'ธำรงศักดิ์' เปิดเผยผลโพลสำรวจ 4,588 คน ใน 57 จังหวัด ชี้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยชนะถล่มทลายทั่วประเทศ ภาคใต้คะแนนน้อยสุดแต่ก็ชนะ
22 เม.ย. 2566 มติชนออนไลน์ รายงานว่ารองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดเผยข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52.32 ล้านคน) จำนวน 4,588 คน ใน 57 จังหวัด เรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566
ผลการวิจัยพบว่าคนไทยไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร คสช. 2557 มากถึงร้อยละ 63.45 เห็นด้วยกับรัฐประหาร เพียงร้อยละ 11.78 สอดคล้องกับคะแนนนิยมพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยที่จะถล่มทลายให้ ก้าวไกล-เพื่อไทย
รายละเอียด ดังนี้
1. ผู้ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารของ คสช. 22 พฤษภาคม 2577 มีมากถึงร้อยละ 63.45 คือผู้ที่ได้ตัดสินใจเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ได้แก่ อันดับที่ 1 ก้าวไกล 36.46% อันดับที่ 2 เพื่อไทย 24.30% อันดับที่ 3 ประชาชาติ 2.25% อันดับที่ 4 เสรีรวมไทย 1.0% อันดับที่ 5 ไทยสร้างไทย 0.70%
ผู้ที่เห็นด้วยกับการรัฐประหารของ คสช. 22 พฤษภาคม 2577 ที่มีร้อยละ 11.78 คือผู้ที่ตัดสินใจเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองสืบทอดอำนาจ คสช. และอดีตพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แก่ อันดับที่ 1 รวมไทยสร้างชาติ 4.42% อันดับที่ 2 ประชาธิปัตย์ 2.76% อันดับที่ 3 ภูมิใจไทย 2.62% อันดับที่ 4 พลังประชารัฐ 2.06% อันดับที่ 5 ชาติไทยพัฒนา 0.35%
สำหรับพรรคการเมืองที่เหลือนั้นได้รับความนิยมในระดับน้อยมาก เช่น ชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 0.28 ไทยภักดี ร้อยละ 0.20 และพรรคอื่นๆ รวมกัน ร้อยละ 0.53
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับการรัฐประหารที่มีร้อยละ 24.77 ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองใดอีกร้อยละ 15.75 และไม่แสดงความเห็นร้อยละ 6.32 หรือรวมร้อยละ 22.07
2. ภาคใต้ มีผู้เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 2557 มากที่สุดของทุกภาค หรือร้อยละ 15.79 ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร น้อยที่สุดของทุกภาค ร้อยละ 56.11 ไม่แสดงความเห็น มากที่สุดของทุกภาค ร้อยละ 28.10
ดังนั้น ภาคใต้จึงเป็นภาคที่พรรคการเมืองสืบทอดอำนาจ คสช. และพรรคร่วมรัฐบาลได้รับคะแนนมากกว่าในภาคอื่นๆ แต่ก็ยังอยู่ในระดับน้อยมาก ได้แก่ รวมไทยสร้างชาติ 5.60% ประชาธิปัตย์ 5.60% ภูมิใจไทย 2.69% พลังประชารัฐ 4.29% ชาติไทยพัฒนา 0.29% โดยความนิยมระดับมากในภาคใต้ยังเป็นของพรรคฝ่ายประชาธิปไตย ได้แก่ ก้าวไกล 28.60% เพื่อไทย 16.81% ประชาชาติ 7.92 เสรีรวมไทย 0.51% ไทยสร้างไทย 0.29%
3. ภาคกลาง มีผู้เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 2557 ร้อยละ 11.23 ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ร้อยละ 64.63 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 24.14
ดังนั้น พรรคการเมืองสืบทอดอำนาจ คสช. และพรรคร่วมรัฐบาลได้รับคะแนนระดับน้อยมาก ได้แก่ รวมไทยสร้างชาติ 5.0% ประชาธิปัตย์ 1.24% ภูมิใจไทย 1.67% พลังประชารัฐ 0.97% ชาติไทยพัฒนา 0.54% โดยความนิยมระดับมากเป็นของพรรคฝ่ายประชาธิปไตย ได้แก่ ก้าวไกล 43.14% เพื่อไทย 24.42% เสรีรวมไทย 0.70% ไทยสร้างไทย 0.59%
4. กรุงเทพฯ มีผู้เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 2557 ร้อยละ 8.7 ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ร้อยละ 68.20 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 23.10
ดังนั้น พรรคการเมืองสืบทอดอำนาจ คสช. และพรรคร่วมรัฐบาลได้รับคะแนนระดับน้อยมาก ได้แก่ รวมไทยสร้างชาติ 1.7% ประชาธิปัตย์ 2.7% พลังประชารัฐ 0.7% โดยความนิยมระดับมากเป็นของพรรคฝ่ายประชาธิปไตย ได้แก่ ก้าวไกล 43.50% เพื่อไทย 23.30% เสรีรวมไทย 1.3% ไทยสร้างไทย 1.70%
