Skip to main content
sharethis

เอ็นจีโอออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปกป้องผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนไทย-พม่าจากความรุนแรงและการถูกกดขี่ในประเทศพม่า เนื่องจากสถานการณ์ทวีความรุนแรงทำให้การข้ามชายแดน และการลี้ภัยมีความจำเป็นเร่งด่วนยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2564 องค์กรเอ็นจีโอหลายองค์กร ได้ออกแถลงการณ์ร่วม 'ประเทศไทย: แถลงการณ์ปกป้องผู้ลี้ภัยจากความรุนแรงในประเทศพม่า' โดยระบุว่าคณะผู้ลงนามในแถลงการณ์นี้ขอเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศไทยปกป้องผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาจากความรุนแรง และการถูกกดขี่ในประเทศพม่า เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศพม่าที่ทวีความรุนแรงทำให้การข้ามชายแดน และการลี้ภัยมีความจำเป็นเร่งด่วนยิ่งขึ้น 

ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2564 สมรภูมิในประเทศพม่าในรัฐกะเหรี่ยงที่ทวีความรุนแรงส่งผลให้ประชาชนชาวเมียนมาพลัดถิ่นกว่า 10,000 คน จากหมู่บ้านเลเคก่อ (Lay Kay Kaw) และหมู่บ้านอื่นๆ ซึ่งมีผู้พลัดถิ่น 3,900 คนที่ข้ามมายังฝั่งประเทศไทย การสู้รบก่อให้เกิดการบาดเจ็บของประชาชนที่ยังไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน และผู้พลัดถิ่นบางส่วนต้องย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยหลายครั้ง โดยขณะนี้ผู้พลัดถิ่นพำนักอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวที่ยังไม่ได้มีที่พักพิงและการคุ้มครองที่เพียงพอ ได้แก่ โรงเรียน ศาสนสถาน ท้องนา รวมถึงในป่า

วันที่ 22 ธ.ค. 2564  มีรายงานว่าชาวบ้านกว่า 1,000 คนที่ลี้ภัยจากการสู้รบที่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ถูกสกัดกั้นการข้ามฝั่งมายังประเทศไทยจากเจ้าหน้าที่รัฐไทย ประชากรกลุ่มดังกล่าวต้องได้รับอาหาร น้ำ และการรักษาพยาบาลเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน องค์กรด้านมนุษยธรรมเผชิญความยากลำบากในการเข้าถึงผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในสถานที่พักพิงช่วยคราวสำหรับผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้พลัดถิ่น นอกจากนี้ความท้าทายอีกประการหนึ่งคือ การส่งอุปกรณ์อุปโภคและบริโภคจากประเทศไทยไปยังเมียวดีเนื่องจากการปิดการจราจร และข้อจำกัดในการเดินทางเข้าออก 

คณะผู้ลงนามในแถลงการณ์นี้ขอเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศไทยให้เปิดชายแดนไทย-พม่า แก่ผู้ที่ลี้ภัยความรุนแรงจากประเทศพม่า และเคารพต่อหลักข้อบังคับของกฎหมายสากล และให้คำมั่นสัญญาที่จะปกป้อง และให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย รัฐบาลประเทศไทยไม่ควรผลักดันผู้ลี้ภัย หรือ ผู้ที่พยายามข้ามฝั่งมายังประเทศไทยเนื่องจากชีวิตของผู้ลี้ภัยตกอยู่ในอันตราย การสู้รบ และการวางระเบิดยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในรัฐกระเหรี่ยงรวมถึงพื้นที่พักพิงของผู้ลี้ภัย การเดินทางกลับประเทศพม่าไม่ว่าในกรณีใดก็ตามจึงต้องเป็นการเดินทางกลับโดยสมัครใจ โดยที่ผู้เดินทางกลับให้ความยินยอมเดินทางกลับ ตลอดจนต้องดำเนินการเดินทางโดยคำนึกถึงความปลอดภัยและเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

คณะผู้ลงนามในแถลงการณ์นี้ขอเน้นย้ำให้รัฐบาลประเทศไทยไม่ผลักดันผู้ลี้ภัยกลับประเทศพม่าเนื่องด้วยสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การเคลื่อนย้ายประชากรจะต้องมีการจัดการที่เหมาะสม และข้อปฏิบัติทางสาธารณะสุขที่เคร่งครัดเนื่องจากการแพร่ระบาดของCOVID-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นเหตุในการผลักดันผู้ลี้ภัยให้เผชิญสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย รัฐบาลประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการการคัดกรอง COVID-19 มาตรการในการกักตัว และพื้นที่รักษาพยาบาลให้แก่ผู้ที่ข้ามพรมแดนไทย-พม่า

คณะผู้ลงนามในแถลงการณ์นี้ขอเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลประเทศไทยให้ดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อปกป้อง และช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่า

• เปิดชายแดนไทย-พม่า แก่ผู้ที่ลี้ภัยความรุนแรงจากประเทศพม่า และเคารพต่อหลักหลักการห้ามผลักดันกลับ (Non-Refoulement) ไม่ผลักดันให้ผู้ลี้ภัยกลับไปยังประเทศพม่า และคำนึงว่าผู้ที่พยายามข้ามมายังฝั่งประเทศไทยทั้งหมดอาจเป็นผู้ลี้ภัย

• ดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ (5-point Consensus)  ที่มีข้อตกลงร่วมกันจากการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Special Leaders’ Meeting) เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2564 โดยเฉพาะข้อตกลงในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวพม่า

• จัดตั้งระบบคัดกรอง COVID-19 ที่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ให้เป็นระบบและมีความชัดเจนร่วมกับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อให้ผู้ลี้ภัยทุกคนสามารถเข้าถึงการขอการลี้ภัยได้

• อนุญาตให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรด้านมนุษยธรรมคัดกรองผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าได้เองเพื่อการคัดกรองผู้ที่มีความเปราะบางสูงสุด และผู้ที่มีความต้องการพิเศษ เช่น เด็กที่ถูกแยกออกจากครอบครัว เด็กผู้เดินทางโดยลำพัง ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีความพิการ นอกจากนี้จะต้องมีการจัดตั้งการคัดกรอความเสี่ยงทางด้านร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการจัดตั้งระบบการติดตามการให้ความคุ้มครองผู้ที่เดินทางเข้ามาใหม่ในประเทศไทย

• อนุญาตให้องค์กรด้านมนุษยธรรมเข้าถึงที่พักพิงของผู้ลี้ภัยทุกที่ อนุญาตให้มีการการประเมินความต้องการที่จำเป็น (Needs Assessment) และอุปกรณ์ช่วยชีวิต (lifesaving aid) รวมถึงบริการอื่นๆ ได้แก่ น้ำ อาหาร และการให้การดูแลทางสุขภาพแก่ผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางที่สุด 

• รับรอง และดำเนินการให้สถานที่พักพิงของผู้ลี้ภัยมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นไปได้ที่ผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าจะอยู่ในพื้นที่พักพิงเป็นเวลายาวนาน ได้แก่ การจัดตั้งพื้นที่ที่ครอบคลุม และปลอดภัยต่อสุขภาพกายของเด็ก และบริการสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ได้แก่ บริการด้านสุขภาพ โภชนาการ การศึกษา การคุ้มครองเด็ก และการสนับสนุนทางจิตใจและจิตสังคมสำหรับเด็ก (psycho social support)

• รัฐบาลประเทศไทยควรทำงานอย่างใกล้ชิดกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และประเทศสมาชิกเพื่อหาทางออกทางการเมือง และแนวทางการทูตเพื่อแก้ไขที่สาเหตุหรือต้นทางของความขัดแย้งในประเทศพม่า

ลงนามโดย 
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาและบรรเทาทุกข์ (Adventist Development and Relief Agency: ADRA) 
อไซลัมแอคเซส ประเทศไทย (Asylum Access Thailand)
เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ (Coalition for the Rights of Refugees and Stateless Persons)
มูลนิธิโคเออร์ (COEER Foundation)
องค์การแฮนดิแคปอินเตอร์เนชั่นแนล (Handicap International)
องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children)
International Rescue Committee 
Jesuit Refugee Service Thailand
มูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ ประเทศไทย (Right To Play Thailand)
มูลนิธิศูนย์รวมมิตรเพื่อเด็กและเยาวชน (Ruammit Foundation for Youth -DARE Network)
มูลนิธิบ้านเด็กเพซตาล็อตซี่ (Pestalozzi Children's Foundation)
Stateless Children Projection Project III
องค์การแตร์ เด ซอม เยอรมนี (Terre des Hommes Germany)
The Border Consortium 
มูลนิธิพัฒนาสตรีเพื่อส่งเสริมการศึกษาและสาธารณสุข (WEAVE Foundation)

อ่านแถลงการณ์ฉบับภาษาอังกฤษได้ที่: https://bit.ly/3qqCY7C

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net