สึกปรับห้าหมื่น: ปัญหาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ไทย 3

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

6. ความยากลำบากในการสืบค้นระเบียบและประกาศสึกปรับห้าหมื่นบาททั้ง 2 ฉบับ ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน  

ระเบียบ มมร. ฉบับ ปี 44

ระเบียบ มมร. ใช้คนหาถึง 3 คน ถึงจะค้นเจอ คนที่ 1 คือเจ้าหน้าที่ คนที่ 2 คือตัวนักศึกษา คนที่ 3 คือนักศึกษารุ่นพี่ ป.โท มมร. ที่เรียบจบไปแล้ว ถึงค้นเจอ ถึงแม้ว่าผู้ที่ช่วยกันค้นหาจะเป็นถึงระดับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่รู้จักระเบียบนี้มานานแล้ว กับนักศึกษา มมร. ระดับปริญญาโท เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ที่รู้จักระเบียบนี้มานานแล้วเช่นกัน ยังช่วยกันสืบค้นนานเกือบชั่วโมงกว่าจะหาเจอ ส่วนพระเณรที่มาสมัครเรียนใหม่ที่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยิน หรือเคยได้ยิน แต่ไม่รู้จักชื่อและข้อของระเบียบนี้มาก่อน ก็อย่างหวังเลยว่าจะได้เจอ จนกว่าจะมีคนบอก แต่ก็อีกล่ะครับ ครั้งแรกที่ได้ยิน ถึงกับอุทานว่า “มีอย่างนี้ด้วยเหรอ” 

ประกาศ มจร. ฉบับ ปี 58 

ต้องค้นหาถึง 2 คน กว่าจะค้นเจอ คนที่ 1 นายทะเบียน คนที่ 2 คือตัวนิสิตเอง พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ค้นหาได้ยากเย็นขนาดไหนกว่าจะหาเจอ ถึงแม้ว่าผู้ที่ช่วยกันหาจะเป็นถึงระดับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่รู้จักระเบียบนี้มานาน กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ระดับปริญญาโท ระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งที่รู้จักระเบียบนี้มานานแล้วเช่นกัน ช่วยกันหาจนเจอในอินเตอร์เน็ต แต่ก็ไม่ได้หาเจอกันง่ายๆ ต้องใช้เวลาพอสมควร แล้วนับประสาอะไรกับพระเณรนิสิตนักศึกษาใหม่ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ จะหาเจอและรู้ล่วงก่อนมาสมัครเรียนล่วงหน้าเองได้อย่างไร? เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่แจ้งเตือนพวกเขาล่วงหน้าก่อนพวกเขาก็พลาดไปอีกนานจนกว่าจะมีคนบอก 

ถ้าอยากรู้ว่าระเบียบเหล่านี้ มันลึกลับและมีพิรุธขนาดไหน ให้ลองพิมพ์หาดูตามชื่อของมัน แล้วจะเห็นปัญหาของมันทันที และยังเป็นระเบียบและประกาศที่เขียนขึ้นอย่างมีพิรุธมากอีกด้วย แม้แต่ญาติโยมที่ได้อ่านยังสะดุ้ง และอุทานออกมาดังๆ ว่า “บ้า!” ญาติโยมก็แทบไม่อยากจะเชื่อเลยว่าระเบียบนี้มันมีอยู่จริง ถึงกับแนะนำทันทีว่า ให้รีบโทรแจ้งไปที่ส่วนกลางด่วนเลย มีเบอร์โทรส่วนกลางไหม ให้เขาติดต่อมายังวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ พวกนี้โดนหนักแน่ ข้อหาหลอกลวง แต่กระนั้นญาติโยมยังเข้าใจผิดมองว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์ในต่างจังหวัดสมคบคิดกันเอง เพื่อหลอกเอาเงินนิสิตนักศึกษาฝ่ายพรรพชิตที่สึกหาลาเพศระหว่างเรียน แท้ที่จริงแล้วเรื่องสึกปรับห้าหมื่นมันมีอยู่จริง และมาจากส่วนกลางด้วย   

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ที่คิดค้นระเบียบลักษณะนี้ขึ้นมาบังคับใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 ก่อนที่ทางฝั่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) จะออกกฎหมายในลักษณะเดียวกันมาบังคับใช้ในรูปของประกาศในอีก 14 ปี ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2558
ช่องทางในการเข้าถึง ประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง ค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558

ช่องทางที่พระเณรผู้สมัครเรียนจะเข้าถึงข้อมูลสึกปรับห้าหมื่นได้อย่างแท้จริงก็คือ คุณต้องรู้จักเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า “กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เสียก่อน แล้วเสิร์ชหาเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อเข้าไปค้นข้อมูลสึกปรับ 50,000 ในหน้านี้ เมื่อคลิกเข้าไปที่คำว่า ค่าธรรมเนียมระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 แล้ว ก็จะปรากฏหน้าที่มีคำว่า ประกาศ แล้วคลิกเข้าไปที่ คำว่า ประกาศ ในที่สุดก็จะเจอ ประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง ค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 

ล่าสุดเมื่อปี 2564 เว็บไซต์ กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่สามารถเข้าดูได้อีก เหลือแต่เพจเฟซบุ๊กที่ใช้เชื่อเดียวกับเว็บไซต์ที่หายไปเท่านั้น และไม่ได้แจ้งข่าวเกี่ยวกับระเบียบสึกปรับห้าหมื่น และนี่คือการติดตามเว็บไซต์ในฐานะผู้ที่รู้จักชื่อของระเบียบทั้ง 2 ฉบับนี้เป็นอย่างดี แล้ว และเคยเข้าดูเว็บไซต์และรู้เนื้อหารายละเอียดของระเบียบและประกาศทั้ง 2 ฉบับ นี้ดีแล้ว แต่ก็ยังต้องติดตามให้ทันว่า อัพเดทใหม่หรือยัง มีการเปลี่ยนแปลงรูปของเพจในแต่ละครั้งในรอบเดือนหรือปีไหม หรือเว็บเก่าล่มจนไม่สามารถเข้าดูได้อีกแล้ว หรือย้ายระเบียบและประกาศไปลงใหม่ในเว็บไหนแล้ว แม้รู้จกระเบียบและประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ดีพอแล้ว ก็ยังต้องตามตามอยู่บ่อยๆ ในการเคลื่อนไหวเป็นแปลง มิฉะนั้นต่อให้รู้ระเบียบนี้ดีขนาดไหน แต่กระนั้นก็ไม่ทันอยู่ดี พอเข้ามาดูอีกทีก็อาจจะไม่เจออีกแล้ว หรือเว็บไซต์เดิมที่เพิ่งเข้าดูได้ไม่นานอีกหน่อยอาจไม่มีเว็บไซต์นี้หลงเหลือให้เห็นอีกต่อไปแล้ว 

เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่ผู้ที่รู้จักแหล่งและเคยเข้าดูจนรู้รายละเอียดของระเบียบและประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้เป็นอย่างดี ก็ยังต้องเริ่มสืบค้นใหม่แบบเริ่มต้นจาก 0 เลยที่เดียว เสมือนไม่เคยรู้แหล่งที่อยู่ของระเบียบและประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้มาก่อน ถึงแม้แต่ก่อนจะรู้ว่าอยู่เว็บไซต์ชื่ออะไรอยู่ส่วนไหนของเว็บไซต์นั้นๆ ก็ตาม 

ถ้าเป็นนิสิตนักศึกษาที่เข้ามาสมัครเรียนใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้จักชื่อระเบียบหรือประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ อีกอย่างคือไม่ได้ติดตามการเคลื่อนไหว ไม่เคยเห็นการเปลี่ยนแปลงในการลงข้อมูลในเว็บไซต์ด้วยแล้ว ยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะคันเจอและไม่ตกข่าวตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยสงฆ์ใหม่ๆ ก่อนเข้ามาสมัครเรียน พวกเขาจึงหมดสิทธิ์ในทุกช่องทางที่จะเข้าถึงและรับรู้ นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่รู้การมีอยู่ของระเบียบและประกาศนี้มาบอก แล้วคุณจะเอาอะไรกันนักกันหนากับผู้สมัครเรียนหรือพระเณรนิสิตนักศึกษาใหม่ ว่าแต่เจ้าหน้าที่บางคนที่ชอบโยนความผิดให้กับพระเณร ตัวเองรู้ก่อนทำไมไม่ยอมบอกเขา

7. กรณีศึกษาที่เกิดจากการบังคับใช้ระเบียบสึกปรับห้าหมื่นของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน

7.1 กรณีศึกษาทางฝั่ง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)

จากการสอบถามพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตแห่งหนึ่ง ท่านแรก กล่าวว่า “ระเบียบสึกปรับห้าหมื่น เขาออกมาเพื่อกันไม่ให้พระสึก ทาง มมร.ล้านช้าง อนุโลมให้สึกมาเรียนได้ ไม่ต้องเสีย 50,000 บาท แต่อย่าให้ส่วนกลางรู้ก็พอ ไม่งั้นเขาก็เอา” ท่านที่สอง กล่าวว่า “ที่นี่ไม่ได้ปรับ ถ้าสึกแล้วก็จ่ายค่าเทอมเท่าโยมเอา”

ดูเหมือนว่าพระพระอาจารย์ทางฝั่ง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ท่านจะไม่เอาด้วยกับระเบียบสึกปรับห้าหมื่นจากทาง มมร. ส่วนกลาง โดยเฉพาะ มมร. วิทยาเขตแห่งนั้น มีการการงดเว้นการบังคับใช้ระเบียบสึกปรับห้าหมื่นให้กับลูกศิษย์ฝ่ายบรรพชิตด้วย แต่นักศึกษาฝ่ายบรรพชิต ของ มมร. วิทยาเขตนั้นก็ไม่ได้พากันแห่ลาสิกขาแต่อย่างใด ก็มีลาสิกขากันน้อยมาก แทบไม่สึก ไม่ได้รับผลกระทบที่ว่าเกิดวิกฤตพระบวชน้อยลงแต่อย่างใด กลับมีนักศึกษาฝ่ายบรรพชิตเข้ามาศึกษาต่อที่นี่ทั้งฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และ มหานิกาย แต่ที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ยังมีการบังคับใช้ระเบียบสึกปรับห้าหมื่นตามปกติ

7.2 กรณีศึกษาทางฝั่ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)

กรณีของพระสงฆ์ ก.

เพื่อนผมมาสมัครเรียนเพราะเพิ่งจบ ม.6 จากโรงเรียนวัดมาหมาดๆ ดังนั้นตอนที่มาสมัครเรียนเขาจึงมาสมัครในคาบของนักบวช แต่พอสมัครเรียนแล้วพอเปิดเทอมเขาจะสึกมาเรียนปรากฏว่า เขาถูกสั่งให้กลับไปบวชใหม่ก่อนเข้าพรรษา แต่เพื่อนผมไม่ยอมกลับไปบวช จนเพื่อนผมต้องออกจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ไปเอง เพราะถ้าสึกแล้วขืนเรียนต่อ(ในกรณีชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1)ก็ต้องเจอ ค่าปรับห้าหมื่นบาท + ค่าเทอมที่จะต้องจ่ายเท่าโยมต่อไปอีกในเทอมถัดๆ จนกว่าจะเรียนจบ แต่ถ้าสึกในชั้นปี 1 เรียนที่ 2 ขึ้นไป หรือสึกในชั้นปีที่สูงกว่านั้นขึ้นไป ก็ต้องเจอ ค่าเทอมที่จ่ายไปแล้วตอนบวช + ค่าปรับห้าหมื่นบาท + ค่าเทอมที่จะต้องจ่ายเท่าโยมต่อไปอีกในเทอมถัดๆ จนกว่าจะเรียนจบ ซึ่งแพงมากกว่าโยมที่เข้ามาเรียนตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีสุดท้าย จนเพื่อนผมต้องทิ้งการเรียนไปอย่างน่าเสียดาย ที่เห็นว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์น่าจะมีเมตตาบ้างกับเรื่องแค่นี้ เพราะเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ แต่ไม่เลย ไม่มีคำว่าเมตตาสำหรับกรณีนี้ 

กรณีของผู้เขียนเจ็บเพราะศรัทธา ผมถูกทำลายน้ำใจไม่ใช่น้อยเลย ถึงแม้ภายหลังนิสิตจะรับรู้ถึงการมีของระเบียบสึกปรับห้าหมื่นนี้แล้ว แต่ข้อมูลที่มาถึงนิสิตก็ยังคลุมเครือ ไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด ไม่เคยมีนิสิตรูปใดรู้หรือเคยได้เห็นแหล่งสืบค้น คนบวชเรียนมีอยู่ทั่วประเทศไม่ได้มีแค่ผมกับเพื่อนของผม ดังนั้นทั่วประเทศจะมีพระเณรอีกหลายรูปรวมถึงครอบครัวของพวกเขาด้วย ที่ได้รับความเดือดร้อนจากประกาศฉบับนี้แน่นอน แต่ไม่มีพระเณรรูปใดกล้าลุกขึ้นมาคัดค้านเท่านั้นเอง 

การบังคับเกณฑ์พระเณรให้ต้องบวชยาวตลอดหลักสูตรควรแจ้งล่วงหน้าเสมอ

การบังคับเกณฑ์พระเณรให้บวชยาวจนจบหลักสูตรถือเป็นกรณีพิเศษมาก ซึ่งต่างไปจากกฎระเบียบอื่นๆ ในคู่มือนิสิตนักศึกษาอย่างสิ้นเชิง และเป็นส่วนได้ส่วนเสียของผู้สมัครเรียนโดยตรงมากที่สุดในคู่มือระเบียบนิสิตนักศึกษาตั้งแต่พระเณรผู้สมัครเรียนยังไม่ได้เขียนอะไรลงไปในใบสมัครเรียนด้วยซ้ำ ควรแจ้งเตือนอย่างยิ่ง ให้พระเณรแต่ละรูปได้รับรู้ล่วงหน้าเป็นรายบุคคลไปตั้งแต่วันแรกที่พวกเขามากรอกใบสมัครเรียน เพราะเป็นกรณีที่พิเศษที่สุด ควรแจ้งเตือนก่อนเสมอ ก่อนที่พระเณรผู้สมัครเรียนจะตัดสินใจกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไปในใบสมัครเรียน ซึ่งจะมีผลบังคับพวกในระยะยาว อย่างน้อยก็ให้โอกาสผู้สมัครเรียนได้วางแผนชีวิตของพวกเขาบ้างก็ยังดี ดีกว่าไม่แจ้งอะไรเลย ก่อนที่พวกเขาจะกรอกข้อมูลลงไป เพื่อพระเณรที่ต้องการบวชอุทิศให้ใครอยู่ แต่ไม่ประสงค์จะบวชยาว ช่วงก่อนสมัครเรียนพวกเขาจะได้ระมัดระวัง ระเบียบและประกาศมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 ฉบับ นี้ พวกเขาจะได้วางแผนชีวิตให้เรียบร้อยก่อน จะได้ไม่โดนผูกมัดโดยข่มขืนใจให้ผู้บวชฝืนใจตัวเองบวช ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้ง 2 แห่ง กำลังดำเนินการอยู่นี้ หรือผู้ที่เพิ่งเรียนจบ ชั้นมัธยมศึกศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดมาหมาดๆ แต่ยังไม่ได้สึก แต่เข้ามาสมัครเรียนก่อน จะได้รู้ล่วงหน้า จะได้รู้ทัน และรีบแก้ไขได้ทันเวลา พอเปิดเทอมสึกมาเรียนจะได้ไม่ถูกไล่ออกเหมือนเพื่อนผม หรือบางคนสึกเพราะต้องกลับไปดูแลพ่อแม่อยู่ที่บ้านหรือสึกเพราะมีความจำเป็นอย่าง(ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องชู้สาวอย่างที่ผู้สึกถูกกล่าวหาโจมตี) ฯลฯ จะได้ไม่ถูกไล่ออกหรือเรียกเงิน(ปรับ) 50,000 บาท ส่วนผู้ที่ต้องการจะบวชจนจบหลักสูตรหรือบวชตลอดชีวิต สึกปรับห้าก็ไม่จำเป็นสำหรับคนพวกนี้อยู่แล้ว เพราะถึงยังไงพระเณรพวกนี้ก็ไม่ยอมสึกหาลาเพศอยู่แล้ว 

สภามหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่ควรใช้ความบกพร่องของเจ้าหน้าที่บวกกับความไร้เดียงสาของพระเณรที่เพิ่งมาสมัครเรียนที่ไม่รู้ทันเท่าทันเงื่อนไขในการควบคุมการลาสิกขา ซึ่งเป็นช่องทางในการเพิ่มประชากรนักบวชโดยอ้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในการจัดงานรับปริญญา เป็นเหตุให้สถาบันครอบครัวของผู้บวชเรียนด้วย

แต่ถึงยังไงพระผู้ใหญ่ที่คิดค้นระเบียบนี้ขึ้นมาก็ไม่ควรหากินกับความไม่รู้เดียงสา และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของพระหนุ่มเณรน้อย นักบวชผู้ทรงสมณศักดิ์เมื่อมีอำนาจขึ้นมาในแวดวงการศึกษา ก็ไม่ควรใช้อำนาจที่ตัวเองได้มาออกกฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น ซึ่งนักบวชไม่สมควรกระอย่างยิ่ง เพราะตอนบวชเขาใช้เงินของพวกเขาเอง เขาไม่ได้ไปขอเงินจากทางมหาลัยสงฆ์มายกบวชหรือขอเงินจากพระผู้ออกกฎระเบียบมายกบวชแม้แต่สลึงเดียว ก่อนที่จะมาสมัครเรียน พวกเขาใช้งบส่วนตัวของพวกเขาบวชเองทั้งนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสงฆ์แต่ประการใด เพราะฉะนั้น ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงไม่มีสิทธิ์และไม่มีความชอบธรรมใดๆ เลยทั้งสิ้นที่จะไปออกกฎหมายควบคุมการลาสิกขาของพวกเขา แต่ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ตั้งกำแพงค่าเปลี่ยนสถานภาพ(ค่าลาสิกขา)แบบแพงลิบลิ่วเพื่อบังคับพวกเขาทางอ้อม(ตั้งราคากะจะไม่ให้สึก)ให้พวกเขาต้องบวชยาวตามหลักสูตรจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา ทั้งๆ ที่พวกเขาใช้เงินพ่อแม่ของพวกเขายกบวชตัวเอง หรือไม่ก็เงินส่วนตัวของเขาเองในการยกบวช ซึ่งเขาจะสึกตอนไหนมันก็เป็นเรื่องของเขา เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของเขาทั้งสิ้นที่เขาจะตัดสินใจ ค่าเทอมเขาก็จ่ายเองทุกเทอม ไม่ได้เรียนฟรีแต่อย่างใด เมื่อเขาสึกก็ไม่สมควรไปเรียกเงิน(ปรับ)เขาถึง 50,000 บาท ซึ่งเกินส่วนต่างจากเดิมมาก และบวกกับค่าเทอมใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีก นอกจากจะแพงมากกว่าโยมที่เรียนในสถาบันเดียวกันที่เรียนตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีสุดท้ายแล้ว อาจแพงยิ่งกว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏเสียอีก ซึ่งมันไม่ถูกต้อง

การบวชมันบังคับกันไม่ได้ การบวชไม่ควรมีการถูกบังคับหรือเกณฑ์ ถ้าบังคับมันก็ไม่ใช่การบวช ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ ควรแจ้งให้พระเณรทราบก่อนที่เขาจะเขียนอะไรก็ตามลงไปในใบสมัครเรียน เพราะเป็นผลได้ผลเสียและเป็นคุณเป็นโทษต่อพระเณรนิสิตนักศึกษาโดยตรง ถ้าไม่จ่ายห้าหมื่น เขาก็ต้องพ้นสภาพนิสิตนักศึกษาตั้งแต่ยังไม่ทันได้ติด F ด้วยซ้ำไป แต่ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะบอกกล่าวแก่นิสิตนักศึกษาบรรพชิตตอนที่มันแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว แถมยังบัญญัติระเบียบอย่างมีพิรุธมาก และซ่อนเว็บไซต์ที่นิสิตนักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์แท้ๆ ยังแทบไม่รู้จัก

8. มูลเหตุแห่งแรงจูงใจที่สำคัญในการออกระเบียบสึกปรับห้าหมื่นของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 สถาบัน

เหตุผลที่ ม.สงฆ์ ทั้ง 2 แห่ง(มจร. และ มมร.) จำเป็นต้องออกระเบียบประกาศสึกปรับ 5 หมื่น มาบังคับใช้คืออะไร ?

นอกเหนือจากการบวชเรียนแล้ว ทางคณะสงฆ์ไทยยังมีความต้องการใช้แรงงานพระเณรในการอื่นในโอกาสต่างๆ อีกด้วย ซึ่งนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของการบวชเรียนมากมาย จะเรียกได้ว่า เป็นกฎหมายเกณฑ์พระเณรบวชตามหลักสูตร หรือ เป็นกฎหมายปล้นลูกหลานชาวบ้าน หรือ เป็นกฎหมายเรียกค่าไถลูกหลานชาวบ้านโดยมีการศึกษาเป็นตัวประกันที่ทำให้เสียโอกาสทางการศึกษาได้ถ้าสึกก่อนจบหลักสูตร หรือจะเรียกว่า เป็นกฎหมายทำลายสถาบันครอบครัว ก็คงไม่ผิดนัก เพราะพระเณรบางรายต้องทิ้งพ่อแม่ที่นอนป่วยอยู่ที่บ้านเพื่อไปเป็นพระเณรรับใช้พระเถรานุเถระทั้งหลายและองค์กรคณะสงฆ์ไทย เพื่อใช้แรงงานในกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา และพิธีกรรมทางศาสนาที่มีอยู่มากมายในโอกาสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเล็กหรือกิจกรรมใหญ่ ถูกใช้เป็นแรงงานไปตั้งแต่งานที่เบาที่สุดไปจนถึงงานที่หนักที่สุด บางครั้งก็ได้ค่าแรงบ้าง บางครั้งก็ไม่ได้ค่าตอบแทนใด ๆ เลย และหลายครั้งที่พระเณรนิสิตถูกเจ้าอาวาส หรือพระลูกวัดด้วยกันที่ไม่เรียนหนังสือ โจมตีหาว่าพระนิสิตนักศึกษา ไม่ชอบอยู่วัด ชอบหนีงานวัดไปเรียนหนังสือ ฯลฯ จนเกิดการกระทบกระทั่งกันอยู่บ่อย ๆ และหลังเลิกเรียนก็ต้องทำทั้งการบ้านและงานวัดทุกประเภทที่ทางวัดมีให้ทำ อย่างเช่น งานก่อสร้าง งานเลื่อยไม้ งานตัดหญ้าตัดกิ่งไม้เมื่อใกล้วันสำคัญในโอกาสต่าง ๆ งานทำความสะอาดศาสนสถานในบริเวณต่าง ๆ ฯลฯ ควบคู่ไปกับงานมหาวิทยาลัยที่ทางมหาวิทยาลัยสั่งให้ทำด้วย รวมถึงกิจวัตรอื่น ๆ

นี่เป็นเพราะความต้องการของคณะสงฆ์ไทยที่ต้องการให้ลูกหลานชาวบ้านเข้ามาบวชให้ได้มากที่สุด และทำให้พวกเขาบวชให้ได้ยาวนานที่สุดตลอดหลักสูตร เพื่อเข้ามาเป็นแรงงานให้กับคณะสงฆ์ไทยในกิจการต่าง ๆ และกิจกรรมทางศาสนาในโอกาสต่าง ๆ ทางคณะสงฆ์ไทยมีความต้องการใช้แรงงานพระเณรเป็นจำนวนมาก เพราะทางวัดต้องการจัดงานให้มีความยิ่งใหญ่เพื่อเรียกร้องศรัทธาจากญาติโยม จึงต้องการใช้แรงงานพระเณรเป็นจำนวนมาก เช่น งานกฐิน งานทอดผ้าป่า งานศพ งานบุญผะเหวด(บุญเดือนสี่) งานบวชเณรภาคฤดูร้อนประจำปี ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่มาก ๆ (ซึ่งมีการบังคับใช้แรงงานสามเณรซึ่งเป็นแรงงานเด็กอย่างหนักหน่วงตลอดทั้งงานรวมอยู่ด้วย) งานปฏิบัติธรรมประจำปี ปีละ ๑๐ วัน ของทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ ฯลฯ รวมถึงงานวัดในวันสำคัญต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาอีกด้วย และทางคณะสงฆ์ยังต้องการมีพระหนุ่มเณรน้อยไว้คอยเป็นหน้าเป็นตาให้กับองค์กรคณะสงฆ์ไทยไปทั่วสังฆมณฑลตลอดหลักสูตรอีกด้วย โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบกับสถาบันครอบครัวที่จะตามมาอย่างกว้างขวาง ในเมื่อการบวชเป็นเพียงแค่เรื่องของปัจเจกบุคคลที่ไม่ว่าองค์กร หรือหน่วยงาน หรือสถาบันใด ๆ ก็ตาม รวมถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์ด้วย ก็ไม่มีความชอบธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ที่จะมาออกมาตรการใด ๆ บังคับให้พระเณรรูปใดบวชยาวตามหลักสูตร เพราะเงินที่ใช้ในการบวชก็เป็นเงินของพวกเขาเองทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในงานบวชพวกเขาก็จ่ายเองทั้งหมด ไม่ได้ขอเงิน ม.สงฆ์ มายกบวชแม้แต่สลึงเดียว และพระเณรที่ ม. สงฆ์ ก็ไม่ได้เรียนฟรีแต่อย่างใด และค่าอาหารใน ม.สงฆ์ พระเณรก็ต้องจ่ายเองทุกบาททุกสตางค์ ไม่มีพระเณรรูปไหนต้องกินฟรีแม้แต่รูปเดียว ดังนั้น ผู้ที่บวชเท่านั้นควรเป็นผู้กำหนดชะตากรรมชีวิตตัวเองว่าจะบวชตอนไหนและจะสึกตอนไหน ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่ความชอบธรรมใด ๆ เลย ที่จะไปออกมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เขาสึก เพราะเรื่องการบวชเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล(ห้ามบังคับกัน) เรื่องการบวชตลอดหลักสูตรควรเป็นเรื่องของผู้มีความต้องอยากจะบวชตลอดหลักสูรจริง ๆ เท่านั้น ไม่ควรเอามาบังคับผู้ที่ประสงค์จะบวชเพียงชั่วคราว อีกอย่างมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ สถาบัน ก็ไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่มีแต่พระเณรล้วน ๆ แต่ยังมีนิสิตนักศึกษาทั้งชายและหญิงเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ด้วย พระเณรที่ต้องการจะบวชตลอดหลักสูตรก็มีจำนวนมากพออยู่แล้วในทุก ๆ รุ่น ก่อนที่จะมีการออกระเบียบประกาศสึกปรับห้าหมื่นด้วยซ้ำ ทุกวันนี้ก็เช่นกัน แต่ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ยังต้องการมากกว่านั้นอีก จึงออกมาตรการที่ไม่เป็นธรรมมาบีบบังคับเกณฑ์เอาพระเณรที่เข้ามาสมัครเรียนที่ประสงค์จะบวชชั่วคราวให้ต้องบวชยาวนานตลอดหลักสูตรด้วยกันทุกรูป ดังนั้นทางภาครัฐควรทบทวนบทบาทขององค์กรทางคณะสงฆ์ทั้ง ๒ องค์กร ในกรณีนี้ด้วย

