Skip to main content
sharethis

กลุ่มทะลุฟ้าจัดรำลึก 1 ปี สลายชุมนุม 'หมู่บ้านทะลุฟ้า' ตัวแทน 99 คนที่ถูกจับกุม ลั่นฟ้องกลับ จนท. ที่สลายการชุมนุม ผู้กระทำผิดต้องไม่ลอยนวล

28 มี.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เวลา 17.40 น. กลุ่มทะลุฟ้ารวมตัวที่แยกนางเลิ้ง พร้อมประกาศจะเดินกลับที่ตั้งหมู่บ้านเมื่อ 1 ปีที่แล้วและเรียกร้องให้ตำรวจมาเจรจาให้มีการเปิดรั้ว จากนั้นเวลา 18.00 น. หลังการเจรจากับตำรวจสำเร็จ ผู้ชุมนุมร่วมกันชูสามนิ้วเคารพธงชาติ และนำรั้วเหล็กและหลวดหนามออกแล้วเข้ามารวมตัวที่แยกพาณิชยการ

เวลา 18.30 น. ตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม 99 คนที่ถูกจับกุมในการสลายหมู่บ้านทะลุฟ้าอ่านแถลงการณ์ ประกาศว่าจะทำการฟ้องกลับเจ้าหน้าที่ที่สลายการชุมนุม หลังจากนั้นผู้ชุมนุมวางภาพเหตุการณ์ การสลายหมู่บ้านทะลุฟ้าลงบนผ้าใบและร่วมกันร้องเพลง

สำหรับการชุมนุมของ ‘หมู่บ้านทะลุฟ้า’ เมื่อปีที่แล้วก่อนถูกสลายการชุมนุมนั้น เป็นกิจกรรม จาก ‘เดินทะลุฟ้า’ สู่ ‘หมู่บ้านทะลุฟ้า’ ที่ชุมนุมโดยสงบสันติตลอดมา โดยมีการจัดกิจกรรมที่สืบเนื่องมาจากขบวนเดินทะลุฟ้า ซึ่งมี 3 ข้อเรียกร้อง และ 1 เงื่อนไข คือ 1. ปล่อยเพื่อนเรา 2. เขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชน 3. ยกเลิกมาตรา 112 และประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออกโดยทันที

อนึ่ง “หมู่บ้านทะลุฟ้า” ถูกตั้งขึ้นเป็นพื้นที่ชุมนุมปักหลักข้างทำเนียบรัฐบาล โดยความร่วมมือจากหลากหลายกลุ่ม เพื่อยืนหยัดในข้อเรียกร้อง และมุ่งหวังสร้างพื้นที่สาธารณะของประชาชนให้เป็นพื้นที่เสรีทางการแสดงความคิดของประชาชน ผ่านเวทีปราศัย เสวนา เวิร์กช็อป กวี ดนตรี ศิลปะ กิจกรรม โดยยึดแนวทางสันติวิธี

ในแถลงการณ์ของผู้จัดกิจกรรมระบุว่า นับจากวันที่ประเทศไทยประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยอ้างการควบคุมโรคระบาด มาจนถึงวันนี้รวมเป็นเวลา 2 ปีแล้ว มีผู้ถูกดำเนินคดีที่มีเหตุมาจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างน้อย 1,445 ราย การสลายการชุมนุมหมู่บ้านทะลุฟ้าและจับกุมผู้เข้าร่วมชุมนุมที่ไม่ได้แสดงการต่อต้านโดยไม่มีเหตุใดๆ นอกจากการอ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อปีที่แล้ว เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการใช้อำนาจล้นเกินจากรัฐที่ป่าวประกาศว่าเป็นประชาธิปไตย แสดงให้เห็นว่าเสียงของประชาชน ไม่ได้เป็นและไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐมองเห็น หรือสามารถร่วมรับฟังและร่วมแก้ปัญหาได้ และยังคงเป็นเช่นนั้นเสมอมาจนทุกวันนี้ ความพยายามของรัฐในการลิดรอน ละเมิดสิทธิเสรีภาพและปิดปากประชาชนที่เห็นต่างยังคงดำเนินต่อ โดยยังไม่เคยหันหน้ามารับฟัง

"ครบรอบ 1 ปีนี้ เรายืนยันว่าเราไม่เคยลืมสิ่งที่รัฐกระทำการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ครบรอบ 1 ปีนี้ เรายืนยันว่าผู้กระทำผิดต้องไม่ลอยนวล" แถลงการณ์ ระบุ

รายละเอียดคำแถลงเพิ่มเติม : 

ตั้งแต่เริ่มออกเดิน 247.5 กิโล จากโคราช เป็นขบวนทะลุฟ้า มาจนถึงกรุงเทพฯ ….ตั้งเป็นหมู่บ้านทะลุฟ้า

ปล่อยเพื่อนเรา ซึ่งตอนนั้นมีเพื่อนเรามากมาย ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรมโดยไม่ได้รับสิทธิ์ประกันตัว  เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง  ยกเลิก 112 ที่ถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือ เป็นเงื่อนไขที่รัฐใช้จัดการผู้เห็นต่าง และ 1 เงื่อนไข ที่เราต่างเห็นว่าเป็นเรื่องฉุกเฉิน ฉุกเฉินจริงยิ่งกว่าโรคระบาด คือ การที่ ประยุทธ จันทร์โอชา อยู่ในตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีที่เห็นได้ชัดว่าไม่เคยบริหารงานได้ ไม่เคยแก้ไขปัญหาอะไรได้และยังใช้อํานาจเกินตัวเพื่อตัวเองและพวกพ้อง ดังนั้น ประยุทธ ต้องออกไปโดยทันที 

ทั้งที่ข้อเรียกร้องของพวกเรา มีเพียงเท่านี้ วันนี้เมื่อปีที่แล้ว มีการจับกุม 99 ชีวิต ภายในเวลา 1 วัน วันนี้เมื่อปีที่แล้ว เส้นสันติ วิธีถูกดันจนสุดขอบ วันนี้เมื่อปีที่แล้ว รัฐประกาศโดยการกระทํา ว่าเสียงของเรา ไม่ถูกรับฟัง  วันนี้เมื่อปีที่แล้ว รัฐใช้อํานาจ และกําลังบังคับให้พี่น้องเราที่นี่ยุติการชุมนุม ทั้งที่เป็นการชุมนุมโดยสงบ ไม่มีสัญญานความรุนแรงใดๆ 

จากวันที่การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของราษฎรเริ่มขึ้นในช่วงสองสามปีมานี้ รัฐ ใช้อํานาจล้นเกินละเมิดสิทธิเสรีภาพในการ แสดงออกของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญตลอดมา  นักกิจกรรม ผู้เข้าร่วมชุมนุม สื่อมวลชน ประชาชน ที่ลุกขึ้นมาต่อต้าน ตั้งคําถาม เห็นต่าง ถูกกดดัน ถูกไล่ปิดปาก ทั้งในรูปแบบการใช้กําลัง ใช้อํานาจ และในรูปแบบการใช้กฎหมาย 

อย่างการใช้ข้อหายอดฮิต ที่ถ้าไม่รู้จะบอกว่าผิดอะไร ก็ผิด พรก ฉุกเฉิน พ.ร.ก.ที่ประกาศใช้มาครบรอบ 2 ปีแล้ว และยังต่ออายุ ต่อไป จนคนตั้งคําถามกันไปทั่วแล้วว่า ตั้งมาควบคุมโรค หรือควบคุมม็อบ โดยถึงวันนี้ มีตัวเลขผู้ถูกดําเนินคดีจาก พ.ร.ก. ฉุกเฉินไม่น้อยกว่า 1,445 คน 6 ร้อยกว่าคดีและทั้งหมดเป็นคดีทางการเมือง 

การที่รัฐใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาคุกคาม ดําเนินคดีกับประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ นี้เพื่อ ก่อให้เกิดความหวาดกลัว เพื่อริดรอนเสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออก และเพื่อสร้างภาระ ให้ผู้ถูกดําเนินคดีต้องรับผิด ชอบการต้องเอาตัวเองเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายและเวลามหาศาล 

28 มีนาคม 2564 ก่อนฟ้าสว่าง ขณะที่ผู้ร่วมชุมนุมยังนอนหลับพักผ่อน เจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชน จํานวน 4 กองร้อย วาง กําลังเต็มบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านทะลุฟ้า ประกาศว่า “ช่วงนี้เป็นช่วงที่อยู่ภายใต้พรก.ฉุกเฉิน การจัดกิจกรรมและการกระทําใดๆ นี้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย และเจ้าหน้าที่จําเป็นต้องขอคืนพื้นที่ เปิดพื้นผิวการจราจร ให้เวลาทุกคนเก็บของ 3 นาที”

ไม่ถึง 3 นาทีเจ้าหน้าที่เดินแถวเข้าจับกุมผู้ที่อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านทะลุฟ้า โดยผู้ถูกจับกุมมีทั้งเยาวชน พระสงฆ์และบุคคลทั่วไป จํานวน 67 คน ทั้งหมดถูกนําตัวไปที่กองบังคับการตํารวจตระเวณชายแดนภาค 1 โดยไม่อนุญาตให้รอทนาย และไม่แจ้งจุด หมายปลายทางล่วงหน้า ในเวลาเดียวกัน เจ้าหน้าที่บางส่วนก็เริ่มเก็บรื้อสิ่งของที่ทางเข้าหมู่บ้านทันที หลังเข้ายึดพื้นที่ เจ้า หน้าที่เข้าตรวจค้น รื้อ และยึดสิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ โดยไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องกับหมู่บ้านและทนายความ เข้าร่วมการตรวจค้นประมาณบ่ายสามโมง หลังการเข้าสลายการชุมนุมอย่างอุกอาจในตอนเช้าตรู่ กลุ่มนักกิจกรรมและประชาชน ประกาศตั้ง หมู่บ้านทะลุฟ้าอีกครั้ง ที่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ทางเข้าหมู่บ้านเดิม โดยมีการเล่นดนตรี การชูป้าย และมีตัวแทน ประชาชนกลุ่มต่างๆ ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นอ่านแถลงการณ์ประณามการสลายการชุมนุมที่ไร้ความชอบธรรม และเรียกร้องให้ ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทุกคนทันที 

17 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชน เริ่มนํากําลังเข้าปิดล้อมการชุมนุมอีกครั้ง ตั้งแถว ปิดการจราจรเส้นทางมุ่งหน้าสู่ทําเนียบฯ และอีกสองด้านของสะพานชมัยฯ ส่งสัญญานให้ยุติการชุมนุม ขณะที่ผู้เข้าร่วมชุมนุมยังคงยืนยันสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ และเคลื่อนย้ายไปรวมตัวกันบนถนนบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ หลังพื้นที่จราจรถูกปิดแล้วโดยเจ้าหน้าที่คฝ 

18 นาฬิกา ห้านาทีเจ้าหน้าที่ประกาศให้ยุติการชุมนุมภายใน 15 นาทีโดยอ้างว่าการชุมนุม เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ เจ้าหน้าที่ไม่ประสงค์จะจับกุมใคร ต้องการเพียงเปิดช่องทางจราจรเท่านั้น และประกาศให้ผู้สื่อ ข่าวถอยออกไปจากพื้นที่ 

ผู้ร่วมชุมนุม ยังคงปักหลักต่อไป และยืนยันจะไม่ต่อต้านการจับกุมของเจ้าหน้าที่ โดยนั่งลงบนพื้นที่ที่กําหนดขอบเขตด้วยผืน ผ้าใบสีฟ้า ชูรูปผู้ถูกคุมขัง ท่ามกลางสื่อมวลชนที่ยังคงปักหลักไม่ถอยจํานวนมาก รถเครื่องเสียงฝั่งผู้ชุมนุมเปิดเพลงแสงดาว แห่งศรัทธา ขณะที่เจ้าหน้าที่เริ่มประกาศนับเวลาถอยหลัง และขยับแถวเข้าหาผู้ชุมนุม

18.22 น. เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนเริ่มเดินหน้าเข้ามาปิดล้อมผู้ชุมนุม ขณะที่ผู้ชุมนุมนอนลง ชู 3 นิ้วโดยสงบ ชุดควบคุมฝูงชน ปิดล้อมและกันผู้สื่อข่าวออกนอกวง ก่อนเริ่มทะยอยจับกุมผู้ชมนุมที่อยู่ในวงล้อม ด้วยการหิ้วปีก ด้วยการอุ้ม ขึ้นรถควบคุม โดยมีผู้ถูกจับกุมทั้งสิ้น 32 คน แออัดอยู่ในรถควบคุมผู้ต้องขัง 1 คัน ทั้งหมดถูกนําตัวไปยังกองบัญชาการตํารวจปราบปรามยา เสพติด ซึ่งตั้งอยู่ภายในสโมสรตํารวจ โดยไม่แจ้งจุดหมายแก่ผู้ถูกจับกุม และไม่ยินยอมให้ทนาย ส.ส. ผู้มาสังเกตการณ์ หรือ ญาติเข้าไปในช่วงแรก 

