Skip to main content
sharethis

ต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาจากปฏิบัติการของพรรคเพื่อไทยในการนับองค์ประชุมและไม่แสดงตนในที่ประชุมสภาฯ เพื่อแสดงให้เห็นปัญหาของรัฐสภาที่ควรจะมี ส.ส.ของฝ่ายรัฐบาลเข้ามาเป็นองค์ประชุมเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงๆ แล้วกลับมีจำนวนไม่ครบองค์ประชุมขัดกับหลักการ “ปกครองด้วยเสียงข้างมาก เคารพสิทธิเสียงข้างน้อย” ทำให้เกิดเหตุสภาล่ม 2 ครั้งติดต่อกัน จากตลอดอายุ 3 ปีของสภานี้ ที่ล่มมาเป็นครั้งที่ 15 แล้ว พรรคเพื่อไทยชี้ไปที่ความรับผิดชอบของรัฐบาล และย้ำว่าหากทำไม่ได้ก็บริหารไม่ได้ ควรแสดงความรับผิดชอบ “ลาออกไป” ขณะเดียวกันวาระสำคัญในการประชุมนั้นคือ ร่าง พ.ร.บ.สรุาก้าวหน้าฯ ที่พรรคก้าวไกลเสนอ และรายงานบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ทำให้เกิดการถกเถียงวิพากษ์แนวทางการเคลื่อนไหวกัน ฝั่งพรรคก้าวไกลออกมาระบุว่า การนับองค์ประชุมไม่ควรนำมาใช้ในทุกเรื่อง แต่ต้องดูเป็นเรื่องๆ เรื่องของประชาชนสำคัญกว่าการตรวจสอบองค์ประชุมสภา ไม่อยากให้นำมาเป็นเกมการเมืองเพื่อเอาชนะกันนั้น

การถกเถียง ตรวจสอบ วิพากษ์ถึงหลักการและแนวทางระหว่างกันเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้พรรคหรือกลุ่มการเมืองที่เป็นแนวร่วมฝั่งฝ่ายการเมืองเดียวกันมักมีประเด็นขัดแย้งกัน หรือวิวาทะกันทั้งในเชิงวิธีคิดและวิธีการ และประเด็นสภาล่มก็ไม่ใช่ครั้งแรก ในโอกาสนี้จึงขอย้อนทวนอีก 3 ประเด็นที่พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลเคยเห็นแย้งกัน

 

ประเด็น

พรรคเพื่อไทย

พรรคก้าวไกล

สภาล่ม 

ระหว่างวันที่ 2-4 ก.พ.65 ทำให้ ร่างพ.ร.บ.สรุาก้าวหน้าฯ ที่พรรคก้าวไกลเสนอ และรายงานบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ไม่ผ่านการพิจารณาในการประชุมครั้งนั้น

ข้อมูลเพิ่มเติม 

หลังจากต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาสภาล่ม 2 ครั้งติดต่อกัน ทำให้สภาผู้แทนฯชุดนี้ล่มเป็นครั้งที่ 15 แล้ว (ที่มา iLaw)

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงาน เมื่อ ก.ค.64 กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักงานเลขาฯ สภาฯ ระบุว่า ร่างกฎหมายประชาชน 59 เรื่องถูกตีตก จากชั้นรัฐสภา นายกฯไม่รับรอง และประธานรัฐสภาวินิฉัยให้จำหน่ายเรื่อง รวม 14 ฉบับ 

ความเห็นของ ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และภูมิธรรม เวชยชัย แกนนำพรรคฯ ระบุ องค์ประชุมเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาล ที่ต้องทำให้ครบองค์ สภาล่มจึงเป็นภาระและความรับผิดชอบของรัฐบาล ถ้าทำไม่ได้ก็บริหารไม่ได้ ควร แสดงความรับผิดชอบ “ลาออกไป”

ขัดหลักการ “ปกครองด้วยเสียงข้างมาก เคารพสิทธิเสียงข้างน้อย” การไม่เป็นองค์ประชุมให้ฝ่ายรัฐบาล ถือเป็นการตรวจสอบรัฐบาล

(ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์)

ความเห็นของ ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อและ ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ระบุว่า การนับองค์ประชุมไม่ควรนำมาใช้ในทุกเรื่อง แต่ต้องดูเป็นเรื่องๆ เรื่องของประชาชนสำคัญกว่าการตรวจสอบองค์ประชุมสภา ไม่อยากให้นำมาเป็นเกมการเมืองเพื่อเอาชนะกัน 

ส.ส.ไม่ว่าจะฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ขอให้เป็นฝ่ายเดียวคือฝ่ายนิติบัญญัติที่จะออกกฎหมายนี้เพื่อประชาชนในสิ้นเดือนก.พ.

 (ที่มา : ข่าวสดออนไลน์และมติชนออนไลน์)

งบกลาง

ส.ค.64, กมธ.ตัดลดงบประมาณรายจ่ายปี 65 และขอแปรงบ 16,300 ล้านบาทไปไว้ที่งบกลาง 1 หมื่นล้านบาท กมธ.จากพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงกมธ.พรรคเพื่อไทย ลงมติเห็นชอบให้แปรงบ 16,300 ล้านบาท ไปไว้ที่งบกลาง

ขณะที่กมธ.จากพรรคก้าวไกล 6 เสียง และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.พรรคประชาชาติ 7 เสียง คัดค้าน

ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.และเลขาฯพรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธาน กมธ.งบฯ แถลงว่าการนำงบที่ตัดได้ไปเพิ่มในงบกลาง เพื่อบรรเทาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมปฏิเสธคำกล่าวที่ว่า เมื่อโยกเงินเข้างบกลาง พล.อ.ประยุทธ์ จะเอาไปใช้อย่างไรก็ได้

"ที่กล่าวกันว่าจะเอาไปซื้ออาวุธมายิงพี่น้องประชาชน เป็นคำกล่าวที่เกินเลยข้อเท็จจริง เพราะในข้อเท็จจริงแล้วการใช้งบกลางมีระเบียบการใช้เงินรองรับ ไม่สามารถใช้เงินนอกวัตถุประสงค์หรือใช้โดยปราศจากการตรวจสอบได้" เลขาฯพรรคเพื่อไทย กล่าว 

(ที่มา : บีบีซีไทย)

ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.พรรคก้าวไกลในฐานะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบฯ แปรงบไปยังงบกลางมีความไม่ชอบมาพากล ไม่เหมาะสม เพราะการไปเพิ่มงบกลาง 1 หมื่นกว่าล้านบาท แม้อ้างเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด อีกทั้งงบกลางเป็นอำนาจเต็มของนายกฯ ที่จะอนุมัติงบประมาณไปใช้ จึงยากในการตรวจสอบ

(ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์)

แก้รัฐธรรมนูญ

มิ.ย.64, ระหว่างแตะกับไม่แตะหมวด 1, 2 

15 มิ.ย.64 ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย แถลงจุดยืนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยว่า เตรียมยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร.มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยยกเว้นหมวด 1 และหมวด 2 

(ที่มา : ข่าวสดออนไลน์)

รังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล อภิปรายว่าการแก้ไขหมวด 1-2 ไม่ใช่เรื่องของการล้มล้างการปกครอง เพราะภายใต้รัฐธรรมนูญ มาตรา 255 กำหนดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการแก้ไขระบอบการปกครองหรือรูปแบบของรัฐจะกระทำมิได้อยู่แล้ว ในขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ก็มีการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแก้ไขนั้นสามารถทำได้

(ที่มา : iLaw)

ระบบเลือกตั้ง

มิ.ย.64 ระหว่างแก้เป็นบัตร 2 ใบ กับ MMP

พรรคใหญ่อย่างพรรคพลังประชารัฐ แกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทย แกนนำฝ่ายค้าน และพรรคประชาธิปัตย์ให้การสนับสนุนการกลับไปสู่ระบบบัตรสองใบ คิดคะแนนเขตและบัญชีรายชื่อแยกกัน 

สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่าระบบ 2 ในเพื่อสะท้อนเจตนารมณ์ประชาชน เพราะระบบบีบบังคับให้ต้องเลือกทั้งคนและพรรคพร้อมกัน ซึ่งไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน แต่ถ้าเป็นแบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ หากประชาชนชอบนายสุทิน ก็ลงคะแนนเลือกนายสุทิน แต่ถ้าไม่ชอบพรรคที่ตน สังกัดก็สามารถลงคะแนนให้พรรคอื่นได้ ประชาชนไม่ถูกกดดันและสื่อถึงความต้องการของประชาชนที่แท้จริง

(ที่มา :  iLawประชาชาติธุรกิจออนไลน์)

พรรคขนาดกลาง และพรรคขนาดเล็กอื่น ๆ กลับไม่ให้การสนับสนุน เช่น พรรคภูมิใจไทยซึ่งประกาศงดออกเสียงทั้งในวาระสองและสาม หรือพรรคก้าวไกลซึ่งสนับสนุนระบบ MMP แบบประเทศเยอรมนี 

ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ระบุว่า ระบุบ 2 ใบนั้น ทำให้พรรคใหญ่เกิดการกินรวบและนำสู่การรัฐประหาร 

ธีรัจชัย ระบุอีกว่าพรรคเสนอสูตรการคำนวณแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMP เพราะเป็นกติกาที่สะท้อนความต้องการของประชาชนเพื่อให้ได้พรรคการเมืองมาบริหารประเทศดีกว่าแบบรัฐธรรมนูญ 2540

(ที่มา : iLaw, ไทยพีบีเอส และ มติชนออนไลน์)

 

นอกจากนี้ยังมีเมื่อ ต.ค.62 เรื่อง พระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นหน่วยงานบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ.2562 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ โดยพรรคเพื่อไทยโหวตเห็นด้วย ขณะที่พรรคอนาคตใหม่ นำโดยปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคฯ อภิปรายทักท้วงและขอใช้สิทธิ์ลงมติไม่อนุมัติพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว เนื่องจากขัดต่อเงื่อนไขการตรา พ.ร.ก. ซึ่งรัฐธรรมนู​ญ มาตรา 172 วรรคสองกำหนดว่าเมื่อ ครม. เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทั้งนี้การรักษาความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ รวมทั้งให้ปฏิบัติภารกิจตามพระราชอัธยาศัยและตามพระราชประเพณีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานกองทัพสามารถดำเนินการต่อประเด็นดังกล่าวได้ และถือเป็นภารกิจหลัก 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net