Skip to main content
sharethis

112WATCH คุยกับ เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงการใช้มาตรา 112 กับประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะต่อเยาวชน และมีคำแนะนำต่อความเสี่ยงจากมาตรา 112

20 พ.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์โครงการ 112WATCH ที่เผยแพร่บทสัมภาษณ์ เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงการใช้มาตรา 112 กับประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะต่อเยาวชน และมีคำแนะนำสำหรับพวกเขา ที่ต้องการทำกิจกรรมทางการเมือง แต่ต้องการลดความเสี่ยงจากมาตรา 112

โดยมีรายละเอียดบทสัมภาษณ์ดังนี้

112WATCH : จำนวนของการฟ้องคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์กำลังลดพื้นที่ทางประชาธิปไตยของประเทศไทยลงไป ในฐานะที่อาจารย์เป็นผู้สอนวิชากฎหมาย เห็นว่า มีแง่มุมใดที่น่ากังวลที่สุดสำหรับการบังคับใช้มาตรา 112 ในลักษณะนี้?

เข็มทอง :  ความคิดพื้นฐานของกฎหมายเกี่ยวข้องโดยตรงกับความสอดคล้องกันและคาดการณ์ได้ มันควรต่างจากคำสั่งจากผู้นำเผด็จการหรือคำสั่งตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ เพราะว่ากฎหมายสามารถคาดการณ์ได้และปรับใช้ได้กับปัจเจกบุคคลทุกคน ไม่ว่าพวกเขาจะมีตำแหน่งทางสังคม ชนชั้น ความเชื่อ หรือเพศสภาพแบบใด หลักคิดของสถาบันตุลาการเกี่ยวข้องกับความยุติธรรมซึ่งบังคับใช้เป็นการทั่วไป หลักคิดนี้คือเรื่องที่ระบบตุลาการในโลกสมัยใหม่ไม่คำนึงถึงไม่ได้ การพุ่งขึ้นของคดีกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์คือบททดสอบที่เป็นแรงกดดันต่อศาลและระบบกฎหมายไทยว่าเป็นไปตามสองสมมติฐานที่กล่าวไปข้างต้นหรือไม่ น่าเสียดายที่กระบวนการยุติธรรมของไทยไม่สามารถผ่านบททดสอบนี้ไปได้ แม้ว่าผู้พิพากษาของไทยจะภาคภูมิใจว่า ตัวเองได้ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่เมื่อเจอกับความจริง ผู้พิพากษาเต็มใจที่จะขยายขอบเขตของกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้อย่างไม่มีเหตุผลจนขยายไปกว่าขอบเขตของตัวบทกฎหมาย และไม่สนใจว่ามันคือการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และทำให้จำเลยต้องเจอสภาวะสองมาตรฐานทางกฎหมาย ที่แย่ไปกว่านั้นคือศาลมีแนวโน้มว่าจะไม่รับคำวิจารณ์ใดๆ ในกรณีนี้ 

การที่ศาลละเลยปัญหานี้มันมีแนวโน้มว่าศาลจงใจละเมิดสิทธิประชาชนด้วย ประเด็นนี้ได้เผยให้เห็นเนื้อแท้ของระบบกระบวนการยุติธรรมไทยว่า ที่จริงแล้วระบบยุติธรรมเต็มใจที่จะยอมจำนนต่ออำนาจ ศาลก็เปิดเผยว่าตัวเองลำเอียงให้กับผู้มีอำนาจ ความชอบธรรมของศาลขึ้นอยู่กับความยอมรับของสาธารณชนสูงมาก สาธารณชนอาจจะไม่ชอบคำตัดสินของศาลในบางกรณี แต่พวกเขามักจะมองในภาพรวมว่าศาลดีและยุติธรรม ดังนั้นพวกเขาจึงยอมรอบอำนาจตุลาการ ปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112 คือ มันไม่ใช่แค่กรณีเดียว แต่มันสะท้อนภาพรวมของทั้งสถาบันตุลาการ ในระยะยาวศาลอาจจะไม่ได้รับการสนับสนุนแม้ว่าจะเป็นประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมือง

ช่วยอธิบายพลวัตของพัฒนาการของการเมืองไทยในปัจจุบันกับการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ได้หรือไม่ และทั้งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

มันเป็นเรื่องปกติมากในช่วงเวลาวิกฤต เมื่อรัฐบาลไม่สามารถบริหารจัดการได้ดี พวกเขาจะเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนไปสนใจเรื่องชาตินิยมเพื่อปิดบังความไร้ความสามารถของตัวเอง น่าเสียดายที่ประชาชนไม่เชื่อโฆษณาชวนเชื่อทั้งหลายของรัฐบาล ประชาชนยังคงเห็นต่างจากรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์เพื่อข่มขู่ประชาชนให้เปลี่ยนความคิด หรืออย่างน้อยก็ไม่วิจารณ์การรณรงค์ที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ ยิ่งรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ รัฐบาลก็จะยิ่งใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 มากขึ้น กฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์มีมานานเกือบหลายร้อยปี แต่การใช้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวพันโดยตรงกับช่วงที่การเมืองไทยมีสภาพอนุรักษ์นิยมมากขึ้น และต้องการจะทำลายคุณค่าแบบเสรีนิยม สิ่งที่น่าตลกร้ายคือ เมื่อรัฐบาลยิ่งใช้กฎหมายรุนแรง เสถียรภาพของระบบยิ่งลดลง ซึ่งกระตุ้นให้ระบอบบังคับใช้กฎหมายหนักขึ้นไปอีก วงจรอุบาศว์แบบนี้ยิ่งทำให้ประเทศติดอยู่ในวิกฤตเรื้อรัง

ปัจจุบัน ความคิดเรื่องนิรโทษกรรมประชาชนกำลังเป็นที่พูดถึงในทางสาธารณะ มีความเห็นอย่างไรต่อการนิรโทษกรรมและนิรโทษกรรมคดีกฎหมายอาญามาตรา 112 ?