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นแรงจูงใจต้องคิดมาตรการแผงๆ แบบนี้ออกมาเพื่อลักไก่ ตั้งเงื่อนให้ผู้ลาสิกขาได้ผลกระทบอย่าหนักในด้านการเงิน เพื่อป้องกันลูกหลานชาวบ้านไม่ให้พวกเขาได้ลาสิกขาตามสมควรแก่กาลของพวกเขา และเลือกที่จะรับคำขออนุญาตลาสิกขาเป็นเงินสด 50,000 บาท + ค่าเทอมที่แพงขึ้นในราคาเดียวกับโยมในเทอมถัดไปด้วย(ค่าเทอมที่จ่ายก่อนลาสิกขาก็มีอีกอยู่แล้วอีกต่างหาก ห้าหมื่นบาทจ่ายเกินส่วนต่างทั้งก่อนสึกและหลังสึก) ท่านถามใจผู้สมัครเรียนเองหรือยัง? ถามพ่อถามแม่พวกเขาหรือยัง? ว่าจริงๆ แล้ว เขาต้องการบวชนานแค่ไหน พ่อแม่ผู้ปกครองของพวกเขาต้องการให้ลูกหลานของพวกเขาบวชนานแค่ไหน? ยินยอมหรือไม่ หรือทางมหาวิทยาลัยสงฆ์กลัวคนข้างนอกและคนต่างสถาบันจะสบประมาทพวกตนว่า “พระมาเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้วพากันสึก แต่ไม่ได้มองว่า ถ้าพระมันจะสึก ต่อให้ไม่เรียนมันก็สึกอยู่แล้ว หรือเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่พระสังฆราชในงานพิธีประสาทปริญญาบัตรในมหาวิทยาลัยสงฆ์ จึงต้องออกมาตรการลักไก่เพื่อบังคับให้พระเณรลูกหลานชาวบ้านที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ให้ต้องบวชยาวโดยไม่รู้ตัว โดยไม่ยอมแจ้งเตือนล่วงหน้าจากทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ หรือไม่ก็มีเจตนาแอบแฝงอื่นๆ ที่ยากเกินกว่าจะคาดเดาได้

จากการสอบถามนิสิตนักศึกษาฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์

พระเณรนิสิตนักศึกษาผมลองถามพวกเขาดูแล้ว ส่วนมากมักจะบอกว่า "เคยได้ยินอยู่นะ ตอนเข้า ม.ใหม่ๆ (วันปฐมนิเทศนิสิตใหม่) แต่ก็ลืมๆ ไปบ้างล่ะนะ นานแล้ว" (แต่ก็ไม่เคยมีพระเณรนิสิตใหม่รูปไหนรู้จักระเบียบประกาศ 2 ฉบับ นี้จริงๆ สักคน หรือแทบจะไม่รู้จักด้วยซ้ำ ผมถามพระนิสินักศึกษาบางรูปถึงขั้นกล่าวหาเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ว่า "หลอกกินเงินพระนิสิตเฉยๆ มั้ง มันไม่เคยมีหรอกระเบียบตัวนี้"(อาจเป็นเพราะพระนิสิตรายนี้ต้องการจะบวชไปยาวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเรียนจบ จึงไม่มีเหตุจูงใจให้ต้องกระตือรือร้นสนใจอยากรู้เรื่องพวกนี้ จึงไม่รู้และเชื่อว่ามันไม่มี) แบบนี้ก็มี ส่วนพระเณรนิสิตนักศึกษาใหม่ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ จะหาเจอและรู้ล่วงหน้าได้เองได้อย่างไร!!!? ไม่มีทาง! ส่วนพระผู้ออกระเบียบและประกาศ เอะอะก็มีแต่จะเอาพระลูกเดียว ชีวิตเขาจะเป็นยังไงต่อจากนี้ เขาจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจ เขาต้องการบวชนานหรือแค่บวชอุทิศให้ใครโดยมีกำหนดหรือไม่ จะเดือดจะร้อนยังไงไม่ พระผู้ใหญ่ผู้ออกระเบียบประกาศไม่เคยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ บวชมาสมัครเท่าไหร่ก็จะเอาให้หมด ไม่ให้เหลือ ไม่รู้ว่าพระเถรานุเถระที่รับราชการในมหาวิทยาลัยสงฆ์เหล่านี้(กรรมการมหาเถรสมาคม) จะเอาพระนิสิตนักศึกษาไปทำไมตั้งมากตั้งมายนักหนา ผมไม่เห็นด้วยเลย เมื่อสมัยตอนที่ยังไม่มีระเบียบและประกาศลักษณะนี้ พระเณรที่ต้องการบวชยาวนานจนเรียนจบมันก็มีเยอะทุกๆ รุ่นอยู่แล้ว ไม่ความจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้พระสึก มีส่วนน้อยมากที่จะสึกขณะเรียนไปบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่ใช่วิกฤตการอะไร เป็นสิทธิโดยชอบธรรมของเขา ญาติโยมที่รู้ข่าวนี้ยังถาเลยว่า "เขาให้พระบวชแลกหน้าให้เขาหรือ? (บวชเข้าไปเป็นหน้าม้าเป็นหน้าเป็นตาให้แก่คณะสงฆ์ไทย) โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของผู้สมัครเรียนเหล่านั้นว่าจะมีเหตุให้ต้องลาสิกขาระหว่างนั้นหรือไม่ ? มีเหตุเดือดร้อนอันใด(ที่ไม่ใช่เรื่องชู้สาว) พระผู้ออกระเบียบและประกาศไม่เคยคำนึงถึงความจำเป็นของพวกเขาบ้างเลย ไม่นึกถึงครอบครัวของของพวกเขาเหล่านั้นเลยแม้แต่น้อย คิดแต่จะเอาลูกหลานของพวกเขามาอยู่ในวงไพบูลย์มาอยู่ภายใต้อำนาจศาสนจักรที่พวกตนครองอำนาจอยู่ และคิดแต่จะวางแผนออกมาตรการจะเอาลูกหลานชาวบ้านมาอยู่ในอาณัติของพวกตนให้จงได้

ส่งท้าย

สุดท้าย ผมอยากตั้งคำถามทิ้งท้ายไว้ว่า "การบังคับให้คนต้องบวชยาวโดยฝืนใจบวช โดยใช้เล่ห์เหลี่ยมทางกฎหมาย (ระเบียบ และ ประกาศ) โดยอาศัยความบกพร่องในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ บวกกับความไร้เดียงสาในวงการสงฆ์ ทำให้พระหนุ่มเณรน้อยผู้มาสมัครเรียนใหม่ตกหลุมพรางได้อย่างง่ายดาย ผลักพวกเขาให้เดินเข้าสู้เงื่อนไขที่พวกตนได้วางไว้ก่อนแล้วโดยที่พระหนุ่มเณรน้อยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัวก็ถึงเวลาที่แก้ไขข้อมูลอะไรไม่ทันแล้ว ซึ่งเป็นชนวนเหตุให้ผู้สมัครเรียนพลาดการรับรู้และต้องบวชยาวในที่สุด ถึงแม้พวกเขาจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม บวกกับการที่คนบวชมาสมัครเรียนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไรด้วยทำให้ติดกับ ทำให้ต้องบวชยาวตามหลักสูตรโดยไม่ตั้งใจ โดยเอาการเรียนของพระเณรผู้สมัครเรียนเป็นตัวประกันไม่ให้เขาลาสิกขา โดยอ้างถ้าสึกออกไปจะเรียนไม่จบ จนพระหนุ่มเณรน้อยต้องยอมบวชตามหลักสูตรแต่โดยสดุดี อย่างนี้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือไม่ ? !

ถึงคณะสงฆ์จะไม่สามารถทำให้พระหนุ่มเณรน้อยบวชตลอดชีวิตได้ แต่คณะสงฆ์ก็สามารถทำให้พระหนุ่มเณรน้อยบวชตลอดหลักสูตรได้ โดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา รวมถึงครอบครัวของพวกเขาด้วย เมื่อเกิดผลร้ายขึ้นแก่นิสิตนักศึกษาฝ่ายบรรพชิตเพราะเกิดจากระเบียบสึกปรับห้าหมื่นนี้ ก็ไม่สมควรจะมีใครไปพูดประชดซ้ำเติมผู้เสียหายว่า “ถ้าสึกแล้วไม่อยากถูกปรับห้าหมื่น ก็ออกจากมหา’ลัยไปซะ ไม่มีใครห้ามนี่”

