Skip to main content
sharethis

ประชาไท สนทนากับ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ในฐานะที่ติดตามประเด็นการซ้อมทารมาน และขับเคลื่อนกฎหมายป้องกันการซ้อมทรมานและอุ้มหายมาอย่างยาวนาน หลังกรณีดังอย่าง #ผู้กำกับโจ้ ถึงมุมมองต่อประเด็นนี้ ที่กรณีการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่อื่นๆ ข้อเสนอในการแก้ปัญหาเชิงระบบและกรณีกฎหมายป้องกันการซ้อมทรมานและอุ้มหายนั้น มีส่วนที่จะแก้อย่างไร ร่วมทั้งตอนนี้ติดขัดในส่วนไหน

โดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหยุดกระทำการทรมานผู้ต้องหาไม่ว่าจะในสถานที่ใด เมื่อไร และไม่ว่าเหตุผลใดก็ตามโดยเด็ดขาด และหยุดวัฒนธรรมการโยกย้ายตำแหน่งเพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำความผิด

พร้อมเสนอ 3 ข้อ ในคดีการซ้อมทรมานเหล่านี้ ว่าควรได้รับการดำเนินการดังนี้ 1. ต้องมีการดำเนินคดี เพื่อนำผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็วที่สุด เพื่อมอบความเป็นธรรมให้แก่เหยื่อและครอบครัวของเหยื่อ 2. เปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินคดีให้สังคมได้รับทราบ และนำผู้กระทำผิดมารับโทษตามกฎหมาย ไม่ใช่เพียงลงโทษทางวินัยเท่านั้น แต่เมื่อพบว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่มีเจตนาฆ่าจะต้องดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด (โดยไม่บังคับใช้โทษประหารชีวิต)

และ 3. ต้องมีกระบวนการคุ้มครองพยานบุคคลระหว่างการสืบสวนและดำเนินคดี โดยต้องให้สิทธิพยานบุคคลสามารถบอกเล่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วน และต้องไม่ถูกข่มขู่หรือลอบทำร้าย โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชา กรณีพยานบุคคลเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net