Skip to main content
sharethis

ศาลปกครองรับคำฟ้อง คดีสาราณียกรหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ จิตร ภูมิศักดิ์ ฟ้องผู้บริหารจุฬาฯ ไม่อนุมัติงบฯ ตีพิมพ์ พร้อมเปิด 2 ประเด็นที่ผู้บริหารจุฬาฯ แจงศาลปกครอง รวมทั้ง 4 ประเด็นข้อชี้แจงจากฝ่ายผู้ฟ้อง พร้อมความเสียหาย 5 ประการ ระบุเป็นคดีแรกของนิสิตที่ฟ้องร้องต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพสื่อต่อจุฬา และอาจจะเป็นบรรทัดฐานในการต่อสู้ต่อไปด้วย

8 มิ.ย.2565 จากกรณีเมื่อต้นธันวาคมปี 2564 กองบรรณาธิการ​สาราณียกร สโมสรนิสิตจุฬาฯ เผยแพร่ เเถลงการณ์สาราณียกร ต่อกรณีไม่สามารถตีพิมพ์หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ จิตร ภูมิศักดิ์ เผยแพร่ตามโครงการได้ จากกรณีสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นไม่อนุมัติงบประมาณในโครงการตีพิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าว นั้น

ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า ต่อมาสาราณียกร จุฬาฯ ยื่นฟ้องชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ต่อศาลปกครอง และล่าสุดศาลปกครองได้รับคำฟ้อง โดยเป็นคดีหมายเลขดำที่ 501/2565 แล้ว

ทั้งนี้หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสโมสรนิสิตและสภานิสิตแล้ว และได้ตีพิมพ์ออกมาในวันเกิดของจิตรเมื่อวันที่ 25 ก.ย.2564 โดยทางสาราณียกรได้ตั้งคำถามกับการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 34 ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และมาตรา 35 ว่าด้วยเสรีภาพสื่อโดย หนังสือลงวันที่ 12 เม.ย. 2565

บรรณาธิการ​ฝ่ายเนื้อหา หนังสือมหาวิทยาลัย จุฬา ระบุถึงกระบวนการอาจจะต้องส่งตัวเอกสารเพิ่มเติมไปยังศาลปกครอง เนื่องด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยทำหนังสือชี้แจงศาลปกครอง สำหรับการนัดหมายนั้นศาลปกครองยังไม่ได้นัดหมายอะไรเพิ่ม

ทั้งนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นคดีแรกของนิสิตที่ฟ้องร้องต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพสื่อต่อจุฬา และอาจจะเป็นบรรทัดฐานในการต่อสู้ต่อไปด้วย

ผู้บริหารจุฬาฯ แจงศาลปกครอง 2 ประเด็น

ด้านผู้บริหารจุฬาฯ หลังจากศาลปกครองกลางได้มีคําสั่งเรียกให้ทําคําชี้แจงนั้น เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดี ปฏิบัติการแทนอธิการบดี ทำหน้งสือชี้แจงถึงสุริยาภรณ์ โพธิ์อิ่ม ตุลาการศาลปกครอง 2 ประเด็นคือ หนึ่ง สํานักบริหารกิจการนิสิตซึ่งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ได้รับหนังสือของผู้ฟ้องคดีผ่านทางระบบเลสเปเปอร์ ซึ่งเป็นระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2564 ชัยพร พิจารณาแล้วได้สั่งการ เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2564 ถึง ผู้อํานวยการสํานักบริหารกิจการนิสิตให้ดําเนินการให้คําแนะนําแก่ผู้ฟ้องคดี และจัดทําหนังสือแจ้งตอบผู้ฟ้องคดี แต่เนื่องจากความผิดพลาดคลาดเคลื่อนจึงมิได้จัดทําหนังสือแจ้งตอบผู้ฟ้องคดี 

สอง การดําเนินการจัดกิจกรรมขององค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาฯ ทุกโครงการจะต้องได้รับอนุมัติโครงการและได้รับอนุมัติเบิกจ่ายเงินงบดําเนินการจาก ชัยพร ที่รับผิดชอบงานด้านกิจการนิสิต เพื่อให้เป็นตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการเงิน การงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินรายได้ของสโมสรนิสิต ทั้งนี้ การเบิกเงินให้นิสิตใช้วิธีการให้ยืมเงินรองจ่าย โดยจ่ายจากบัญชีเงินงบดําเนินการสโมสรนิสิต ซึ่ง ชัยพร เป็นผู้มีอํานาจอนุมัติสั่งจ่าย และสํานักบริหารกิจการนิสิตได้แจ้งให้นิสิตทราบขั้นตอนการขอเบิกจ่ายเงินโครงการ ดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์และได้มีการแจกคู่มือนักกิจกรรมในการสัมมนาผู้นํานิสิตไว้

กรณีผู้ฟ้องคดีรายนี้ สํานักบริหารกิจการนิสิตได้รับหนังสือขององค์การบริหารสโมสรนิสิตฯ ลงวันที่ 15 ส.ค.2564 เรื่อง ขออนุมัติกิจกรรมโครงการ หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับจิตรภูมิศักดิ์ ผ่านทางระบบเลสเปเปอร์ของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 ก.ย.2564 และ ลงวันที่ 23 ส.ค.2564 เรื่อง ขออนุมัติยืมเงินรองจ่าย ถึง รองอธิการบดี เพื่อขออนุมัติยืมเงินรองจ่ายของโครงการดังกล่าวจํานวน 76,221.60 บาท สํานักบริหารกิจการนิสิตจึงได้ประสานงานกับผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับนี้ แล้วเห็นว่าผู้ฟ้องคดี ได้จัดส่งเอกสารมาเฉพาะส่วนสารบัญของหนังสือจึงได้ขอเอกสารร่างเนื้อหา เพื่อประกอบการ พิจารณาอนุมัติจัดกิจกรรมผ่านทางช่องทางออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ยังไม่รับการอนุมัติจัดกิจกรรม ผู้ฟ้องคดีได้ติดตามผลการอนุมัติยืมเงินรองจ่ายเพื่อจัดทําหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับนี้ ผ่านทางช่องทางออนไลน์หลายครั้ง โดยที่ยังไม่ส่งร่างเนื้อหาหนังสือมาประกอบการพิจารณาอนุมัติ โดยอ้างว่าจะต้อง จัดทําให้ทันกับวันที่ตนได้ประชาสัมพันธ์ไว้แล้ว ในวันที่ 25 ก.ย.2564

ต่อมา 25 ก.ย.2564 ผู้ฟ้องคดีได้ส่งหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับนี้ ในรูปแบบ E-book ผ่านทางช่องทางออนไลน์ให้กับสํานักบริหารกิจการนิสิต ชัยพร พิจารณาแล้วจึงอนุมัติให้จัดกิจกรรมดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2564 ภายใต้เงื่อนไขว่า “ให้กํากับดูแลให้ดําเนินกิจกรรม ตามขั้นตอน ตามระเบียบ/ประกาศของมหาวิทยาลัย โดยตรวจสอบรูปแบบ/เนื้อหา ของกิจกรรมล่วงหน้าให้เป็นไปตามกฎหมาย/จริยธรรม/มารยาท แต่ให้อิสระด้านความคิดเพื่อให้คําแนะนํานิสิต” เมื่อผู้ฟ้องคดีมิได้ดําเนินการตามขั้นตอนที่ต้องได้รับอนุมัติโครงการก่อนดําเนินการ จึงเป็นเหตุผลให้ ชัยพร ไม่สามารถอนุมัติให้เบิกเงินยืมรองจ่ายสําหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนการอนุมัติโครงการหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับนี้ ในวันที่ 7 ต.ค.2564 ได้ ซึ่งเป็นไปตามที่กําหนดไว้ใน ระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการเงิน การงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินรายได้ของสโมสรนิสิต

คำชี้แจงจากผู้บริหารจุฬาฯ ถึงตุลาการศาลปกครอง 2 ประเด็น

4 ประเด็นข้อชี้แจงฝ่ายผู้ฟ้อง พร้อมความเสียหาย 5 ประการ

ขณะที่ฝ่ายผู้ฟ้องทำคำชี้แจงต่อศาลปกครอง 4 ประเด็นด้วยกัน

โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. คณะกรรมการองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัย สามัญครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 มีมติรับรองโครงการหนังสือจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและภาษี ใช้งบทั้งหมด 95,277 บาท คณะกรรมการดังกล่าว ได้มอบให้หน่วยงานหรือบุคคลใด หรือเป็ นอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือบุคคลใดใน การดําเนินการเพื่อขออนุมัติยืมเงินรองจ่ายงบสโมสรนิสิต ในโครงการหนังสือจิตร ภูมิศักดิ์ จํานวน 76,221.60 บาท พร้อมทั้งให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อศาล 

หลังจากที่ที่ประชุมคณะกรรมการองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สมัยสามัญครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 มีมติรับรองโครงการหนังสือ จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและภาษี ใช้งบทั้งหมด 95,277 บาท ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัยสามัญ  ครั้งที่ 3/2564 อํานาจในการดําเนินโครงการรวมถึงการดําเนินการเพื่อขออนุมัติยืมเงินรองจ่าย งบสโมสรนิสิตฯ ในโครงการหนังสือจิตร ภูมิศักดิ์ จํานวน 76,221.60 บาท จะเป็นของประธาน  โครงการหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับจิตร ภูมิศักดิ์ ได้แก่ นางสาวณัฏฐณิชา ภู่คล้าย และนายธนะพนธ์ นาคช้อย ตามเอกสารโครงการหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับจิตร ภูมิศักดิ์ โดยนางสาว ณัฏฐณิชา ภู่คล้าย และนายธนะพนธ์ นาคช้อย ได้ดําเนินการขออนุมัติยืมเงินรองจ่ายงบสโมสร นิสิตฯ ตามขั้นตอนการขออนุมัติยืมเงินรองจ่าย โดยยื่นหนังสือแบบบันทึกยืมเงินรองจ่ายและ หนังสือขอยืมเงินรองจ่าย ลงวันที่ 23 ส.ค. 2564 ผ่านเหรัญญิกองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นางสาวณัฐชญา ใหม่นิถะ) และนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในขณะนั้น (นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล) ให้แก่ฝ่ายพัฒนานิสิต สํานักบริหาร กิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยฝ่ายพัฒนานิสิตฯ ได้ประทับตรารับหนังสือ เลขรับที่  พน.00620/2564 วันที่ 11 ต.ค. 2564 เวลา 09.12 น. ตามแบบบันทึกยืมเงินรองจ่ายและขอ ยืมเงินรองจ่าย ที่ อบจ. 10-010/2564 ซึ่งตามปกติจะได้รับการอนุมัติยืมเงินรองจ่ายภายใน ระยะเวลา 2 สัปดาห์หลังยื่นหนังสือ

2. ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ได้รับมอบอํานาจหรือได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหรือ บุคคลใดในการดําเนินคดีนี้หรือไม่ อย่างไร ตามหลักฐานใด

 ข้าพเจ้ามีอํานาจในการดําเนินคดีในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารตาม หลักฐานคําสั่งบรรณาธิการบริหารสาราณียกรที่ บห.สร. 1/2564 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการ บริหารสาราณียกร ให้ทําหน้าที่เป็นรองบรรณาธิการบริหารฝ่ายเนื้อหา ซึ่งต้องดูแลรับผิดชอบ เกี่ยวกับการทํางานด้านเนื้อหาโดยรวมของสาราณียกรในทุก ๆ โครงการ ซึ่งรวมถึงการจัดทํา หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับจิตร ภูมิศักดิ์ นี้ด้วย นอกจากนั้นแล้ว ข้าพเจ้ายังเป็นหนึ่งในกอง บรรณาธิการบริหารฝ่ ายเนื้อหาตามหลักฐานรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร สาราณียกร ครั้งที่ 14 /2564 และยังเป็นผู้เสียหายโดยตรงเนื่องจากทางสํานักบริหารกิจการนิสิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปฏิเสธที่จะให้งบในการตีพิมพ์หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับจิตร ภูมิศักดิ์ 

จึงทําให้สถานการณ์ทางการเงินในสาราณียกรมีปัญหา ไม่สามารถดําเนินตามแผนการใช้ งบประมาณแบบเดิมได้ อีกทั้งการที่สํานักบริหารกิจการนิสิตปฏิเสธที่จะให้งบประมาณในการ ตีพิมพ์หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับจิตร ภูมิศักดิ์ ทําให้สาราณียกรไม่มีงบประมาณที่จะนําไปชําระ  ให้กับทางโรงพิมพ์ภาพพิมพ์ตามที่ได้ตกลงกับทางโรงพิมพ์ไว้ได้ และข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในผู้ออก เงินเพื่อชําระเงินที่ติดค้างกับโรงพิมพ์จากการขาดสภาพคล่องเพราะถูกปฏิเสธการให้ยืมรองจ่าย

3. ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ได้รับทราบคําสั่งไม่อนุมัติยืมเงินรองจ่ายของรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนิสิต (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยพร ภู่ประเสริฐ) ลงวันที่ 8 พ.ย. 2564  เมื่อใด อย่างไร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับหนังสืออุทธรณ์คําสั ่งดังกล่าวตาม หนังสือที่ สร 3/2564 ลงวันที่ 16 พ.ย. 2564 เมื่อใด อย่างไร ตามหลักฐานใด 

ได้รับทราบคําสั่งดังกล่าวผ่านทางแชตไลน์กับเจ้าหน้าที่ของสํานักบริหารกิจการ นิสิตเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2564 เมื่อ 

เวลา 16.24 น. ตามหลักฐานภาพหน้าจอ LINE_capture_08112564 เจ้าหน้าที่สํานักบริหารกิจการนิสิตแจ้งแก่บรรณาธิการบริหาร ขณะนั้นว่า ไม่อนุมัติทั้งโครงการ คล้ายคลึงกับหนังสือ 23 ตุลา แต่ส่งเอกสารให้เพียงหนังสือไม่ อนุมัติเบิกรองจ่าย ส่วนหนังสือไม่อนุมัติโครงการได้ทวงถามแล้วในวันที่ 9 พ.ย. 2564  แต่มิได้รับการตอบรับใด ๆ จากทางเจ้าหน้าที่จนถึงตอนนี้ มีเพียงคําตอบในแชตไลน์ดังกล่าว เท่านั้นที่บอกว่าไม่อนุมัติทั้งโครงการ ต่อมาในวันที่ 16 พ.ย. สาราณียกรได้ส่งหนังสือที่  สร 3/2564 ลงวันที่ 16 พ.ย. 2564 เพื่ออุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหน้าที่ของสํานัก บริหารกิจการนิสิต ตามหลักฐานภาพหน้าจอ LINE_capture_16112564 และได้ทวงถามเลขรับ หนังสือจากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งในวันที่ 22 พ.ย. ตามหลักฐานภาพหน้าจอ LINE_capture_22112564 _2 , LINE_capture_22112564 _3 , LINE_capture_22112564_4 ซึ่งทางเจ้าหน้าที่สํานักบริหารกิจการนิสิตได้ถ่ายภาพยืนยันการ รับหนังสือดังกล่าว พร้อมเลขรับหนังสือที่ พน. 00721/2564 ลงวันที่ 17 พ.ย. 2564  เวลา 13.57 น. และจนตอนนี้ ทางสาราณียกรยังไม่ได้รับหนังสือตอบกลับใด ๆ อย่างเป็นทางการ

4. ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากคําสั่งไม่อนุมัติยืมเงินรองจ่ายของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยพร ภู่ประเสริฐ)  ลงวันที่ 8 พ.ย. 2564 อย่างไร

ทําให้ข้าพเจ้าไม่สามารถใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามที่คุ้มครองไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 34 ที่ว่า“บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น  การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจ ตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของ บุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพ ของประชาชน เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครองแต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อ หน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้น ความเห็นต่างของบุคคลอื่น” 

การไม่อนุมัติโครงงานหนังสือมหาวิทยาลัยฉบับจิตร ภูมิศักดิ นั้นย่อมเป็นการ ์ จํากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว  

ทั้งนี้แม้หนังสือดังกล่าวจะสามารถจัดพิมพ์ขึ้นได้ แต่มิใช่ในฐานะของหนังสือ มหาวิทยาลัย ที่จะตีพิมพ์เป็นประจําทุกปี แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองก็มีหน้าที่ตาม  พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 มาตรา 8 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะต้องดําเนินการโดยยึดหลักความมีคุณธรรมควบคู่ไปกับความเป็นเลิศทางวิชาการและ เสรีภาพทางวิชาการ และนําความรู้สู่สังคม เพื่อเป็นการเตือนสติและแนวทางแก้ปัญหาสังคม  นอกจากนี้ยังจะต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ 

การไม่อนุมัติหนังสือมหาวิทยาลัยดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห้นว่าจุฬาลงกรณ์ไม่ ดําเนินการโดยยึดหลักตามที่ปรากฏในมาตรา 8 พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.  2551  

ยิ่งไปกว่านั้นการไม่อนุมัติโดยไม่ระบุเหตุแห่งการไม่อนุมัติหนังสือดังกล่าวนั้นก็ แสดงให้เห็นว่าจุฬาลงกรณ์ไม่ได้ดําเนินการโดยโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งตามหลักฐานภาพ หน้าจอ LINE_capture_13092564 จะเห็นว่าทางสาราณียกรมิได้จงใจหลีกเลี่ยงการ ประสานงานด้านเนื้อหากับทางสํานักบริหารกิจการนิสิต ที่มุ่งตรวจสอบเนื้อหาของสาราณียกรมาโดยตลอด เพียงแต่ว่าขณะนั้นตัวเนื้อหายังไม่เสร็จเรียบร้อยดี เพราะอยู่ในขั้นเริ่มต้นประชุม หัวข้อกันเท่านั้น ซึ่งก็ได้สรุปออกมาเป็นสารบัญ และส่งให้สํานักบริหารกิจการนิสิตตรวจสอบ เรียบร้อยแล้วในวันที่ 13 ก.ย. 2564 ทั้งนี้ก็มิได้ถูกทักท้วงใด ๆ ซึ่งได้แนบเอกสารสารบัญ ดังกล่าวมาในคําฟ้องฉบับนี้แล้ว

ต่อมาสํานักบริหารกิจการยังยืนยันที่จะดูเนื้อหาทั้งหมด ตามหลักฐาน LINE_capture_16092564 วันที่ 16 ก.ย. 2564 โดยสื่อสารในทํานองว่าจะยังไม่มีความ คืบหน้าเรื่องงบประมาณ จนกว่าจะได้เห็นเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งทางสาราณียกรได้ทําการส่งหนังสือ บันทึกข้อความที่ สร 1/2564 เรื่อง เสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณของสาราณียกร เมื่อ วันที่ 20 ก.ย. 2564 เพื่อเสนอให้สํานักบริหารกิจการนิสิตพิจารณาการอนุมัติงบประมาณ โดยไม่ตรวจสอบเนื้อหาภายใน ตามหลักฐาน LINE_capture_20092564 เพื่อยืนยันในหลัก เสรีภาพของสื่ออย่างที่ควรจะเป็น แต่ก็มิได้รับการตอบรับใด ๆ