มันมีความแตกต่างระหว่างนิรโทษกรรมแบบที่มีคุณค่ากับแบบสงบศึกชั่วคราว นิรโทษกรรมจะมีคุณค่า เมื่อพรรคใหม่เอาชนะระบอบเก่า แล้วพยายามคืนความยุติธรรมให้กับความผิดพลาดหรือความอยุติธรรมในอดีต ระบอบใหม่อาจจะหวังที่จะต้องการแสดงว่าตัวเองให้ความเคารพต่อคนที่มีส่วนในการสนับสนุนระบอบใหม่ อย่างไรก็ตาม นิรโทษในช่วงที่ความขัดแย้งกำลังดำเนินการอยู่จะเป็นเพียงการสงบศึกชั่วคราวเท่านั้น มันเป็นเรื่องเชิงปฏิบัตินิยมมากกว่าจะเป็นเรื่องพันธะทางศีลธรรม การนิรโทษกรรมแบบนี้ไม่ได้มีความตระหนักรู้เรื่องการแก้ไขความอยุติธรรม อย่างน้อยสิ่งที่ดีที่สุดของการนิรโทษกรรมแบบนี้คือการหยุดช่องว่างระหว่างสองฝ่าย มันไม่ได้ไปแก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหาอย่างแท้จริง ถ้าเราเห็นว่านักโทษคดีมาตรา 112 ส่วนใหญ่เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ใช่นักกิจกรรมทางการเมือง เราจะเห็นว่าพวกเขาอยากออกจากคุกให้เร็วมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่สำหรับนักกิจกรรมทางการเมืองมันจะยากขึ้นไปอีก การยอมรับนิรโทษกรรมจากระบอบจะกลายเป็นเรื่องที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะบอกว่า นิรโทษกรรมเป็นการออกกฎหมายโดยฝ่ายเดียว นั่นหมายความว่ารัฐบาลสามารถให้พวกเขาได้โดยไม่จำเป็นต้องขอจากผู้ถูกดำเนินคดี ซึ่งประเด็นเรื่องนักกิจกรรมไม่ควรเอามาเป็นเงื่อนไขต่อการให้นิรโทษกรรมต่อประชาชน

นักเรียน(นักศึกษา)หลายคนอาจมีส่วนในกิจกรรมทางการเมือง (โดยเฉพาะในช่วงบริบทการชุมนุมช่วงปี 2563) อะไรคือคำแนะนำของอาจารย์ต่อพวกเขาเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 ?

น่าเสียดาย แต่ว่ามีคำแนะนำเล็กน้อยเกี่ยวกับความเสี่ยงสำหรับการถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 กฎหมายมันไม่สามารถคาดเดาได้ และไม่มีเหตุผล ซึ่งทำให้แม้แต่ทนายที่เก่งที่สุดก็ไม่อาจจะช่วยเหลือได้ นักกิจกรรมหลายคนรอบคอบเกี่ยวกับคำและเนื้อหาแล้วที่มีการพูดถึงสถาบันกษัตริย์แล้ว แต่ระบบกระบวนการยุติธรรมไทยยังเป็นอำนาจนิยมอยู่มาก ซึ่งไม่ว่าอย่างไรพวกเขาก็มีโอกาสถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112

ในฐานะที่อาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เห็นว่าวิธีใดคือวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการเผชิญหน้ากับกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์?

ทางที่สมเหตุสมผลที่สุดคือ การยอมรับอย่างเปิดเผยว่า มันมีข้อบกพร่องมากมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ บางคนชอบที่จะยืนกรานว่ากฎหมายไม่ใช่ปัญหา และบอกเพียงง่าย ๆ ว่า ปัญหาคือการบังคับใช้อย่างรุนแรง ถ้าเป็นเช่นนั้น เหตุใดกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบไม่สามารถคุ้มกันเหยื่อที่โดนดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้แม้แต่คนเดียว เราต้องยืนกรานถึงความสำคัญของการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน รวมถึงราชวงศ์ด้วย อย่างไรก็ตาม เราต้องเข้าใจว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ใช่แค่ทางออกเดียวที่จะเสริมพระเกียรติและสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะ แม้แต่การฟ้องหมิ่นประมาทธรรมดาก็สามารถทำหน้าที่นี้ได้เหมือนกัน ถ้าเราบังคับใช้อย่างเหมาะสม กฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องต้องถูกนิยามใหม่เพื่อที่จะจำกัดว่าอะไรที่จะนับได้ว่าเป็นความผิดในฐานหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์จริง ๆ การวิพากษ์วิจารณ์อย่างสุจริตต้องได้รับข้อยกเว้นในความผิด จำนวนโทษของคดีต้องลดลงได้ (ไม่จำกัดขั้นต่ำไว้ที่ 3 ปี) เพื่อที่จะให้อำนาจศาลสามารถรอลงอาญาได้ 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net