Skip to main content
sharethis

'กัณวีร์' พรรคเป็นธรรม อภิปรายตั้งคำถามกฎหมายควบคุมดอกไม้เพลิงมีหลายฉบับ แต่ทำไมยังเกิดเหตุระเบิดกว่า 100 ครั้งทั่วประเทศ ในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา จี้รัฐเร่งเยียวยาผู้ประสบภัยเหตุโกดังพลุไฟมูโนะระเบิดตามหลักมนุษยธรรมสากล

 

4 ส.ค. 2566 ทีมสื่อพรรคเป็นธรรม รายงานเมื่อ 3 ส.ค. 2566 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ร่วมอภิปรายญัตติด่วนการเยียวยาผู้ประสบภัยเหตุระเบิดโกดังพลุไฟ ที่บ้านมูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

"ผมขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบและผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดโกดังพลุไฟ บ้านมูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ครับ และขออภิปรายถึงสาเหตุของปัญหา และช่องโหว่ในการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงเสนอแก้ไขปัญหา ไม่ให้เกิดขึ้นอีก กระบวนการเยียวยาและพื้นฟูตามหลักมนุษยธรรมสากลและหลักสังคมสงเคราะห์" กัณวีร์ กล่าว

 

กัณวีร์ กล่าวต่อว่า การควบคุมดอกไม้เพลิง มีกฎหมายทั้ง พรบ.วัตถุอันตราย อาวุธปืน ข้อบังคับแนวทางปฏิบัติ หลายฉบับ แต่ทำไมกฎหมายเหล่านั้นถึงยังไม่สามารถเอามาบังคับใช้ได้ ปัญหาหลักๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดเหตุระเบิด 100 กว่าครั้งในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา

"ส่วย" และคอรัปชั่นที่ปัญหาหลัก อย่างที่เพื่อนสมาชิกกล่าวถึง แต่ปัญหาคือการไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ว่าจะมีส่วนในการปล่อยให้มีผู้ประกอบการมาตั้งโกดังพลุไฟกลางชุมชนได้อย่างไร

"ที่มูโนะ อย่างที่ทุกคนเห็นว่าโกดังเก็บพลุไฟอยู่ใกล้กับบ้านไม่เกิน 2 เมตร หากมีการกระทำที่กระทบต่อชุมชนต่อพื้นที่แบบนี้ ต้องจัดทำประชาพิจารณ์ได้หรือไม่ เสริมอำนาจให้ประชาชน คนที่เซ็นต์ใบอนุญาต บ้านของเขาไม่ได้อยู่พื้นที่ระเบิด คนที่เซ็นต์ไม่ได้อยู่ คนที่อยู่ไม่ได้เซ็นต์" กัณวีร์ กล่าว

กัณวีร์มีข้อเสนอให้มีการทำประชาพิจารณ์ หากจะมีโกดังเก็บพลุไฟใกล้ชุมชน ต้องจัดทำธรรมนูญชุมชน สอดคล้องตัวกฎหมายองค์กรชุมชน คล้ายๆ SEA การกำหนดพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา

นอกจากนี้การฟื้นฟูและการเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบ ที่เห็นอยู่ในพื้นที่ตอนนี้ เป็นแค่การกุศล มีการให้ของแต่ไม่มีการวางแผนแบบยั่งยืน จึงจำเป็นต้องใช้หลักการมนุษยธรรมหลักสากล มาบริหารจัดการ

"อย่างที่ทราบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 400 ครัวเรือน เราต้องวางแผนแต่ต้น โดยเฉพาะพื้นที่พักพิงที่ผมได้ลงไปสังเกตการณ์ พบว่าผู้ประสบภัยที่ไปอยู่พื้นที่พักพิงชั่วคราว ต้องมีที่ที่ปลอดภัยให้พวกเขาโดยเร็ว เพราะการสร้างบ้านพักอาศัยต้องใช้เวลาเป็นปี" กัณวีร์ กล่าว

กัณวีร์ระบุว่า ส่วนราชการท้องถิ่น รัฐบาล รวมถึงผู้ที่กระทำผิดและส่วนราชการต้องรับผิดชอบ ต้องใช้โมเดลในช่วงโควิด-19 มาใช้ เร่งหาสถานที่เยียวยาให้ผู้ประสบภัย เร่งจัดการให้เด็กที่ได้รับผลกระทบการศึกษา ได้เรียน รวมถึงทางด้านสาธารณสุข การแพทย์ และจิตใจ ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะที่พักพิงกึ่งถาวร ต้องเร่งดำเนินการโดยเร็ว

 

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net