ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนต้องการอย่างไรเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,119 คน เมื่อวันที่ 25-28 กรกฎาคมที่ผ่านมา
การวิจัยสืบเนื่องจากการที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้นำเสนอรายงานผลการศึกษาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทางการปฏิรูปการเมืองของไทย โดยในระยะสั้นเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 มาตรา เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม นำไปสู่ความสมานฉันท์ และปฏิรูปการเมือง
สรุปผลได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นต่อการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ในประเด็นต่างๆ ปรากฏผลดังนี้
|
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
|
ไม่เห็นด้วย
(ร้อยละ)
|
ไม่แน่ใจ
(ร้อยละ)
|
1) แก้ไขมาตรา 111 - 121 โดยให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
|
84.4
|
8.8
|
6.8
|
2) แก้ไขมาตรา 237 โดยให้ตัดทิ้งประเด็นการยุบพรรคการเมืองและให้ลงโทษ กรรมการบริหารพรรคที่ทุจริตการเลือกตั้งเฉพาะคน ไม่ใช่เหมารวม
|
76.9
|
17.3
|
5.8
|
3) แก้ไขมาตรา 190 โดยยังคงให้การทำสัญญากับต่างประเทศต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ให้กำหนดประเภทของหนังสือสัญญาให้ชัดเจนว่าแบบไหนที่ต้องให้สภาเห็นชอบ
|
75.8
|
14.3
|
9.9
|
4) แก้ไขมาตรา 93 - 98 โดยการเลือกตั้ง ส.ส.ให้กลับไปใช้ระบบเขตเดียวคนเดียว (รวมจำนวน ส.ส.เขต 400 คน) และ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 100 คน
|
59.6
|
20.6
|
19.8
|
5) แก้ไขมาตรา 266 โดยให้ ส.ส. และ ส.ว. เข้าไปมีบทบาทต่อการบริหารงานของข้าราชการประจำ และงบประมาณในโครงการต่างๆ ของรัฐเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้
|
45.5
|
41.0
|
13.5
|
6) แก้ไขมาตรา 265 โดยให้ ส.ส. ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น
เลขานุการรัฐมนตรีได้
|
43.9
|
39.1
|
17.0
|
2. ความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ให้มีการนิรโทษกรรมทางการเมือง
- เห็นด้วย ร้อยละ 41.2
- ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 47.1
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.7
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาพบว่าจำนวนของผู้ที่ไม่เห็นด้วยลดลงจาก ร้อยละ 53.5 เหลือร้อยละ 47.1 หรือลดลงร้อยละ 6.4
3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาดำเนินการหลังจากได้รับรายงานสรุปแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็นจากคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ แล้ว
- ต้องการให้เร่งดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในสมัยประชุมสภานี้ ร้อยละ 41.7
- ต้องการให้ดำเนินการอย่างรอบคอบโดยไม่จำเป็นต้องเร่งให้เสร็จสิ้นภายในสมัยประชุมสภานี้ ร้อยละ 53.5
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 4.8
4. ความคิดเห็นเรื่องการทำประชามติเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- ควรมีการทำประชามติให้ประชาชนออกเสียง เพื่อรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข ร้อยละ 91.2
- ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ ร้อยละ 8.8
5. ความคิดเห็นในประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับการยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ
- เห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะช่วยยุติปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ได้ ร้อยละ 26.5
- เห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะไม่สามารถยุติปัญหาความขัดแย้งได้ ร้อยละ 50.0
เนื่องจาก
- ต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งอยู่ที่ตัวบุคคลไม่ใช่กฎหมาย
- ความขัดแย้งลุกลามไปไกลเกินกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะช่วยได้
- ฝ่ายที่เสียผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงไม่ยอมยุติ
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.5