Skip to main content
sharethis

ศาลฎีกายกคำร้องขอประกันตัว 'กัลยา' ผู้ต้องขังคดี ม.112 - พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลังทนายยื่นประกันตัวไปเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 โดยศาลระบุ ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ทั้งนี้ คดีของกัลยาเป็นหนึ่งในชุดคดีที่ศาลจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมี พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน เป็นผู้กล่าวหา โดยกัลยาถูกศาลชั้นต้นตัดสินให้จำคุก 6 ปี ไม่รอลงอาญา และถูกคุมขังในระหว่างฎีกา โดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวเรื่อยมาเป็นตั้งแต่ปี 2566

 

19 มิ.ย. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงาน ศาลฎีกายกคำร้องขอประกันตัวในคดี ม.112 - พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของ "กัลยา" หนึ่งในผู้ต้องขังทางการเมือง ยื่นประกันไปเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 โดยศาลระบุ ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

คดีของเธอถูกศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโทษจำคุกตามศาลชั้นต้น โดยให้จำคุก 6 ปี ไม่รอลงอาญา เธอยังคงถูกคุมขังในระหว่างฎีกา โดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวเรื่อยมาเป็นตั้งแต่ปี 2566

ก่อนหน้านี้ ศูนย์ทนายความฯ รายงานว่า คดีของกัลยาเป็นอีกคดีหนึ่งในชุดคดีที่ศาลจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมี พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน เป็นผู้กล่าวหา จากการกระทำบนเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 รวม 4 อย่างด้วยกัน ต่อมา อัยการได้ฟ้องเป็น 2 กระทง

1. คอมเมนต์ใต้โพสต์แนะนำหนังเกี่ยวกับกษัตริย์ในอดีตของเกาหลี ของเพจเฟซบุ๊กแนะนำภาพยนตร์หนึ่ง

2. จากการโพสต์ภาพถ่ายที่มีการพ่นสีเป็นข้อความบนพื้น ในชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี 2563

3. แชร์โพสต์เฟซบุ๊กของ ‘สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล’ ซึ่งโพสต์เกี่ยวกับมีการ์ดผู้ชุมนุมถูกยิงเข้าที่ช่องท้องและได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารักษาตัวที่ห้องไอซียู แล้วเขียนข้อความประกอบ

4. แชร์โพสต์เฟซบุ๊กของ ‘ธนวัฒน์ วงค์ไชย’ ซึ่งโพสต์เกี่ยวกับการจับกุมผู้ชุมนุมการเมือง แล้วเขียนข้อความประกอบว่า “แน่จริงยกเลิกม.112 #แล้วจะเล่าให้ฟัง”

 

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net