Skip to main content
sharethis

จากกรณีสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) มีมติให้ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง งดการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานในพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นเวลา 1 เดือน มาตรการนี้ดูเหมือนจะสร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งการระบาดของโรคและชีวิตของคนงาน แม้ กระทรวงแรงงาน ได้ประเมินแล้วว่า ใน 10 จังหวัด มีผู้ประกันตน ในกิจกรรมต่างๆ ได้รับชดเชย ทั้งสิ้น 719,601 คน ซึ่งคาดว่าจะใช้เงิน พันล้านบาท ขณะที่ปีที่แล้ว มีการปิด ไป 3 เดือน ใช้เงิน ไปทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาท

ล่าสุดวันนี้ สหภาพคนทำงานได้ไปทวงเงินเยียวยาที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมยื่น 7 ข้อเรียกร้อง ประชาจึงพูดคุยกับ ศิววงศ์ สุขทวี สหภาพคนทำงาน เพื่อฉายภาพให้เห็นผลกระทบและข้อเสนอเพื่อลดผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าว

โดย 7 ข้อเรียกร้องของสหภาพคนทำงานประกอบด้วย

1. ประกาศนิรโทษกรรมให้กับแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายทุกคนในประเทศเป็นการชั่วคราว 6 เดือน พร้อมกับเปิดขึ้นทะเบียน และยุติการกวาดล้างจับกุมทันที เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามมาดำเนินการขึ้นทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถถึงระบบเฝ้าระวังโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติที่มีนายจ้างแต่ไม่ได้เข้าประกันสังคมให้ดำเนินการเข้าประกันสังคมย้อนหลังได้ 3 เดือน เพื่อให้สิทธิการรักษาพยาบาลเกิดทันที รวมถึงบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมอย่างจริงจังเพื่อแรงงานจะได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ตามกฎหมาย
3. ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายให้เป็นผู้มีสิทธิในประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวชั่วคราว 6 เดือน โดยให้ขยายสิทธิครอบคลุมถึงการตรวจรักษาโควิด-19 ทันที
4. ยกเลิกมาตรการปิดแคมป์แรงงานก่อสร้าง เพิ่มมาตรการตรวจเชิงรุก เช่น การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามสำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ การจัดตั้งศูนย์พักรอสำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยง การจัดพื้นที่สำหรับกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงภายในแคมป์แรงงานที่มีความพร้อม พร้อมจัดตั้งศูนย์ตรวจโควิดสำหรับแรงงานในทุกพื้นที่ ยกเลิกเงื่อนไขการตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง รวมถึงพัฒนากลไกการเข้าถึงวัคซีนที่เท่าทียม ทั่วถึงและเหมาะสมแก่ทุกกลุ่มแรงงานโดยเร็วที่สุด
5. รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยของแรงงานข้ามชาติโดยยึดหลักปฏิบัติตามข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO ค.ศ. 1961 (ฉบับที่ 115) เรื่องที่พักอาศัยของคนงาน
6. รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินชดเชยเท่ากับรายได้ปกติของแรงงาน ในกรณีที่จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องมีการใช้มาตรการปิดแคมป์แรงงาน หรือมีคำสั่งที่ส่งผลให้ต้องยุติการทำงานในทุกกิจการ
7. รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญในแสวงหาการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเพิ่มผู้แทนจากแรงงาน ภาคประชาสังคมในคณะทำงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในทุกระดับ นอกเหนือไปตัวแทนหน่วยงานราชการ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าและสมาคมธนาคารเท่านั้น
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net