5. ภาคอีสาน มีผู้เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 2557 ร้อยละ 8.96 ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ร้อยละ 68.71 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 22.33
ดังนั้น พรรคการเมืองสืบทอดอำนาจ คสช. และพรรคร่วมรัฐบาลได้รับคะแนนระดับน้อยมาก ได้แก่ รวมไทยสร้างชาติ 3.31% ประชาธิปัตย์ 1.26% ภูมิใจไทย 1.10% พลังประชารัฐ 1.10% โดยความนิยมระดับมากเป็นของพรรคฝ่ายประชาธิปไตย ได้แก่ ก้าวไกล 35.70% เพื่อไทย 34.60% เสรีรวมไทย 2.53% ไทยสร้างไทย 1.10%
6. ภาคเหนือ มีผู้เห็นด้วยกับการรัฐประหาร 2557 น้อยที่สุด ร้อยละ 7.40 ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ร้อยละ 71.12 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 21.48
ดังนั้น พรรคการเมืองสืบทอดอำนาจ คสช. และพรรคร่วมรัฐบาลได้รับคะแนนระดับน้อยมาก ได้แก่ รวมไทยสร้างชาติ 1.48% ประชาธิปัตย์ 2.47% ภูมิใจไทย 11.11% พลังประชารัฐ 1.97% ชาติไทยพัฒนา 0.25% โดยความนิยมระดับมากเป็นของพรรคฝ่ายประชาธิปไตย ได้แก่ ก้าวไกล 28.40% เพื่อไทย 33.83% เสรีรวมไทย 1.48% ไทยสร้างไทย 1.23%
7. คำอธิบายของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและจะไปเลือกพรรคฝ่ายประชาธิปไตย เช่น เลือกตั้งครั้งนี้เพื่อยุติอำนาจ คสช. เลือกตั้งครั้งนี้เพื่อจะได้นายกรัฐมนตรีฝ่ายประชาธิปไตย เลือกตั้งครั้งนี้เพื่อยุติอำนาจของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เลือกตั้งครั้งนี้เพื่อจะได้รัฐบาลใหม่ที่มีฝีมือบริหารประเทศ เลือกตั้งครั้งที่แล้วไม่เข้าใจเรื่อง ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี เลือกตั้งครั้งที่แล้วเห็นแก่หน้า ส.ส. เขตที่ใกล้ชิด เลือกตั้งครั้งนี้เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ เลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกแบบดับเครื่องชน เลือกตั้งครั้งนี้เพื่อฟื้นสร้างประชาธิปไตยของประเทศ สี่ปีที่ผ่านมาพบว่าไม่ควรให้โอกาสพวกรัฐประหารอีกต่อไปเพราะทำลายเศรษฐกิจของประเทศ
ข้อมูลพื้นฐาน
งานวิจัยทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 4,588 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-17 เม.ย. 2566
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 2,439 คน (53.16%) ชาย 2,023 คน (44.09%) เพศหลากหลาย 126 คน (2.75%)
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม Gen Z (18-26 ปี) 1,915 คน (41.74%) Gen Y (27-44 ปี) 1,016 คน (22.10%) Gen X (44-58 ปี) 1,046 คน (22.80%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (59 ปีขึ้นไป) 613 คน (13.36%)
การศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 492 คน (10.72%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 971 คน (21.16%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 542 คน (11.82%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2,210 คน (48.17%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 373 คน (8.13%)
อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม: นักเรียนนักศึกษา 1,529 คน (33.33%) เกษตรกร 456 คน (9.94%) พนักงานเอกชน 431คน (9.39%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 471 คน (10.27%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 602 คน (13.12%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 600 คน (13.08%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 329 คน (7.17%) อื่นๆ 170 คน (3.70%)
รายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม: ไม่มีรายได้ 939 คน (20.47%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 1,141 คน (24.87%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 1,170 คน (25.50%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 620 คน (13.51%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 302 คน (6.58%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 416 คน (9.07%)