จริงๆ แล้ววิธีจัดการกับผู้ที่ลาสิกขาระหว่างเรียนนั้นง่ายมาก ทุกคนเข้าใจ ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย คือ ถ้าลาสิกขาระหว่างเรียนก็ต้องจ่ายค่าเทอมในส่วนต่างเพิ่มเติมย้อนหลังในแต่ละเทอม ไปเพิ่มกับที่เคยจ่ายไปแล้วในขณะที่บวชอยู่ ให้ได้ราคาค่าเทอมเพิ่มขึ้นให้เท่ากันกับฝ่ายคฤหัสถ์ในชั้นปีสาขาเดียวกันกับผู้ที่ลาสิกขานั้น แค่นี้ก็จบ ส่วนภาคเรียนที่เหลือหลังจากาสิกขาแล้วก็ให้จ่ายในราคาเดียวกันกับนิสิตนักศึกษาฝ่ายคฤหัสถ์ต่อไปจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา ทำไมทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ถึงเลือกที่จะหลีกเลี่ยงแนวทางนี้ แต่กลับหันไปใช้วิธีการที่มีความฉ้อฉลแทน ด้วยการตั้งเงื่อนไขขึ้นมือย่างไม่เป็นธรรม และไม่สมเหตุสมผล เพื่อกันไม่ให้ลาสิขาได้ ซึ่งเป็นวิธีสืบทอดศาสนาทายาทที่โลว์คลาสมากๆ ยอมทำร้ายคนอื่นเพื่อสืบทอดศาสนาทายาทด้วยวิธีที่สกปรก

แต่น่าสงสัยว่า ทำไมเวลาที่พระเณรเข้าไปสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ใหม่ๆ ทำไมเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ถึงได้ทวงถามสำเนาใบประกาศนักธรรมชั้นเอกกับพระเณรได้ครบทุกรูป แต่ทำไมเรื่องสึกปรับห้าหมื่นเจ้าหน้าจึงไม่เอ่ยถึง ทีเรื่องใบประกาศนักธรรมกลับไม่มีพระเณรผู้สมัครเรียนใหม่รูปใดตกข่าวนี้เลยแม้แต่รูปเดียว ก่อนเขียนใบสมัครเรียนเจ้าหน้าที่จะบอกกล่าวทวงถามกับพระเณรทุกรูปที่เข้ามาสมัครเรียนว่าสอบผ่านนักธรรมชั้นเอกหรือยัง ถ้าสอบผ่านแล้วให้ส่งใบสำเนาใบประกาศนักธรรมชั้นเอกให้ครบด้วย ถ้ายังสอบไม่ผ่านก็ไปสอบให้ผ่าน แล้วเอามาส่งภายหลังด้วย ไม่รู้ว่าทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ไปกำชับอะไรกับเจ้าหน้าที่ไว้หนักหนา เจ้าหน้าที่ถึงได้ทวงถามแบบทันควัน ทั้งๆที่ ใบประกาศนักธรรมชั้นเอก ถ้าใครยังสอบไม่ผ่านนักธรรมชั้นเอก ก็สามารถเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยก่อนได้เลย แล้วค่อยไปสอบนักธรรมชั้นเอกให้ผ่านในภายหลังแล้วค่อยเอามาส่งทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ภายหลังก็ได้ 

แต่ทำไมระเบียบสึกปรับห้าหมื่นที่พระเณรจำเป็นต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรกสุดกว่าทุกๆ สิ่ง สำหรับผู้สมัครเรียนใหม่ และไม่ควรรู้ภายหลังเด็ดขาด เพราะส่งผลกระทบใหญ่หลวงที่สุดกับนิสิตนักศึกษา รวมไปถึงครอบครัวของพวกเขาด้วย เรื่องสำคัญใหญ่หลวงขนาดนี้  ทำไมทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ถึงไม่มีนโยบายกำชับกับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ให้ตักเตือนในเรื่องสึกปรับห้าหมื่นแบบนี้บ้าง ทำไมถึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ให้ทวงถามสำเนาใบประกาศนักธรรมชั้นเอกก่อนที่จะยื่นใบสมัครเรียนให้กับพระเณรด้วยซ้ำ ทั้งที่เรื่องสึกปรับห้าหมื่นจำเป็นและสำคัญที่สุดที่ควรจะบอกกล่าวแจ้งเตือนพระเณรก่อนที่จะยื่นใบสมัครเรียนให้พวกเขาทำไมไม่เตือน แต่ทำไมไม่มีกระบวนการแจ้งเตือนแบบเดียวกันกับสำเนาใบนักธรรมให้บอกกล่าวพระเณรล่วงหน้าเลย หรือทางมหาวิทยาลัยสงฆ์เห็นใบประกาศนักธรรมสำคัญกว่าชีวิตและครอบครัวของผู้สมัครเรียน อย่าลืมว่าคนที่ส่งเสียพระเณรมาเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ตัวจริง ไม่ใช่งานกิจนิมนต์ที่พวกเขาต้องรอคอยให้มาถึง แต่เป็นพ่อแม่ของพวกเขาต่างหาก. 
 

สึกปรับห้าหมื่น: ปัญหาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ไทย 1

สึกปรับห้าหมื่น: ปัญหาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ไทย 2

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท