Skip to main content
sharethis

240 องค์กรภาคประชาสังคมเมียนมา-องค์กรระหว่างประเทศ ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้นานาชาติและไทยคว่ำบาตรธนาคาร-บริษัทวิสาหกิจของเผด็ตการพม่า ตัดรายได้จากก๊าซธรรมชาติ ยุติช่องทางจัดซื้ออาวุธใช้กดปราบประชาชน

 

15 ก.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากภาคประชาสังคม วันนี้ (15 ก.ค.) องค์กรภาคประชาสังคมเมียนมา และองค์กรระหว่างประเทศ จำนวน 240 องค์กร ได้ออกแถลงการณ์ร่วม "เรียกร้องให้ทุกชาติร่วมคว่ำบาตรธนาคารเศรษฐกิจเมียนมา (Myanma Economic Bank : MEB) และบริษัทวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซเมียนมา (Myanma Oil and Gas Enterprises : MOGE)"

3 ปีหลัง รปห.เมียนมา ประชาชนเสียชีวิตกว่า 5 พันราย พลัดถิ่นภายในกว่า 3 ล้านราย

แถลงการณ์ระบุว่า นับตั้งแต่การทำรัฐประหารเมื่อ 1 ก.พ. 2564 คณะรัฐประหารเมียนมาได้สังหารพลเรือนกว่า 5,000 คน และผู้คนกว่า 3 ล้านชีวิตต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายใน นอกจากนี้ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระบุด้วยว่า กองทัพพม่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการก่ออาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ เช่น การใช้ยุทธวิธีอันโหดร้ายในการสังหารประชาชน โจมตีด้วยโดรนกลางดึก สังหารพลเรือน เผาทำลายบ้านเรือนประชาชนขณะหลับ และอื่นๆ 

กลไกรัฐวิสาหกิจเมียนมา กลไกหลักหาเงิน-ซื้ออาวุธ

แถลงการณ์ร่วมระบุว่า หนึ่งในกลไกลที่ทำให้กองทัพพม่าสามารถทำสงครามต่อประชาชน คือการใช้องค์การรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซเมียนมา (MOGE) เพื่อเป็นทุนในการซื้อหาอาวุธสังหารประชาชน และเข้าถึงตลาดการเงินระหว่างประเทศ แม้ว่าสหภาพยุโรป (EU) มีมติคว่ำบาตร MOGE เมื่อ 21 ก.พ. 2565 ทำให้กองทัพพม่าสูญเสียรายได้ถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ยังสามารถส่งออกก๊าซธรรมชาติไปที่จีน ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ได้เพียงคว่ำบาตร MOGE บางส่วน แต่บริษัท PTT Group (ปตท.) ซึ่งเป็นธุรกิจเชื้อเพลิงของทางการไทย ยังคงจ่ายเงินหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนให้กับบัญชีของ MOGE

แถลงการณ์ระบุต่อว่า เมื่อ 21 มิ.ย. 2566 สหรัฐฯ ตอบรับข้อเรียกร้องจากภาคประชาสังคมเมียนมาเพื่อคว่ำบาตรธนาคารการค้าต่างประเทศเมียนมา (Myanmar Foreign Trade Bank - MFTB) และธนาคารการลงทุนและพาณิชย์เมียนมา (Myanmar Investment and Commercial Bank - MICB) แม้ว่าการคว่ำบาตรถือเป็นก้าวย่างที่ดี แต่ก็ยังเหลือช่องทางที่เผด็จการทหารสามารถเปลี่ยนไปใช้ธนาคารอื่นแทนอย่าง (Myanma Economic Bank - MEB) และธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตร (Myanma Agriculture Development Bank - MADB) ซึ่งในฝั่งสหภาพยุโรปและอังกฤษยังไม่ได้คว่ำบาตรธนาคารทั้งหมดที่ว่าแต่อย่างใด ขณะที่แคนาดา และออสเตรเลีย ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรเพียงธนาคาร MFTB และ MICB

รายงานของ UN ชี้กองทัพพม่าใช้ระบบธนาคารไทยจัดซื้ออาวุธและเชื้อเพลิงเครื่องบินรบ

แถลงการณ์ได้อ้างรายงานของ 'ทอม แอนดรูวส์' ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมา ซึ่งได้เผยแพร่เมื่อ มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยรายงานเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ยังมีการขนส่งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารในเมียนมาได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้ระบุสถาบันการเงินที่ให้บริการธุรกรรมเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างอาวุธของกองทัพ พร้อมยืนยันข้อมูลว่ากองทัพมีการพึ่งพิงรายได้จากก๊าซธรรมชาติมากขึ้นจากเดิมหลายเท่า

รายงานสหประชาชาติ ระบุว่า แม้ว่าการขัดขวางห่วงโซ่อุปทานของกองทัพพม่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดการจัดซื้ออาวุธของกองทัพพม่าลดลงถึงร้อยละ 33 จากปีงบประมาณ 2565-2566 แต่อย่างไรก็ตาม รายงานชี้ให้เห็นว่า ทางเผด็จการทหารพม่าได้อาศัยช่องโหว่ที่มีในมาตรการคว่ำบาตร โดยย้ายการจัดซื้อไปยังประเทศที่เต็มใจเปิดช่องให้หลีกเลี่ยงมาตรการดังกล่าวได้ ตัวอย่างสำคัญ เช่น

  • การใช้ระบบธนาคารไทย โดยเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ให้บริการจัดทำธุรกรรมเกี่ยวข้องกับการซื้ออาวุธของกองทัพพม่ามากกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2565 โดยตัวเลขดังกล่าวพุ่งขึ้นถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566
  • ธนาคาร MEB กลายมาเป็นช่องทางสำคัญที่เผด็จการทหารใช้เพื่อเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับการจัดซื้ออาวุธ
  • บริษัทในไทยจำหน่ายเชื้อเพลิงอากาศยานมูลค่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 ผ่านการใช้ธนาคารไทย ทำให้กองทัพสามารถนำเชื้อเพลิงไปใช้โจมตีพลเมืองได้มากขึ้น
  • เงินรายได้จากก๊าซธรรมชาติที่ไหลมาจากบริษัท ปตท. ผ่านธนาคารไทยสู่บริษัท MOGE

รายงานของสหประชาชาติชี้ว่า แม้ว่าทางธนาคารสิงคโปร์จะสามารถตัดความสัมพันธ์กับกองทัพพม่าสำเร็จ เพราะว่าการตอบสนองรายงานของผู้รายงานพิเศษฯ และการกดดันจากรัฐบาลสิงคโปร์ แต่ระบบธนาคารไทยได้เข้ามาอุดรอยรั่ว แม้ว่าจะมีฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนและวิถีอาเซียนที่ยึดมั่นในหลักการ "ไม่แทรกแซงกิจการภายใน" ประเทศไทยกลับอนุญาตให้บริษัท ปตท. และธนาคารไทย ถูกใช้เพื่อจัดหาและเป็นทุนในการซื้ออาวุธกองทัพพม่า แม้ว่านานาชาติพยายามสร้างความร่วมมือของมาตรการคว่ำบาตรให้เข้มแข็งขึ้นก็ตาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

นานาชาติต้องคว่ำบาตรธนาคาร บริษัทวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับกองทัพพม่าทั้งหมด

ฉะนั้น แถลงการณ์ ระบุมีข้อเรียกร้องถึงนานาชาติ และทางการไทย ประกอบด้วย องค์กรภาคประชาสังคมขอเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศ ปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนเมียนมาจากสหประชาชาติ ในการคว่ำบาตรต่อธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจของเมียนมา กลุ่มภาคธุรกิจก๊าซธรรมชาติและเชื้อเพลิงอากาศยาน สหรัฐฯ ต้องคว่ำบาตรธนาคาร MEB และ MADB รวมถึงคว่ำบาตร MOGE อย่างเต็มรูปแบบโดยทันที

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และประเทศสมาชิก รวมถึงอังกฤษ และสหภาพยุโรป ควรคว่ำบาตรต่อธนาคาร MFTB, MICB, MEB และ MADB และปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตรบริษัท MOGE ที่นำโดยสหภาพยุโรป

แถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้อาเซียน ไม่นิ่งเฉยต่อปัญหานโยบายของไทยที่อนุญาตให้กลุ่ม ปตท. และธนาคารไทยสนับสนุนเผด็จการทหารพม่าอยู่เบื้องหลัง

รัฐบาลไทยควรสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรต่อกองทัพพม่า

แถลงการณ์ยังเรียกร้องถึงรัฐบาลไทย สนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรอันเป็นการตัดการเข้าถึงบริการทางการเงินระหว่างประเทศของเผด็จการทหารเมียนมา และตัดการเข้าถึงรายได้จากก๊าซธรรมชาติ พร้อมดำเนินการในลักษณะเดียวกับสิงคโปร์ เพื่อให้แน่ใจว่าธนาคารในไทยไม่ได้อำนวยการจัดซื้ออาวุธและเชื้อเพลิงอากาศยานของเผด็จการทหารเมียนมา

ขอเรียกร้องให้ธนาคารไทย ปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ยุติการทำธุรกรรมทั้งหมดอันเป็นการสนับสนุนเผด็จการทหารเมียนมา

แถลงการณ์เรียกร้องให้บริษัท ปตท. ยุติการมีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และปิดกั้นรายได้ก๊าซธรรมชาติของเผด็จการทหารเมียนมา ตามเสียงเรียกร้องจากภาคประชาสังคมเมียนมา รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) และพรรคก้าวไกล

ต่อมา ขอเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท ปตท. ดำเนินการตามการนำของกองทุนความมั่งคั่งนอร์เวย์ (Norwegian Sovereign Wealth Fund) และบริษัท Robeco และถอนการลงทุนจากกลุ่ม ปตท. เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

รายชื่อผู้ร่วมลงนาม 

ร่วมลงนามโดยองค์กรในเมียนมาและองค์กรระหว่างประเทศ 240 แห่ง และองค์กรอีก 63 แห่งที่ไม่ประสงค์เปิดเผยนามเนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นในเมียนมา

1.    #MilkTeaAlliance Friends of Myanmar
2.    #MilkTeaAllianceCalendar team
3.    A NEW BURMA 
4.    Action Committee for Democracy Development (ACDD)
5.    Action Group for Democracy and Human Rights (AGDHR)
6.    Ah Nah Podcast - conversations with Myanmar
7.    All Arakan Students' & Youths' Congress (AASYC)
8.    Alliance for democracy in Myanmar (ADM)
9.    ALTSEAN - Burma 
10.    Anti Dictatorship in Burma - DMVPa
11.    Anti-Junta Mass Movement (AJMM)
12.    Arakan Rohingya Development Association - Australia Inc.
13.    Arakan Rohingya Union (ARU)
14.    Arakan Watch
15.    Arakan Youth Peace Network
16.    Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA)
17.    Association of Human Rights Watch and Documentation
18.    Association Suisse-Birmanie (ASB) 
19.    Athan - Freedom of Expression Activist Organization
20.    Ayeyarwaddy West Development Organisation AWDO (Magway) 
21.    Ayeyarwaddy West Development Organisation AWDO (Nagphe) 
22.    Blood Money Campaign
23.    Boston Free Burma 
24.    Burma Action Ireland
25.    Burma Büro 
26.    Burma Campaign UK 
27.    Burma Civil War Museum (BCM) 
28.    Burma Human Rights Network (BHRN)
29.    Burma Support 
30.    Burmese Canadian Network (BCN)
31.    Burmese Rohingya Association in Japan (BRAJ)
32.    Burmese Rohingya Organisation UK (BROUK)
33.    Campaign for a New Myanmar
34.    Canadian Burma Ethnic Nationalities Organization (CBENO) 
35.    Chin Farmer Network (C.F.N)
36.    Civic Voice Communications (CVC)
37.    Coalition of Rohingya Organisations in Malaysia 
38.    CRPH & NUG Supporters Ireland
39.    CRPH Funding Ireland
40.    CRPH Support Group, Norway
41.    Dawkalu Network 
42.    Defend Myanmar Democracy
43.    Democracy Movement Strike Committee (Dawei)
44.    Democracy, Peace and Women’s Organization
45.    Doh Atu - Ensemble pour le Myanmar
46.    Dome Commoners Party, Thammasat University
47.    Dragon Dawn
48.    EarthRights International
49.    Educational Initiatives Prague 
50.    Elected Yangon City Development Committee
51.    Equality Myanmar
52.    European Rohingya Council (ERC)
53.    Extra-Territorial Obligations Watch Coalition (ETOs Watch Coalition) 
54.    Former ABSDF
55.    Fortify Rights
56.    Free Rohingya Coalition (FRC)
57.    Freedom and Labor Action Group (FLAG)
58.    Friends Against Dictatorship (FAD)
59.    From Singapore to Myanmar (FS2M)
60.    Future Light အမျိုးသမီးနှင့်ကလေးသူငယ်ကာကွယ်စောင့်ရှောက်ရေးအဖွဲ့
61.    Future Thanlwin
62.    General Strike Committee of Nationalities (GSCN)
63.    General Strike Coordination Body (GSCB)
1    Anti-Coup Forces Coordination Committee (ACFCC -Mandalay)
2    General Strike Collaboration Committee (GSCC)
3    Myanmar Labor Alliance (MLA)
4    Mandalay Strike Force (MSF)
    Samgha Sammaga-Mandalay
    Mandalay Alliance Coalition Strike
    Mya Taung Strike
    Mandalar University Students' Strike
    Chanmyatharzi Township People's Strike
    Maharaungmyay Township People's Strike
    Mandalay Youth Strike
    No.12 Basic Education Branch High School ( Maharaungmyay) Students' Union
    Co-operative University Mandalay Students' Strike
    Mandalay-based People's Strike
    Multi-Religions  Strike
    Myanmar Institute of Information Technology Students' Strike
    Daung Sitthe Strike
    Seinpann Strike
    Industries Strike
5    Mandalay-Based University Students’ Unions (MDY_SUs)
6    Yadanabon University Students’ Union ( YDNBUSU)
7    Ethnic Youth General Strike Committee (Mandalay)
8    Mandalay Medical Family (MFM)
9    White Coat Society Yangon (WCSY)
10    CDM Medical Network (CDMMN)
11    Alliance of Students' Union – Yangon (ASU-Yangon)
12    Civil Information Network (CIN)
13    Anti-Junta Alliance Yangon-AJAY
14    University Students’ Unions Alumni Force
15    Monywa People's Strike Steering Committee
    All Burma Federation of Student Unions (Monywa District)
    Network of University Student Unions – Monywa
    National League for Democracy (Monywa Township)
    The 88 Generation Peace and Open Society (Monywa)
    Thakhin Kodaw Mhine Peace Network (Monywa)
    Former Political Prisoners and New Generation Group – Monywa
    Civil Society Organizations Coordination Committee (Monywa)
16    Monywa-Amyint Road Strike Leading Committee
17    Yinmarpin and Salingyi All Villages Strike Committee
18    Pale Township People's Strike Steering Committee
19    Depayin Township Revolution Steering Committee
20    Latpadaung Region Strike Committee
21    Wetlet Revolution Leading Committee
22    Kachin Student Union
23    Coalition Strike Committee – Dawei
24    Dawei Youths Revolutionary Movement Strike Committee
25    Kalay Township Strike Committee
26    Magway People's Revolution Committee
27    Myingyan Civillian Movement Committee
28    Kyain Seikgyi Spring Revolution Leading Committee
29    General Strike Committee of Basic and Higher Education (GSCBHE)
    Basic Education Worker Unions - Steering Committee (BEWU-SC)
    Representative Committee of University Teacher Associations (RC of UTAs)
    Basic Education General Strike Committee (BEGSC)
30    Action Committee of Basic Education Students (ACBES)
31    Women Alliance Burma (WAB)
    Mandalay Women Strike
    Yangon Women Strike
    Monywa Women Strike
    Monywa-Amyint Road Women Strike
    Chindwin (West) Villages Women Strike
    Kalay Women Strike
    Depayin Women Strike
    Taze Women Strike
    Dawei ( Ashaetaw) Women Strike
    Gangaw Women Strike
    Thayat Chaung Women Strike
    Wetlet Twonship Women Strike
32    LGBT Alliance
    LGBT Union – Mandalay
    Monywa LGBT Strike
    LGBT Community Yangon
    LGBT Alliance Myanmar (Kalay Region)
    LGBT Alliance Myanmar (Kyaukse Region)
33    Pyi Gyi Tagon Strike Force
34    All Aung Myay Thar San Schools Strike Force
35    Twitter Team for Revolution (TTFR)
36    A-Yar-Taw People Strike
37    Chaung Oo Township Youth Strike Committee
38    Myaung Youth Network
39    5/ of Zaya State  Strike
40    Shwe Pan Kone People`s Strike Steering Committee
41    MayMyo Strike Force
42    Taze Strike Commitee
43    Yasakyo Township People`s Strike Steering Committee
44    Dhobama (2021 Generation)


64.    Generation Wave (GW)
65.    German Solidarity with Myanmar
66.    Global Myanmar Spring Revolution (GMSR)
67.    History Carrier (HC)
68.    Human Rights Foundation of Monland 
69.    Inclusive Development International
70.    India for Myanmar
71.    Info Birmanie
72.    International Association, Myanmar-Switzerland (IAMS)
73.    International Campaign for the Rohingya 
74.    Iron Adventure Force
75.    Justice & Equality Focus (JEF)
76.    Justice For Myanmar
77.    Justice Movement for Community - Innlay
78.    Kachin National Youth Network 
79.    Kachin Women Network (KWN) 
80.    Karen Environmental and Social Action Network (KESAN)
81.    Karen Peace Support Network
82.    Karen Rivers Watch
83.    Karenni Humanitarian Aid Initiative (KHAI)
84.    Karenni Social Welfare & Development Center (KSWDC)
85.    Kayah Li Phu Youth (KLY) 
86.    Kayan New Generation Youth (KNGY)
87.    Kayan Rescue Committee (KRC) 
88.    Kyae Lak Myay
89.    Kyauktada Strike Committee (KSC)
90.    League for Democracy Burma (Japan)
91.    Let’s Help Each Other
92.    Magway Region Human Rights Network (MHRN)
93.    Mata စစ်ကိုင်းတိုင်း
94.    Milk Tea Alliance Thailand
95.    Min Hla Farmers Group 
96.    Minbu Farmers Group 
97.    Muslims of Myanmar Multi-ethnic Consultative Committee (MMMCC)
98.    Mya Yar Knowledge Tree (Civil Society Organization)
99.    Myanmar Action Group Denmark 
100.    Myanmar Cultural Research Society (MCRS) 
101.    Myanmar Ethnic Rohingya Human Rights Organization in Malaysia (MERHROM)
102.    Myanmar Hindu Union
103.    Myanmar Muslim Revolution Force (MMRF)
104.    Myanmar Tourism Committee 
105.    National Alliance Bangkok
106.    Network for Human Rights Documentation - Burma (ND-Burma)
107.    New Myanmar Foundation (NMF)
108.    New Power Generation 
109.    New Rehmonnya Federated Force (NRFF)
110.    New York Burmese Community 
111.    NLD International Network 
112.    NLD-OC (International) Norway Branch
113.    NOK Information & Scout Echo 
114.    North Dagon & East Dagon News
115.    Nyan Lyann Thit Analytica 
116.    OCTOPUS (Youth Organization)
117.    OKYG Karen youth group
118.    Open Development Foundation (ODF) 
119.    Overseas Irrawaddy Association -OIA
120.    People Defense and Supporting Force 
121.    People Goal
122.    People’s Hope Spring Revolution (PHSR)
123.    Political Prisoners Network -Myanmar (PPNM)
124.    Progressive Muslim Youth Association (PMYA)
125.    Progressive Voice (PV)
126.    Purple Window Counselling
127.    Pwint Phyu Development Organisation 
128.    Rainbows in the Storm - မုန်တိုင်းကြားက သက်တံများ
129.    Rights for Women Welfare Society (RWWS) 
130.    Rohingya Action Ireland
131.    Rohingya Arakanese Refugee Committee, Malaysia 
132.    Rohingya Canadian Community 
133.    Rohingya Community in Japan (RCJ)
134.    Rohingya Organisation Norway (RON)
135.    Rohingya Society in Malaysia 
136.    Rohingya Women Development Network
137.    Rohingya Youth Development Forum, Arakan - Burma 
138.    Save and Care Organization for Ethnic Women at Border Areas
139.    Save Myanmar
140.    Shan Woman's Action Network (SWAN)
141.    Shizuyouth for Myanmar 
142.    Sisters2Sisters
143.    Sitt Nyein Pann Foundation
144.    Skills For Humanity-SFH (S4H) 
145.    Southern Monitor 
146.    Southern Revolution Support 
147.    Southern Youth Development Organization
148.    Spring Revolution Myanmar Muslim Community (SRMMC)
149.    Suan Kip Phawng
150.    Support Group for Democracy in Myanmar (Netherlands)
151.    Supporting Brothers - ထောက်ပို့ညီနောင်
152.    SYNERGY Social Harmony Organization
153.    Tamar Institute of Development 
154.    Technological Teachers' Federation (TTF)
155.    THAI for Palestine
156.    Thammasat University Student Union
157.    The Ladies Organization
158.    The Mekong Butterfly 
159.    Thint Myat Lo Thu Myar Organization
160.    United Front of Thammasat and Demonstration
161.    Volunteers in Myanmar
162.    Wellington Myanmar Community
163.    Women Advocacy Coalition- Myanmar
164.    Women Lead Resource Center (WLRC)
165.    Women’s Peace Network 
166.    Women's League of Burma (WLB)
1    Burmese Women's Union (BWU)
2    Kachin Women's Association Thailand (KWAT)
3    Karenni National Women's Organization (KNWO)
4    Karen Women's Organization (KWO)
5    Kayan Women’s Organization (KyWO)
6    Women's for Justice (WJ)
7    Lahu Women's Organization (LWO)
8    Pa-O Women's Union (PWU)
9    Shan Women's Action Network (SWAN)
10    Ta'ang Women's Organization (TWO)
11    Tavoyan Women's Union (TWU)
12    Kuki Women's Human Rights Organization (KWHRO)


167.    Yangon Deaf Group 
168.    Yangon Medical Network 
169.    Youth Empowerment (YE)
170.    Zomi Christian Fellowship of Norway
171.    ဒို့မြေကွန်ရက် (LIOH)
172.    ပွင့်ဖြူလယ်ယာမြေကွန်ရက်
173.    မြင်းမူလူငယ်ကွန်ယက်
174.    မြန်မာမွတ်ဆလင်မ်အစည်းအရုံး BMA
175.    ရောင်နီသစ်ဆီတက်လှမ်းချီ
176.    သောင်ရင်းသတင်းလွှာ
177.    အညာလွင်ပြင်ရပ်ဝန်း

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net