จากกรณีที่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Borders) เผยแพร่รายงานผู้นำโลก 37 คนที่เป็น "นักล่าเสรีภาพสื่อ" ประจำปี 2564 และมีชื่อของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยติดโผด้วยนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่ามีรายชื่อผู้นำประเทศอาเซียนติดโผร่วมถึง 6 จาก 37 คน แสดงว่าผู้นำอาเซียนเกินครึ่งใช้อำนาจที่ตนมีในการลิดรอนเสรีภาพของสื่อมวลชน ไม่เว้นแม้แต่ 'สิงคโปร์' ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีความก้าวหน้าและมีเสรีภาพทางวิชาการมากที่สุดใน 10 ประเทศอาเซียน
ประชาไทจึงขอรวบรวมรายชื่อผู้นำประเทศในอาเซียนทั้ง 6 คนที่ได้ชื่อว่าเป็น "นักล่าเสรีภาพสื่อ" พร้อมชำแหละกลวิธีการล่าและการกำหนดเป้าหมายที่ต้องจำกัด รวมถึงหยิบกรณีศึกษาการเรื่องลิดรอนเสรีภาพสื่อในประเทศนั้นๆ มาให้ทุกคนได้ย้อนอ่านกันอีกครั้ง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนักล่าเสรีภาพสื่อตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 พร้อมบอกว่าวิธีการ ‘ล่าเสรีภาพ’ ของ พล.อ.ประยุทธ์ คือ การตั้งข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อปิดปากประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์ตน หากสื่อใดหัวรั้นไม่ยอมทำตามคำสั่งก็อาจถูกสั่งปิดหรือโจมตีได้ เช่น วอยซ์ทีวี ก็ถูกสั่งปิดช่วงการเลือกตั้งในปี 2562 นอกจากนี้ องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนยังยก 3 เหตุการณ์ที่ พล.อ.ประยุทธ์ 'หมิ่นนักข่าว' ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัด นั่นคือ การฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ใส่นักข่าว การบอกให้นักข่าวสัมภาษณ์หุ่นสแตนดี้ของตนแทนการสัมภาษณ์ตัวจริง และการขู่ว่าจะ 'ประหารชีวิต' นักข่าวที่นำเสนอข่าวนอกลู่นอกทางที่ตนวางไว้ (อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่นี่ คลิก)
โรดริโก ดูเตอร์เต
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ระบุว่า ดูเตอร์เตขึ้นชื่อเรื่องการล่าเสรีภาพสื่อมาตั้งแต่สมัยที่เขาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครดาเบาเมื่อ พ.ศ.2531 สื่อท้องถิ่นกลายเป็นเหยื่อของวิธีการปราบสื่ออย่างรุนแรงของดูเตอร์เต พวกเขาต้องปล่อยข่าวแบบไร้เสียงวิจารณ์ หรือยอมแม้กระทั่งสร้างภาพอันสวยงามให้นโยบายต่างๆ ของดูเตอร์เต
เสรีภาพสื่อในฟิลิปปินส์มีทิศทางแย่ลงนับตั้งแต่ดูเตอร์เตก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะขอบเขตอำนาจของเขาขยายกว้างขึ้นอย่างเหลือคณานับ ดูเตอร์เตจะยิ้นหวานให้กับสื่อของนักธุรกิจที่สนับสนุนเขา และแยกเขี้ยวใส่สื่ออิสระ แปะป้ายว่าสื่อเหล่านั้นคือฝั่งตรงข้าม โดยดูเตอร์เตจะใช้วิธีการจัดการทางกฎหมายกับสื่อที่เขามองว่าเป็นศัตรู เช่น ตั้งข้อหาหมิ่นประมาท ข้อหาเลี่ยงภาษี กระทำผิดกฎหมายการเงิน ยึดใบอนุญาตประกอบกิจการสื่อ ซื้อตัวนักข่าวให้มาอยู่ฝั่งตนเอง หรือแม้กระทั่งตั้งกองทัพ IO มาถล่มสื่อเหล่านั้น
กรณีการล่าเสรีภาพสื่ออันเลื่องชื่อของดูเตอร์เต คือ การจับกุม ‘มาเรีย เรสซา’ บรรณาธิการบริหารของสำนักข่าวออนไลน์ Rappler เมื่อ พ.ศ.2562
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
พลเอกอาวุโสมินอ่องหล่าย
กองทัพพม่าขึ้นชื่อว่าเป็นจอมเผด็จการที่กุมอำนาจสื่ออย่างเบ็ดเสร็จ แม้ว่าก่อนหน้าวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา สถานการณ์เสรีภาพสื่อในพม่าดูจะมีทิศทางดีขึ้น เพราะมีรัฐบาลพลเรือนปกครอง แต่ทันทีที่เกิดการรัฐประหารก็เห็นได้ชัดว่ากองทัพพม่าเข้าควบคุมสื่อทั้งหมด รวมถึงปิดช่องทางการสื่อสารของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น สื่อต่างประเทศที่ทำงานในพม่าก็ถูกกองทัพคุกคามอย่างหนักไม่ต่างอะไรกับสื่อพม่า
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- กองทัพพม่าสั่งปล่อยตัวนักโทษ 2,296 คน มีผู้ประท้วงและนักข่าวรวมอยู่ด้วย
- นักข่าวถูกจับ 3 รายที่รัฐกะฉิ่น หลังรายงานข่าวกองทัพพม่าปราบผู้ประท้วงนองเลือด
- กระทรวงต่างประเทศมะกัน เรียกร้องปล่อยตัวนักข่าวสหรัฐฯ ที่ถูกจับในพม่า
- นักข่าวพม่าที่โดนจับในไทย ปลอดภัยในประเทศที่ 3 แล้ว
- พม่าแจ้งข้อหานักข่าวญี่ปุ่น หลังทำข่าวประท้วงต้านรัฐประหาร-กองทัพพม่าโจมตีทางอากาศ KIA ต่อเนื่อง
- 3 นักข่าวพม่าถูกจับขึ้นศาล หลังตีพิมพ์บทความกล่าวหารัฐบาลคอร์รัปชัน
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ยกตัวอย่างกรณีของวะลง (Wa Lone) และจ่อซออู (Kyaw Soe Oo) ผู้สื่อข่าวชาวพม่าของสำนักข่าวรอยเตอร์ส (Reuters) ซึ่งเป็นผู้เปิดโปงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา ให้กลายเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญของเสรีภาพสื่อในพม่า เพราะหลังจากการเปิดโปงความโหดร้ายของกองทัพพม่า ทั้ง 2 คนก็ถูกตัดสินจำคุกขึ้น 7 ปี ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวใน พ.ศ.2561
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ฮุน เซน
แม้ว่าฮุน เซนจะเป็นผู้นำกัมพูชามานานกว่า 30 ปี แต่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกลับชี้ว่าเขาเพิ่งจะกลายร่างเป็นนักล่าเสรีภาพสื่ออย่างจริงจังเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะฮุน เซน กลัวแพ้การเลือกตั้งในปี 2561 ให้กับพรรคฝ่ายค้าน จึงเริ่มปฏิบัติการล่าเสรีภาพสื่อด้วยการสั่งแบน ขัดขวาง ข่มขู่ คุกคามด้วยสารพัดวิธี ซึ่งภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนก่อนการเลือกตั้ง สื่อกัมพูชาหลายรายถูกบังคับให้ปิดตัว รวมถึงมีนักข่าวหลายคนถูกจับกุมและดำเนินคดี ในขณะเดียวกัน ฮุน เซน ก็สร้างสื่อใหม่ซึ่งเป็นกลยุทธในการผนึกกำลังสร้าง “ระบอบฮุน เซน” ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนยังระบุว่าฮุน เซน มีแผนจะสร้างไฟร์วอลล์ขนาดใหญ่ (Great Firewall) หรือซิงเกิลเกตเวย์ (Single Gateway) เพื่อสแกนเนื้อหาของสื่อต่างๆ ที่เห็นต่างจากรัฐบาล
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- นักข่าวกัมพูชาถูกจับขณะถ่ายทอดสดประท้วงต่อต้านการไล่ที่ในจังหวัดพระสีหนุ
- นักข่าวกัมพูชาถูกทำร้ายร่างกายเพราะทำข่าวการตัดไม้-จับปลาผิดกฎหมาย
- คนร้ายก่อเหตุฆาตกรรมนักข่าว BTBP TV กัมพูชา
- กัมพูชาจำคุกนักข่าว-นักเคลื่อนไหวที่ดิน 20 ปี
- 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อจากกัมพูชาเล่าวิกฤติ รบ. ปิดสื่อ ห่วงต่อไปแตะต้องรัฐบาลไม่ได้
ตัวอย่างการคุกคามเสรีภาพสื่อของผู้นำกัมพูชา เช่น ในปี 2560 สั่งปิด The Cambodia Daily ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ 2 ภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ พร้อมเรียกเก็บภาษีย้อนหลังในมูลค่าสูงถึง 5.5 ล้านยูโร และในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน สถานีวิทยุมากกว่า 30 แห่งต้องงดออกอากาศช่วงข่าว อีกทั้งนักธุรกิจคนหนึ่งซึ่งเป็นพันธมิตรกับฮุน เซน ยังเข้าซื้อกิจการหนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ ซึ่งเป็นสื่ออิสระที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวเรดิโอฟรีเอเชีย 2 คนยังถูกจับในข้อหาเป็นสายลับให้หน่วยงานต่างประเทศอีกด้วย
ลีเซียนลุง
เสรีภาพสื่อในสิงคโปร์นั้นเรียกได้ว่าสวนทางกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จนอาจเรียกได้ว่าไม่มีพื้นที่สำหรับสื่อเสรีบนเกาะสิงคโปร์ องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนบอกว่าสื่อกระแสหลักของสิงคโปร์มีอยู่ 2 บริษัทเท่านั้น ซึ่งลีเซียนลุงสามารถควบคุมข้อมูลข่าวสารได้โดยตรงผ่านสายสัมพันธ์ของชนชั้นปกครอง ดังนั้น จึงรู้กันดีว่าสื่อหลักของสิงคโปร์จะเซ็นเซอร์ตัวเอง ไม่ให้เนื้อหานั้นไปกระทบกับรัฐบาล นอกจากนี้ ลีเซียนลุงยังจัดตั้งคณะทำงานด้านการพัฒนาสื่อ ซึ่งมีอำนาจในการสั่งปิดสื่อต่างๆ ที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสมในสายตาของรัฐบาล และในขณะเดียวกัน ลีเซียนลุงเองยังลุยฟ้องนักข่าวหรือบล็อกเกอร์ที่เขาไม่ชอบหน้า บล็อกเกอร์คนล่าสุดที่โดนลีเซียนลุงฟ้องและศาลเพิ่งตัดสินโทษไป คือ Leong Sze Hian โดยศาลสิงคโปร์สั่งให้เขาจ่ายค่าเสียหายฐานหมิ่นประมาทแก่ลีเซียนลุงเป็นเงินสูงถึง 165,000 ยูโร
สุดท้าย อาวุธลับชนิดใหม่ที่ลีเซียนลุงงัดออกมาใช้ คือ การออกกฎหมายต่อต้านข่าวปลอมซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในปี 2562 ส่งผลให้รัฐบาลสิงคโปร์สามารถชี้เป็นชี้ตายได้ว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เยาวชนสิงคโปร์จำคุกต่อ 1 วัน หลังพ่อแม่ไม่ประกันตัวคดีโพสต์คลิป "ลี กวนยูตายแล้ว"
- เยาวชนสิงคโปร์ผู้วิจารณ์ 'ลีกวนยู' ได้ลี้ภัยในสหรัฐอเมริกาแล้วหลังถูกกักตัว 3 เดือน
- สิงคโปร์เตือนสื่อออนไลน์ "เซ็นเซอร์ตัวเอง" ก่อนเลือกตั้ง
- ผู้กำกับเมืองลอดช่องถูกยึดเทปและกล้องวีดิโอหนังการเมือง
- ตำรวจบุกค้นบ้านเจ้าของสื่อสิงคโปร์ คดีบูสต์โพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์รัฐบาลก่อนเลือกตั้ง
- สิงคโปร์สั่งปิดเว็บ 'เดอะเรียลสิงคโปร์' ใน 'วันเสรีภาพสื่อโลก'
- ศาลในสิงคโปร์ตัดสินจำคุกผู้ก่อตั้งเว็บ 'เดอะเรียลสิงคโปร์' ข้อหายุยงปลุกปั่น
เหงียนฝูจ่อง
เหงียนฝูจ่อง เป็นนักล่าเสรีภาพที่รู้จักวงการสื่อสารมวลชนดีที่สุดก็ว่าได้ เพราะในอดีต เขาเคยทำงานเป็นนักข่าวในสื่อหลักของพรรคคอมมิวนิสต์ และเคยดำรงตำแหน่งสูงถึงระดับบรรณาธิการบริหาร แน่นอนว่าสื่อในเวียดนามมีมากมายหลากหลาย ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ และเว็บไซต์ แต่ทุกสื่อมี บก. คนเดียวกันนั่นคือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ในการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เหงียนฝูจ่อง กล่าวในที่ประชุมว่า “ภายใต้การนำของผม คณะกรรมการกลางของพรรคขอให้ปฏิญาณอย่างหนักแน่นว่าเราจะต่อสู้กับการแสดงออกเรื่องแนวคิดแบบพหุพรรคอย่างต่อเนื่อง”
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- รัฐบาลเวียดนามเพิ่มมาตรการสอดส่องอินเทอร์เน็ต
- เวียดนามอ้างมาตรการ COVID-19 ปิดกั้นเสรีภาพ-ลงโทษคนโพสต์เรื่องโรคระบาด
- เวียดนามออกกฎการใช้โซเชียล หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย
- เฟสบุ๊คยอมบล็อกเนื้อหาต่อต้านรัฐบาลเวียดนาม หลังโดนจำกัดการเข้าถึง 7 สัปดาห์
- เวียดนามจำคุก 5 ปี บล็อกเกอร์โพสต์วิจารณ์รัฐบาล
- สนทนากับหนึ่งในบล็อกเกอร์ที่ทางการเวียดนามต้องการตัว
- แอมเนสตี้เรียกร้องทางการไทยสอบสวนการลักพาตัวนักข่าวเวียดนามในไทย
ที่มา: