต้องการขายการบริการ “อย่ามองมาที่เรา เราเป็นเพียงคนกลาง” เป็นทัศนคติของแพลตฟอร์ม

ใช้ตรรกะแบบนี้ แพลตฟอร์ม เช่น Uber และ Deliveroo จึงสามารถจัดประเภทคนงานที่ทำงานแบบจบเป็นครั้งๆ ให้อยู่ในฐานะการจ้างงานตัวเอง (self-employed) และมีข้อยกเว้นจากพันธะผูกพันตามกฎหมาย เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ และการจ่ายค่าชดเชยกรณีเจ็บป่วย

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีวิกฤตอยู่นี้ บริษัทเหล่านี้ได้เข้ามาอยู่ภายใต้การตรวจสอบจากสาธารณะ จากผลกระทบต่างๆ ของงานไม่มีความแน่นอนที่ปรากฏให้เห็นในวงกว้าง

แพลตฟอร์มได้จัดให้มีการคุ้มครองคนงานที่ทำงานแบบจบเป็นครั้งๆ โดยออกมาตรการที่นำมาใช้ปฏิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อไม่นานมานี้ แผนการจ่ายค่าชดเชยกรณีเจ็บป่วย และการจัดเครื่องป้องกันส่วนบุคคลไว้ให้กับคนงาน ซึ่งปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบันจากคนงานหลายล้านคนทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม คนงานที่ทำงานแบบจบเป็นครั้งๆ และคนที่สนับสนุนสิทธิแรงงานของพวกเขาได้เคยชี้ให้เห็นประเด็นที่มีความสำคัญต่างๆ กับการมีนโยบายเหล่านี้ มันจึงเป็นการเปิดเผยตัวเอง ในแง่ดีที่สุด คือ การเริ่มดำเนินการที่ล้าช้า แย่ที่สุด คือ การให้ความสำคัญกับเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์กับสาธารณชน และการปกป้องผู้บริโภคเสียมากกว่าการคุ้มครองคนงาน

มาตรการหลายมาตรการยังไม่ไปไกลพอ ยังยากที่จะเข้าถึง หรือยังไม่ชัดเจนในเงื่อนไขที่กำหนดสิทธิของผู้ที่มีคุณสมบัติ สิ่งเหล่านี้กำลังทำให้คนงานจำนวนมากเกินไปต้องตกลงไปในรอยแยก บ้างมาด้วยเงื่อนไขที่เข้มงวดที่กำหนดไว้ มันจึงเป็นการออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้คนงานจำนวนมาก ในความเป็นจริง สามารถใช้ประโยชน์ได้ ยกตัวอย่างเช่น UPHD องค์กรตัวแทนของคนขับที่ทำงานให้กับแพลตฟอร์มในสหราชอาณาจักร ชี้ว่า มันเกือบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้สำหรับคนขับที่จะจัดหาเอกสารที่Uberต้องการเพื่อจ่ายค่าชดเชยจากการเจ็บป่วย

โมเดลแตกๆ

รัฐบาลอังกฤษ ก่อนหน้านี้ แนะนำประชาชนที่มีอาการให้แยกตัวเองออกจากคนอื่นทันที และหลีกเลี่ยงการไปพบแพทย์หรือการไปโรงพยาบาลจนกว่าจะมีความจำเป็นอย่างมากที่สุด นั่นทำให้คนขับไม่สามารถไปเอาบันทึกของแพทย์มาให้Uberตามข้อกำหนดของบริษัท จนรัฐบาลเปลี่ยนแปลงการแนะนำข้างต้นและเริ่มให้มีการออกใบรับรองออนไลน์

เมื่อคนขับUberคนหนึ่ง อายุ 60 ปี ในเมืองซานฟรานซิสโก ติดไวรัส เขาได้จัดการเตรียมเอกสารบันทึกจากแพทย์ แต่Uberเพิ่มอุปสรรคในการจ่ายค่าชดเชยการเจ็บป่วยให้แก่เขา เพื่อจะอัพโหลดบันทึกแพทย์ให้บริษัท แพลตฟอร์มให้เขาตกลงในเงื่อนไขที่สร้างภาระต่างๆ และเอาเปรียบ ซึ่งรวมไปถึงการให้แบ่งปันข้อมูลส่วนตัวและมีข้อผูกพันให้เขาต้องแสดงว่า แม้ว่าเขาจะได้รับการจ่ายค่าชดเชยกรณีเจ็บป่วยแบบครั้งเดียว เขาก็ยังคงเป็นผู้ทำงานอิสระตามสัญญา (independent contractor) ไม่ใช่ลูกจ้าง

นี่คือยักษ์จินนี่ที่แพลตฟอร์มอย่าง Uber จะต่อสู้เพื่อจับกลับลงไปอยู่ในขวด แพลตฟอร์มจะจ่ายให้ครอบคลุมคนงานที่ถูกวินิจฉัยว่าติด COVID-19 ในวันนี้อย่างไร และไม่ใช่แก่คนงานที่ขาหักในปีหน้าด้วย?

แม้ว่าเขาดำเนินการตามขั้นตอนจนจบและตกลงในเงื่อนไขต่างๆ Uber ก็ยังไม่จ่ายเงินให้เขาจนกระทั่งเขาทวีตกรณีของเขาไปถึงประธานกรรมการบริหารบริษัท

ในขณะที่มันเหมือนจะเป็นอนาคตที่เจ็บปวดสำหรับคนงานเหล่านี้ แต่ก็มีเหตุให้แก่ความหวัง ความร้ายแรงของวิกฤตทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การไม่ทำอะไรไม่ใช่เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในระยะยาว คนงานที่ทำงานแบบจบเป็นครั้งๆ จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง และมันเป็นแพลตฟอร์มเองที่จำเป็นต้องก้าวเข้ามามีบทบาทนี้

เริ่มต้นจากการเข้ามารับผิดชอบกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนงานของพวกเขา มันเป็นทางลาดชันที่ลื่น ซึ่งแพลตฟอร์มส่วนใหญ่ โดยไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องการที่จะยืนอยู่บนจุดนั้น พิจารณาจากหลักฐานโดยผู้สนับสนุนแผนของรัฐบาล เช่น ในสหรัฐฯ และในสหราชอาณาจักร ซึ่งจัดให้มีการสนับสนุนทางการเงินต่อผู้ที่ไม่มีนายจ้างหรือผู้จ้างงานตนเอง

แทนที่จะเปิดทางให้แพลตฟอร์มโอนความรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนงานของตน มาอยู่ที่ประชาชนผู้เสียภาษี พวกเราทุกคนควรสะท้อนให้เห็นว่า แพลตฟอร์มต้องรับผิดชอบต่อคนงานของพวกเขามากน้อยเพียงใด โดยการทำให้มาตรการต่างๆ เกิดผลในทางปฏิบัติ แม้จะเป็นมาตรการที่คำนึงถึงผลประโยชน์ตัวเองและมีหัวใจครึ่งเดียว โดยแพลตฟอร์มกำลังยอมรับว่า สภาพการทำงานที่อันตราย ไม่แน่นอน และย่ำแย่ เป็นตัวเลือกที่พวกเขาได้เลือกสำหรับคนงาน ซึ่งมันไม่ใช่ความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเพื่อแลกกับความยืดหยุ่นและความเป็นอิสระในการทำงาน

การระบาดใหญ่ทั่วโลกจะกลับสู่สถานการณ์ปกติ และเมื่อมันปกติแล้ว เราจะไม่สามารถกลับไปในโลกซึ่งแพลตฟอร์ม ย้ำอีกครั้ง ล้างมือของพวกเขาจากความรับผิดชอบต่อคนงานและสังคมโดยรวม เพราะถ้าพวกเขาไม่คุ้มครองคนงานของพวกเขาเองแล้ว ใครล่ะจะทำ?

ที่มาเรียบเรียงจาก
DO NOT PROTECT GIG WORKERS, WHO WILL? (เขียนโดยความร่วมมือของนักวิจัยเศรษฐกิจแบบ gig economy ที่ Fairwork ประกอบด้วย Mark Graham, Kelle Howson, Funda Ustek-Spilda, Srujana Katta, Alessio Bertolini, Adam Badger and Fabian Ferrari, New Internationalist, 23 April 2020)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net