ในวันที่รัฐสร้างปรากฏการณ์จับกุมผู้ร่วมชุมนุมสูงสุดในรอบปีจํานวนรวมถึง 99 คนใน 1 วัน เข้าสลายการชุมนุมโดยที่การ ชุมนุมไม่มีแนวโน้มของความรุนแรงอันเป็นเหตุให้ต้องใช้กําลังเข้าสลาย ฝ่ายประชาชนก็สร้างปรากฎการณ์การแสดงพลังครั้ง ใหญ่ครั้งหนึ่งเช่นกัน โดยในวันรุ่งขึ้นที่ต้องมีการวางเงินประกันเพื่อเป็นหลักทรัพย์ในการประกันตัวผู้ถูกจับกุมหลักเกือบร้อย คน ซึ่งรวมเป็นจํานวนเงินราว 1.7 ล้านบาท ได้มีการระดมเงินสนับสนุนจากประชาชนผู้ไม่เห็นชอบต่อการใช้อํานาจล้นเกิน ของรัฐได้ครบภายในเวลา 1 วัน แสดงให้รัฐได้เห็นว่าประชาชนไม่เห็นด้วยกับการสลายการชุมนุมอย่างไร้เหตุผลโดยรัฐ ทําให้ผู้ ถูกจับกุมได้รับการประกันตัวออกมาได้ทั้งหมด โดยคดียังคงอยู่ในกระบวนการพิจารณคดีจนถึงทุกวันนี้ 

ตลอดระยะเวลาการชุมนุมของกลุ่มเดินทะลุฟ้า จนมาถึงหมู่บ้านทะลุฟ้า กลุ่มแกนนําและเครือข่ายมีแนวทางและข้อเรียกร้อง อย่างชัดเจน ตั้งแต่การเดินเท้าเข้าหามวลชนในพื้นที่ต่างๆ จากโคราช มาจนถึง กรุงเทพฯ และตั้งหมู่บ้านทะลุฟ้า ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2564 เพื่อทํากิจกรรมหลากหลาย เพื่อสร้างการรับรู้ปัญหา และเข้าถึงประชาชน และยืนยันข้อเรียกร้องต่อรัฐ อย่างต่อเนื่อง ยึดมั่นหลักการชุมนุมโดยสันติมีมาตรการดูแลทางสาธารณสุข มีจุดคัดกรอง ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม แต่จะเห็นได้ ว่าเจ้าหน้าที่รัฐใช้ทุกวิถีทางในการสกัดกั้นสิทธิเสรีภาพแสดงออก โดยเฉพาะการใช้ข้อกฎหมายและสถานการณ์โควิด-19 ซึ่ง ณ วันนั้น สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด19 ในประเทศ มีจํานวนไม่เกิน 50 คนต่อวัน จนท้ายที่สุดนํามาสู่การใช้กําลังเข้าสลายการชุมนุมถึง 2 ครั้ง แม้การชุมนุมตั้งแต่เดินทะลุฟ้า มาสู่หมู่บ้านทะลุฟ้า ไม่มีแนวโน้มแสดงถึงความรุนแรงอันเป็นเหตุให้ต้อง สลายการชุมนุม แต่เจ้าหน้าที่รัฐยังคงใช้สถานการณ์โควิดเพื่อจํากัดสิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางการเมือง

สิทธิในการชุมนุม เป็นสิทธิพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย ถึงวันนี้เราทุกคนก็ได้เห็นแล้วว่า การประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน โดย อ้างการควบคุมโรคระบาด ถูกใช้มาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีวี่แววว่าจะหยุด  รัฐรู้ดีถึงสิทธิพื้นฐานของประชาชนในการรวมตัว กันเรียกร้อง ส่งเสียง เมื่อเดือดร้อน เมื่อเห็นว่ารัฐใช้อํานาจไม่ชอบธรรม แต่รัฐก็เลือกที่จะสร้างเงื่อนไข อย่าง การคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้เพื่อรักษาอํานาจของตนเอง และปิดปากประชาชน ทั้งยังมีใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของประชาชนที่ออก มาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองหลายต่อหลายครั้ง และมีท่าทีจะยกระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่การ แสดงออกเหล่านั้นมีเหตุมาจากการบริหารงานผิดพลาด มุ่งเน้นการรวบอํานาจไว้ที่กลุ่มของตนในการบริหารบ้านเมืองโดยไม่ สนใจข้อเรียกร้องของประชาชน โดยมีประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิดและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของรัฐอีกนับ ไม่ถ้วน  และจนทุกวันนี้ก็ยังมีการใช้ข้อกล่าวหาร้ายแรงดําเนินคดีต่อประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพด้วยเหตุไม่เป็นธรรมอย่างต่อ เนื่อง เช่น การใช้มาตรา 112 มาตรา 116 รวมถึงการตั้งข้อกล่าวหาและเงื่อนไขผ่านกลไกทางกฎหมาย ที่สร้างภาระให้แก่ ประชาชนเกินสมควร  การดําเนินคดีโดยรัฐดังกล่าวยังสะท้อนความล้มเหลวของรัฐบาลในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และเห็นประชาชนเป็นศัตรูความมั่นคงของรัฐ 

วันนี้ครบรอบ 1 ปีของ 1 เหตุการณ์ที่มีการใช้อํานาจอุกอาจ ล้นเกินโดยรัฐ  เมื่อผู้ใช้อํานาจ ใช้อํานาจเกินขอบเขต และ มีการกระทําที่ถือว่าผิดตามกฎหมาย เราต้องหยุดวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวล หยุดการใช้อํานาจบริหารที่คิดว่าไม่มีใครสา มารถตรจสอบได้ เรามีสิทธิและความชอบธรรมในการฟ้องผู้ใช้อํานาจรัฐที่ใช้อํานาจโดยมิชอบ  และเราจะดําเนินการ ฟ้องกลับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทําความผิดต่อประชาชนทุกคน โดยเฉพาะ ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีผู้ ดํารงตําแหน่งประธาน ศบค.

เราในนามของ 99 ผู้ต้องหาจากการสลายหมู่บ้านทะลุฟ้า ขอประกาศร่วมกันในวันนี้ว่า ราษฎรจะฟ้องกลับ เพื่อตรวจ สอบการใช้อํานาจของฝ่ายบริหารให้ดํารงไว้ด้วยหลักนิติรัฐ และนิติธรรมสร้างบรรทัดฐานว่าการใช้อํานาจตามอําเภอใจ ของรัฐได้ทําลายสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน รัฐต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิของประชาชน โดยจะมีการฟ้องเรียก ร้องค่าเสียหายจากกรณีใช้อํานาจโดยมิชอบนี้เป็นจํานวนเงิน 9 ล้านบาท และด้วยตัวเลขที่เราจะเรียกร้องนี้จําเป็นต้อง วางเงินจํานวน 180,000 บาทเพื่อเป็นหลักประกันในการยื่นฟ้อง

เราอยากให้พ่อแม่พี่น้องร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการให้การฟ้องกลับของเราในครั้งนี้เกิดขึ้นได้จริง เพื่อเป็นการ สร้างบรรทัดฐานว่าการใช้อํานาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกข้อกําหนดภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน และการ ประกาศห้ามการชุมนุมในคดีนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งปวง เป็นการใช้อํานาจตามความอําเภอใจ สร้างและแสดงอํานาจ เหนือการควบคุมซึ่งได้ทําลายสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนลงอย่างสิ้นเชิง 

แม้จะใช้ระยะเวลายาวนานในการฟ้อง แต่เรามั่นใจว่าเราจะชนะในคดีนี้และค่าเสียหายที่ผู้เกี่ยวข้องในการกระทําความ ผิดครั้งนี้ต้องจ่ายเพื่อเป็นการตอบแทนและเป็นหลักฐานของการกระทําผิด ทุกบาททุกสตางค์ จะถูกนําไปสนับสนุนการ เคลื่อนไหวและการทํางานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ่อแม่พี่น้องทุกท่านโปรดร่วมช่วยพวกเรา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งให้การ ฟ้องนี้เกิดขึ้นจริงได

รัฐต้องหยุดการคุกคามประชาชนในนามของกฎหมาย และอํานาจทางการเมืองเพื่อยุติยับยั้ง หรือห้ามมิให้ประชาชนใช้ สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และผู้ใช้อํานาจในนามของรัฐต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิของประชาชน

ประชาชนมีอํานาจ มีสิทธิมีส่วนในการคิด ตัดสินใจ มีส่วนในการกําหนดชีวิต เสนอแนะ ส่งเสียง ตรวจสอบ อย่าปล่อย ให้กระบวนการปิดปากจากรัฐ ทําให้เรายินยอมให้ผู้ที่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง มาทําให้เราอยู่ใต้การ ควบคุมอํานาจนั้น

ศักดินาจงพินาศ ประชาราษฎร์จงเจริญ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net