Skip to main content
sharethis

We Watch iLaw และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาหัวข้อ "สว.67 ทางข้างหน้า จากสิ่งที่เห็น" ณ ห้อง 322 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อร่วมถอดบทเรียนการเลือก สว.ปี 2567 โดยมีการชวนผู้สมัคร สว. ผู้สังเกตการณ์การเลือก สว. และนักวิชาการที่ติดตามกระบวนการเลือก สว.อย่างใกล้ชิด มาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อสังเกตที่ได้พบเห็นจากการเลือก สว.ปี 2567

4 ข้อสังเกตจากการเลือก สว.67 | 28 มิ.ย. 67

จุดยืนแก้ รธน.ทั้งฉบับ เสนอจัดตั้งองค์กรตรวจสอบการทำงาน สว. | 28 มิ.ย. 67

ช่วงหนึ่ง เทวฤทธิ์ มณีฉาย อดีตบรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท ตั้งข้อเกต 4 ประเด็นจากการเลือก สว.67 ได้แก่ 1. ข้อประยุกต์ของระบบที่เป็นอยู่ เช่น การเลือกรอบไขว้กลุ่มอาชีพในระดับประเทศที่ผ่านมาไม่เปิดให้มีการแนะนำตัว

2. ชัยชนะของผู้เล่น ตราบใดที่ยังไม่ผิด พ.ร.บ. ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. มาตรา 77 เรื่องของการจัดเลี้ยง การให้อามิสสินจ้าง การข่มขู่ หรือการใส่ความให้ผู้สมัครอื่นเลือกหรือไม่เลือกในข้อมูลอันเป็นเท็จ เขาคิดว่าการคัดเลือกที่ผ่านมายังอยู่ในเกม กติกาเดียวกัน ข้อสังเกตจากผลคะแนนของผู้สมัคร ที่คะแนนสูงอยู่ในอันดับที่ 1-6 ของ 20 กลุ่มอาชีพ หรืออาจจะถึงอันดับที่ 7 ในบางกลุ่มอาชีพ อาจหาความสัมพันธ์ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับบางเครือข่าย

3. ระบบการเลือกตั้ง สว. ไม่ยุติธรรม มีปัญหาตั้งแต่แรก เช่น การได้ตัวแทนของ สว. ไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานความเป็นตัวแทนประชาชนได้ นอกจากคนที่สมัครเข้าไปเลือกตั้ง  

4. จำกัดการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะระเบียบ กกต. ที่ออกมาในส่วนของการแนะนำตัว มีความจำกัดอย่างยิ่ง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ระหว่างกระบวนการ ตัวเขาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามที่จะทำในสิ่งที่ทำได้ เช่น ฟ้องศาลปกครองเพื่อให้มีการเพิกถอนระเบียบของ กกต. ว่าด้วยเรื่องของการแนะนำตัว หรือเพิกถอนบางข้อที่จำกัดการมีส่วนร่วม หรือข้อที่จำกัดการใช้ความรู้ความสามารถของผู้สมัครในกลุ่มวิชาชีพสื่อ หรือศิลปะ วัฒนธรรม ซึ่งศาลก็เพิกถอนในส่วนนั้น

นอกจากนี้เขายังเสนอให้มีกลุ่มเฝ้าระวังหรือตรวจสอบการดำเนินงานของ สว.ชุดใหม่อีกด้วย "ในวันแรกที่เราไม่มีอำนาจเราพูดอะไรก็ได้ แต่วันที่เราไปเจอในสภาฯ จะเจออำนาจอื่นๆ เข้ามากดดัน วันนี้เราบอกได้เราอาจจะเปลี่ยนแปลงก็ได้ เราอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ เราอาจจะไม่ทำก็ได้"

โดยเขาเสนอให้ตั้งองค์กรขึ้นเพื่อตรวจสอบผู้สมัคร ว่าเมื่อเข้าไปเป็น สว. แล้วทำในสิ่งที่เคยกล่าว เคยมีจุดยืนหรือไม่ เข้าไปแล้วได้ทำตามนั้นหรือไม่ โดยชวนเชิญให้ภาคประชาสังคม อดีตผู้สมัคร สว. ร่วมกันจับตาตรวจสอบ ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบการรายงาน 6 เดือน ว่ากลุ่มคนที่มีจุดยืนเดียวกันได้ทำตามจุดยืนนั้นหรือไม่ นอกจากนี้เขากล่าวถึงจุดยืนว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งที่ผ่านมา ร่างคำถามประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ยังติดล็อกหมวด 1 หมวด 2

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net