แต่กระนั้น หลังจากที่สาราณียกรเผยแพร่หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ จิตร ภูมิศักดิ์ ผ่านช่องทางออนไลน์และแจ้งสํานักบริหารกิจการนิสิตแล้ว ซึ่งก็มิได้มีการทักท้วงใด ๆ เช่นกัน จนในวันที่ 27 ก.ย. 2564 สาราณียกรได้รับแจ้งว่าโครงการหนังสือมหาวิทยาลัยฉบับ จิตร  ภูมิศักดิ ได้รับการอนุมัติเป็นที่ ์ เรียบร้อย ตามหลักฐาน LINE_capture_27092564 แต่หาก พิจารณาข้อความในแชตไลน์ดังกล่าว จะเห็นว่ามีการบอกไม่อนุมัติก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น อนุมัติ โดยไม่มีหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการแต่อย่างใดอีกเช่นกัน 

แต่แล้วในวันที่ 8 พ.ย. 2564 เมื่อเวลา 16.24 น. ตามหลักฐานภาพหน้าจอ  LINE_capture_08112564 ทางบรรณาธิการบริหารขณะนั้นได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สํานัก บริหารกิจการนิสิต ว่า ไม่อนุมัติทั้งโครงการ คล้ายคลึงกับโครงการหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ วันที่ 23 ต.ค. แต่ส่งเอกสารให้เพียงหนังสือไม่อนุมัติเบิกรองจ่าย ส่วนหนังสือไม่อนุมัติ โครงการได้ทวงถามแล้วในวันที่ 9 พ.ย. 2564 แต่มิได้รับการตอบรับใด ๆ จนกระทั่ง ตอนนี้ ทําให้โครงการนี้ในนามของสโมสรนิสิตต้องหยุดชะงักลง 

พฤติการณ์ทั้งหมด ตั้งแต่ความพยายามที่จะตรวจสอบเนื้อหาจนถึงการปฏิเสธ อนุมัติยืมเงินรองจ่ายนี้ สร้างความยากลําบากแก่การทํางานหลายประการ 

ประการแรก การที่สํานักบริหารกิจการนิสิตไม่ออกหนังสือคําสั่งอย่างเป็น ทางการ ไม่ว่าจะอนุมัติหรือไม่ กลับใช้วิธีส่งให้เจ้าหน้าที่มาแจ้งผ่านทางแชตไลน์เช่นนี้ หรือการ ที่กลับคําพูด แจ้งไปแจ้งมาโดยไม่มีหนังสือคําสั่ง ทําให้ข้าพเจ้าและเพื่อนร่วมงานใน คณะกรรมการบรรณาธิการบริหารไม่สามารถมีความมั่นใจได้ว่างบประมาณอนุมัติแล้วจริง  แม้กระทั่งการปฏิเสธงบยังส่งเอกสารเพียงแต่การปฏิเสธยืมเงินรองจ่าย และใช้วิธีบอกด้วย คําพูดแทนว่าไม่อนุมัติโครงการ ไม่มีเอกสารการอนุมัติหรือไม่อนุมัติอย่างเป็นทางการใดๆ ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ การออกคําสั่งไม่อนุมัติยืมเงินรองจ่ายสร้างความเสียหายแก่การปฏิบัติงาน เกี่ยวกับโครงการหนังสือจิตร ภูมิศักดิเป็นอย่างยิ่ง หากศาลพิจารณาการกระทําของสํานัก ์ บริหารกิจการนิสิตดังกล่าว จะเห็นว่ามีเจตนาซ่อนเร้นเกี่ยวกับการออกคําสั่งไม่อนุมัติยืมเงินรอง จ่ายดังกล่าว เนื่องจากการจะตีพิมพ์หนังสือใด ๆ ต้องใช้ระยะเวลา ต้องวางแผนการติดต่อกับ โรงพิมพ์ และตรวจสอบความเรียบร้อย ซึ่งตามโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาปฏิบัติงานถึง 10 ธ.ค. 2564 เท่านั้น การจะดําเนินงานตามกรอบเวลาดังกล่าวจําเป็นต้องได้รับการอนุมัติยืม เงินรองจ่ายเพื่อให้ทันกําหนดเวลา นอกจากนี้ การปฏิเสธยืมรองจ่าย แต่มิยอมส่งเอกสารปฏิเสธ โครงการดังกล่าว หรือเอกสารปฏิเสธงบประมาณใด ๆ มากไปกว่านี้ยังทําให้ข้าพเจ้าในฐานะ ผู้ปฏิบัติงานไม่อาจจะกะเกณฑ์หรือวางแผนการดําเนินงานใด ๆ ได้ สํานักบริหารกิจการนิสิต  เลือกจะใช้เพียงการบอกโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้ปฏิบัติงาน มีเจตนาซ่อนเร้น เตะถ่วง โดยตั้งใจไม่อนุมัติโครงการ แต่ไม่ยอมออกเอกสารเพื่อยืนยันการปฏิเสธโครงการแต่ อย่างใด มีพฤติการณ์อันไม่โปร่งใสเพื่อเลี่ยงการถูกตรวจสอบ

แม้โครงการหนังสือมหาวิทยาลัยจะสําเร็จลงได้ แต่ก็ไม่ใช่ในรูปแบบที่ตั้งใจไว้  เนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ เป้าหมายของโครงการคือการตีพิมพ์แจกจ่ายตามจุดต่าง ๆ ใน มหาวิทยาลัย เมื่อต้องตีพิมพ์ด้วยงบของทางสาราณียกรเองแล้วทําให้ต้องจําหน่ายในราคาสูงผิดความตั้งใจของกองบรรณาธิการที่ต้องการเผยแพร่เรื่องราวของจิตร ภูมิศักดิให้แก่ผู้สนใจโดย ์ ปราศจากมูลค่า ทั้งนี้ หากศาลพิจารณาหลักฐานรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร สาราณียกร ครั้งที่ 14 /2564 จะเห็นว่าหนึ่งในความตั้งใจของคณะกรรมการบรรณาธิการบริหาร  ที่ต้องการให้ผู้มีส่วนร่วมทําหนังสือได้มีหนังสือเก็บไว้เป็นผลงานส่วนตัว การไม่อนุมัติยืมเงิน รองจ่ายดังกล่าว ทําให้การตีพิมพ์ตามกําหนดการเดิมไม่สามารถกระทําได้ จําเป็นที่จะต้องหา วิธีการอื่นในการตีพิมพ์หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับจิตร ภูมิศักดิ ได้แก่การตีพิมพ์เพื่อเชิงพาณิชย์ ์ ส่งหนังสือไปจําหน่ายในร้านหนังสือต่าง ๆ แทน เป็นการเพิ่มภาระงานแก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ โครงการสําเร็จเสร็จสิ้นลง และเพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการจัดทําได้มีหนังสือดังกล่าวเก็บ เป็นของตนตามความตั้งใจ 

ประการที่สอง การไม่อนุมัติยืมเงินรองจ่ายทําให้โครงการชะงักลง จนในที่สุดไม่ สามารถตีพิมพ์ตามกําหนดการเดิมที่จะนําไปแจกจ่ายฟรีตามมหาวิทยาลัยในจุดต่าง ๆ ตาม โครงการ ทําให้สาราณียกรต้องชี้แจงแก่ผู้ที่สนใจในช่องทางออนไลน์ในรูปแบบของแถลงการณ์ สาราณียกรต่อกรณีไม่สามารถตีพิมพ์หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ จิตร ภูมิศักดิ เผยแพร่ตาม ์ โครงการได้ ดังที่แนบมาในพยานหลักฐานโพสต์แถลงการณ์สาราณียกร เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2564 ในหน้าเพจ Facebook: CHU Magazine (link:https://www.facebook.com/CHUMAGofficial/posts/5299007566792692)

ประการที่สาม การตัดสินใจไม่อนุมัติยืมเงินรองจ่ายของสํานักบริหารกิจการนิสิต สร้างบรรทัดฐานใหม่แก่การทํางานของสาราณียกร โครงการใด ๆ จะไม่สามารถดําเนินการ อย่างเต็มที่เนื่องจากต้องกังวลว่าจะถูกตัดงบภายหลังดังเช่นกรณีนี้หรือไม่ เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ ไม่สามารถส่งเนื้อหาให้ดูก่อนได้ เนื่องจากกระบวนการทําหนังสือกินเวลาเกือบตลอดทั้ง ช่วงเวลาที่ประมาณไว้ในโครงการ เนื้อหาทั้งหมดจะต้องถูกตรวจสอบเพื่อให้ได้เงินงบประมาณ  

สร้างความกังวลใจในการทํางานเป็นอย่างยิ่ง ละเมิดเสรีภาพในการสร้างสรรค์ผลงานของฝ่าย เนื้อหาอย่างร้ายกาจ ไม่มีความชัดเจนว่าสิ่งใดทําได้ สิ่งใดทําไม่ได้ เสี่ยงต่อการสูญเสียเวลาและ ทรัพยากรไปโดยไม่คุ้มค่ากับคนทํางาน สร้างข้อจํากัดให้กับผู้ปฏิบัติงานด้วยเงื่อนไขเรื่องเงิน  สร้างความเดือดร้อนแก่ข้าพเจ้าในฐานะรองบรรณาธิการบริหารฝ่ายเนื้อหา ที่ต้องถูกจํากัดการ ทํางานด้วยเงื่อนไขเรื่องเงินดังที่กล่าวมา

ประการที่สี่ การไม่อนุมัติยืมเงินรองจ่ายโดยปราศจากเหตุผลที่เพียงพอทําให้ ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถแน่ใจได้ว่าในอนาคตของการทํางานจะต้องทําอย่างไรเพื่อให้ได้ งบประมาณ ในเมื่อตามความจริงแล้วสํานักบริหารกิจการนิสิตไม่มีสิทธิจะเรียกตรวจสอบเนื้อหา ของสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น การส่งสารบัญให้ตรวจสอบไม่เพียงพอต่อความต้องการของสํานักบริหาร กิจการนิสิต แม้จะครบถ้วนทุกบทความ และชื่อบทความต่าง ๆ ก็ล้วนสื่อสารถึงเรื่องที่ตั้งใจจะ เขียนได้ดี สาราณียกรไม่อาจทํางานในส่วนเนื้อหาได้ตามกรอบเวลาอยู่แล้วหากมีการขอ ตรวจสอบเนื้อหา “ทั้งหมด” ก่อนอนุมัติโครงการ ดูเหมือนว่าจะเป็นการใช้อํานาจตามอําเภอใจ ของสํานักบริหารกิจการนิสิตโดยอ้างเหตุผลเรื่องไม่ส่งเนื้อหาให้ตรวจสอบ ซึ่งไม่มีมูลความจริง ในเมื่อทางสาราณียกรได้ส่งสารบัญให้ตรวจสอบแล้ว ดังนั้น จากกรณีนี้ผู้ร้องถูกละเมิดจากการ ใช้อํานาจเกินขอบเขตของสํานักบริหารกิจการนิสิต โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร

ประการที่ห้า เป็นผู้เสียหายโดยตรงเนื่องจากทางสํานักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปฏิเสธที่จะให้งบในการตีพิมพ์หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับจิตร ภูมิศักดิ์ จึงทําให้สถานการณ์ทางการเงินในสาราณียกรมีปัญหา ไม่สามารถดําเนินตามแผนการใช้ งบประมาณแบบเดิมได้ อีกทั้งการที่สํานักบริหารกิจการนิสิตปฏิเสธที่จะให้งบประมาณในการ ตีพิมพ์หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับจิตร ภูมิศักดิ์ ทําให้สาราณียกรไม่มีงบประมาณที่จะนําไปชําระให้กับทางโรงพิมพ์ภาพพิมพ์ตามที่ได้ตกลงกับทางโรงพิมพ์ไว้ได้ และข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในผู้ออก เงินเพื่อชําระเงินที่ติดค้างกับโรงพิมพ์จากการขาดสภาพคล่องเพราะถูกปฏิเสธการให้ยืมรองจ่าย

คําขอของผู้ฟ้องคดี 1. ให้เพิกถอนคําสั่งไม่อนุมัติยืมเงินรองจ่ายของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต  (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ) ลงวันที่ 8 พ.ย. 2564

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net