Skip to main content
sharethis

1 ก.ค. 2553 - หลังรัฐบาลได้ประกาศแผนปรองดองแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจเรื่อง "ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า" โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในทุกภาคของประเทศจำนวน 1,483 คน เมื่อวันที่ 25 – 27 มิถุนายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในด้านต่างๆ เฉลี่ยรวม 3.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน  โดยมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพด้านเศรษฐกิจมากที่สุด (3.92 คะแนน)  รองลงมาคือด้านสังคม (3.58 คะแนน)  ส่วนด้านการเมืองประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (3.20 คะแนน) 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน (มิถุนายน 2552) ที่มีคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.05 คะแนน พบว่าคะแนนความเชื่อมั่นลดลง 0.48 คะแนน หรือลดลงร้อยละ 13.4

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุด คือ 2.17 คะแนน  ถัดขึ้นมาคือความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ได้  3.16 คะนน  และความเชื่อมั่นต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้ 3.16 คะแนนเท่ากัน (โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางที่ 1)

เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่า ศักยภาพของประเทศไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะยังคงเหมือนเดิม
 
สำหรับสิ่งที่ประชาชนมองว่าเป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญที่สุดในการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย 3 อันดับแรก ได้แก่  การที่คนไทยขาดความรักความสามัคคี/ขัดแย้งกัน/ขาดน้ำใจต่อกัน (ร้อยละ 45.5) รองลงมาคือ การทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 14.1)  และการมีนักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ/ไม่มีจริยธรรม/ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม (ร้อยละ 9.9)

ทั้งนี้ สิ่งที่ประชาชนตั้งใจจะทำเพื่อมีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย อันดับแรกคือ ตั้งใจจะทำหน้าที่ของพลเมืองให้ดีที่สุด (ร้อยละ 34.6 )  รองลงมาคือ จะรักบ้านเมืองไม่ทำลายบ้านเมือง  ไม่ก่อความวุ่นวายหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น (ร้อยละ14.8) และ ตั้งใจว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสรรค์สร้างให้คนไทยรักกัน รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ (ร้อยละ11.3)

ข้อมูลผลการสำรวจมีดังต่อไปนี้

 


1.ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน  ในด้านต่างๆ
(เต็ม 10 คะแนน)

1) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ    3.40
2) ด้านฐานะการเงินของประเทศ    3.53
3) ด้านศักยภาพของคนไทย    4.30
4) ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน    4.47
ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม)    3.92

5)  ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ    3.26
6)  ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย     3.30
7)  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    4.61
8)  ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน    3.16
ความเชื่อมั่นด้านสังคม (เฉลี่ยรวม)    3.58

9)    ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น    2.17
10)  ด้านการปฎิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย     3.16
11)  ด้านความสามารถในการบริหารประเทศ ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน    3.79
12)  ด้านคุณภาพของข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชน     3.69
ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม)    3.20

เฉลี่ยรวมทุกด้าน    3.57


2.ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่า ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมจะยังคงเหมือนเดิม ดังนี้

ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า

1.  ด้านเศรษฐกิจ   
เชื่อว่าจะดีขึ้น  ร้อยละ 33.5
เชื่อว่าจะแย่ลง ร้อยละ 15.9   
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 50.6

2.  ด้านการเมือง   
เชื่อว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 23.4   
เชื่อว่าจะแย่ลง ร้อยละ 23.7   
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 52.9

3.  ด้านสังคม   
เชื่อว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 27.8
เชื่อว่าจะแย่ลง ร้อยละ 20.7
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 51.5

เฉลี่ยรวมทุกด้าน   
เชื่อว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 28.2
เชื่อว่าจะแย่ลง ร้อยละ 20.1
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 51.7

3. สิ่งที่ประชาชนคิดว่าเป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญที่สุดในการพัฒนาศักยภาพโดยรวมของประเทศไทย
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ)

อันดับ 1 ร้อยละ 45.5    ปัญหาคนไทยขาดความรักความสามัคคี/ขัดแย้งกัน/ขาดน้ำใจต่อกัน
อันดับ 2 ร้อยละ 14.1    ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
อันดับ 3 ร้อยละ   9.9    ปัญหานักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ/ไม่มีจริยธรรม/ไม่สามัคคี/เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า
                                     ประโยชน์  ส่วนรวม/เล่นพรรคเล่นพวก
อันดับ 4 ร้อยละ   7.8    รัฐบาลบริหารงานไม่มีคุณภาพ/ขาดความจริงใจ/ไม่สามัคคี/ไม่มีเสถียรภาพ
อันดับ 5 ร้อยละ   5.9    ตัวคนไทยเองที่ยังไม่พัฒนา/คิดไม่เป็น/ขาดความรู้/เห็นแก่ตัว/ไม่มีคุณธรรม
อื่นๆ     ร้อยละ   16.8    เช่น  ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน  ปัญหาการศึกษา  ปัญหาการบังคับ ใช้กฎหมาย 
                                     กระบวนการยุติธรรม  ปัญหายาเสพติด  เป็นต้น 


4. สิ่งที่ประชาชนตั้งใจจะทำเพื่อมีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย

   (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ)

อันดับ 1 ร้อยละ 34.6   จะเป็นคนดีทำหน้าที่ของพลเมืองให้ดีที่สุด
อันดับ 2 ร้อยละ  14.8    จะรักบ้านเมืองไม่ทำลายบ้านเมือง  ไม่ก่อความวุ่นวายหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
อันดับ 3 ร้อยละ 11.3    จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสรรค์สร้างให้คนไทยรักกัน รักชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์
อันดับ 4 ร้อยละ   7.7   จะประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม  ช่วยเหลือคนในชาติ
อันดับ 5 ร้อยละ    7.1    จะไปเลือกตั้ง  เลือกคนดีมาบริหารประเทศ ส่งเสริมประชาธิปไตยไทย
อื่นๆ  ร้อยละ  24.5    เช่น  จะใช้หลักพอเพียงในการดำเนินชีวิต ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน  ตั้งใจทำงาน  รักษาสิ่งแวดล้อม 
                                          และดูแลครอบครัวให้ดีที่สุด

 


 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net