Skip to main content
sharethis

ซ่อน•หา : รัฐไทยซ่อนอะไรไว้บ้าง 'ยุกติ-เบญจา-ประกายดาว' ล้อมวงเสวนา มองย้อนสิ่งที่หล่นหายไประหว่างทาง - ชวนชม 'นิทรรศการ ซ่อน(ไม่)หา(ย)' ที่ KINJAI CONTEMPORARY จนถึง 27 ต.ค. 2567

เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2567 เวลา 18.30 น. ที่ KINJAI CONTEMPORARY เขตบางพลัด กทม. มีการจัดกิจกรรมวงเสวนาในวันเปิดนิทรรศการ ‘ซ่อน(ไม่)หา(ย) (Presumption of Innocence)’ ซึ่งเป็นวงเสวนาแลกเปลี่ยนเพื่อมองย้อนถึงสิ่งที่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ ข้อเท็จจริงที่ถูกทำให้พูดถึงไม่ได้ และทำไมเรายังต้องพูดเพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นหายไป โดยภาพรวมวงเสวนามีการพูดคุยในประเด็นการเลือกเล่าและไม่เล่าในประวัติศาสตร์ ความฝัน ความหวัง ความสัมพันธ์ หรืออื่นๆ ที่หล่นหายไป จนกลายมาเป็นแรงผลักดัน และหนทางสู่สังคมที่ทุกคนเห็นต่างสามารถอยู่ร่วมกันได้ไม่ต้องมี ‘นักโทษทางความคิด’ และประเด็นอื่นๆ

โดยมีผู้ร่วมเสวนา นางสาวเบญจา แสงจันทร์ อดีต สส.พรรคก้าวไกล รศ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางสาวประกายดาว พฤกษาเกษมสุข บุตรสาวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขดำเนินรายการโดย นางสาวภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล

นางสาวเบญจา แสงจันทร์ อดีต สส.พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ดำเนินคดีทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมนั้นตนขอย้อนไปในการเตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งมีการดำเนินคดีตามกฎหมายโดยใช้กระบวรการยุติธรรมเชิงนโยบาย ซึ่งประเด็นนี้ตนอยากพูดถึง คือมีการดำเนินคดีมาตรา 112 แต่เราหลงลืมการทำความจริงให้ปรากฏ และการคืนความยุติธรรมให้กับคนที่ยังไม่มีชีวิตอยู่ อาจจะทำให้สังคมไทยไม่สามารถหาทองออกจากความขัดแย้งนี้ได้ ซึ่งสังคมต้องถอดบทเรียนเรื่องนี้จริงๆ

นางสาวประกายดาว พฤกษาเกษมสุข บุตรสาวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข กล่าวว่า ในสังคมไทยเท่าที่ตนเองได้ประสบการณ์มีผลกระทบต่อในเชิงลบต่อชีวิตของคนที่ใช้สิทธิเสรีภาพดำเนินคดี เช่นการถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จำคุก หรือ อุ้มหาย ซึ่งระหว่างทางมีการถูกติดตามคุกคามหรือการทำร้าย ซึ่งมาตรการเหล่านี้ทำให้การเล่าเรื่องไม่เปิดกว้างมากพอ สภาพสังคมปัจจุบันนี้มีความกลัวอยู่ส่วนหนึ่ง โดยช่วงที่ผ่านมาถือว่ามีพัฒนาการ สมัยม็อบคณะราษฎร ปี 2563 ที่มีการดันเพดาน การเล่าเรื่อง แต่สุดท้ายก็วนกลับมาในวงจรเดิม ผู้คนติดคุกกว่า 53 คน และมีผู้ที่ลี้ภัยอีกชุดหนึ่ง ตนในฐานะที่ทำงานในด้าน ซึ่งสิทธิมนุษนชนก็ทำงานยาก โดยมีการเซนเซอร์หรือปิดปากประชาชนอยู่

อ.ยุกติ มุกดาวิจิตร กล่าวว่า คือตนคิดว่ามันมีเรื่องใหญ่อยู่ประมาณสองถึงสามเรื่อง หนึ่งคือเราสามารถที่จะพูดอะไรได้หรือพูดอะไรไม่ได้ในแง่หนึ่งส่วนหนึ่งที่ ตนได้เห็นคือเรามักจะพูดอะไรกับผู้มีอำนาจไม่ค่อยได้ หรือมีเพดานของมันอยู่ ในประเทศไทยเพดานดังกล่าวที่พูดถึงไม่ได้สม่ำเสมอ บางครั้งบางเรื่องพูดได้ในระยะเวลาหนึ่งหรือพูดในแบบหนึ่งพูดได้ แต่บางช่วงระยะเวลาก็พูดไม่ได้และมีหลายเรื่องมากขึ้นที่พูดไม่ได้ ยกตัวอย่างในเร็วเร็วนี้เช่นงานวิชาการ ที่ถูกวางเพดานให้ต่ำลง ซึ่งเพดานที่ถูกทำให้ต่ำลงอย่างกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมการวิจัย ซึ่งพระราชบัญญัตินี้จะต้องเซ็ตเพดานให้มีระเบียบการควบคุมจริยธรรมการวิจัยที่จะไม่ต้องไปมีผลกระทบต่อทำให้เกิดไม่ดีไม่งามต่อสิ่งที่วัฒนธรรมที่ดีงามหรือศาสนาสถาบันหรือประเพณีอันดีดีงาม ซึ่งมีทั้งเป็นเพดานที่ต่ำมาก ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนประเทศไทย พวกตนเป็นนักวิชาการก็ต้องสู้กันในเรื่องนี้ให้พระราชบัญญัตินี้ต้องแก้ไข

“ช่วงใดที่มีการตั้งคำถามต่อพระมหากษัตริย์มากขึ้น จะทำให้มันกลับจะทำให้มีเพดานใช้มาตรา 112 รุนแรงรุนแรงหนักหน่วงมากขึ้นและถือว่าเป็นการรีเซ็ตเพดานการพูดถึงสถาบันที่ต่ำลงเรื่อยเรื่อย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องที่กระทบต่อผู้มีอำนาจเช่นเรื่องทหารด้วย หลายเรื่องที่สังคมไทยพยายามที่จะแซเพดานการพูดถึงหรือเสรีภาพในการแสดงออกให้ต่ำลงเรื่อยเรื่อยแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย” อ.ยุกติ มุกดาวิจิตร กล่าวทิ้งท้าย

โดยนิทรรศการ ซ่อน(ไม่)หา(ย)
Presumption of Innocence
at KINJAI CONTEMPORARY
นี้จะจัดต่อเนื่อง ถึงวันที่ 27 ต.ค. 2567
( 28 ก.ย. - 27 ต.ค. 2567 )
เวลาเปิดทำการ
วันอังคาร - วันอาทิตย์ (ปิดทำการวันจันทร์)
12.00 - 20.00 น.

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net