นักวิชาการสันติวิธีเสนอ-นำหลักสิทธิมนุษยชนในอิสลามมาใช้ในพื้นที่

"บุหงารายอนิวส์" รายงานจากเวทีสังคมวิทยาภาคใต้ นักวิชาการด้านสันติวิธีแนะนำเอาหลักสิทธิมนุษยชนไคโร ซึ่งมีบทกำหนดในคัมภีร์อัลกุรอานนำมาใช้ เพื่อความเข้าใจของคนในพื้นที่ให้มากขึ้น ชี้ที่ผ่านมาคนในพื้นที่ไม่เชื่อถือกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลมากนัก

โชคชัย วงศ์ตานี

ในงานประชุมทางวิชาการระดับชาติสาขาสังคมวิทยา  ครั้งที่ 4  ในหัวข้อ  “แผ่นดินเดียวกันแต่อยู่กันคนละโลก : สังคมวิทยากับจินตนาการเพื่ออนาคต” (เวทีสังคมวิทยาภาคใต้) เมื่อวันที่  22 – 23 ก.ย. ณ ห้องประชุมวิทยอิสลามนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  อ.โชคชัย วงศ์ตานี อาจารย์ประจำศูนย์การจัดการความขัดแย้ง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่  ได้กล่าวบรรยายกลุ่มย่อย  ในหัวข้อการศึกษามาลายาประวัติศาสตร์การเมืองใหม่ของเมืองปัตตานี

อ.โชคชัย ได้นำเสนอคู่มือปฏิญญาอิสลามว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน (Cairo Declaration of Human Rights) มี 25  มาตรา ปฏิญญาดังกล่าวมีการประชุมกันที่ประเทศอียิปค์ ที่เมืองไคโร มีทั้งสิ้น 25 มาตรา  ปฏิญญาอิสลามว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนนี้  มีการทำเป็นสองภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ  และภาษาอาหรับ  และต่อมาก็ได้นำมาแปลเป็นภาษาไทย

และได้กล่าวเสริมว่าการที่ได้นำเอาหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้มีกำหนดในคัมภีร์อัลกุรอาน และวัจนะของท่านศาสดา  เพราะว่ามุสลิมมีความเชื่อใน 2  หลักนี้ มากกว่ารัฐธรรมนูญ  และหลักสิทธิมนุษยชน   แต่ที่น่าสนใจคือจะทำอย่างไรให้หลักสิทธิมนุษยชนที่ปรากฏ อยู่ใน อัลกุรอาน  และวัจนะของท่านศาสดา ถูกกล่าวถึงมากยิ่งขึ้น

คู่มือปฏิญญาอิสลามว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนนี้  ได้มีการรวบรวมปฏิญญาสากลที่ว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน 30 มาตรา เข้าไปด้วย เพื่อให้เปรียบเทียบและทำความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งของปฏิญญาสากล และปฏิญญาอิสลาม  เพราะว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้ความน่าเชื่อถือกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากลมากนัก  จึงต้องนำเอาหลักสิทธิมนุษยชนที่มีกำหนดในคัมภีร์อัลกุรอานนำมาใช้  จะมีการนำเอาปฏิญญาอิสลามว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนมาแปลเป็นภาษามลายู อักษรญายี  เพื่อความเข้าใจของคนในพื้นที่ให้มากขึ้น  และจะเกิดประโยชน์อย่างมาก เมื่อมีการนำเอามาใช้พื้นที่แห่งนี้  เพราะว่ามิใช่แค่เพียงหลักการนี้เท่านั้นที่นำเอามาแปลเป็นภาษามลายู  แบบฟอร์มหนังสือร้องเรียนต่างๆ  ก็มีการเอามาแปลด้วยเช่นเดียวกัน  เพื่อความเข้าใจอันง่ายต่อผู้ที่ทำงานกับชุมชนอย่างผู้นำศาสนาอีหม่าม คอตีบ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท