Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > เจ้าของผลงาน 'เสาแห่งความอัปยศ' เตรียมเรียกค่าเสียหายจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง ฐานทำลายสมบัติส่วนตัว > เจ้าของผลงาน 'เสาแห่งความอัปยศ' เตรียมเรียกค่าเสียหายจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง ฐานทำลายสมบัติส่วนตัว

เจ้าของผลงาน 'เสาแห่งความอัปยศ' เตรียมเรียกค่าเสียหายจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง ฐานทำลายสมบัติส่วนตัว

Submitted by Rat and Lion on Fri, 2021-12-24 12:04

ภาพปกโดย Kris Cheng/HKFP [1]

 

เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงเข้าล้อมรั้วและรื้อถอน 'เสาแห่งความอัปยศ' (Pillar of Shame) ประติมากรรมซึ่งเป็นอนุสรณ์รำลึกเหตุการณ์สังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 2532 ด้าน เยนส์ กัลชุท (Jens Galschiøt) ประติมากรชาวเดนมาร์กผู้สร้างประติมากรรมชิ้นนี้กล่าวว่าจะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางมหาวิทยาลัย เพราะผลงานชิ้นนี้ถือเป็นสมบัติส่วนตัวของเขา

24 ธ.ค. 2564 Hong Kong Free Press (HKFP) รายงานว่าเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2564 เวลาประมาณ 23.00 น. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยฮ่องกง (HKU) นำม่านและแผ่นพลาสติกมาปิดล้อมบริเวณประติมากรรม "เสาแห่งความอัปยศ" (Pillar of Shame) ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัย และนำประติมากรรมนี้ออกจากที่ตั้งเดิมโดยไม่มีการแจ้งเหตุผลใดๆ ทั้งนี้ ประติมากรรมดังกล่าวสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินกลางกรุงปักกิ่งเมื่อ 32 ปีที่แล้ว

อัลวิน หลัม จากซิติเซนนิวส์ รายงานว่าคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยฮ่องกงมีมติเห็นชอบให้รื้อถอนประติมากรรม 'เสาแห่งความอัปยศ' เพราะถูกกดดันจากหน่วยงานรัฐของจีนแผ่นดินใหญ่ที่ตั้งอยู่ในฮ่องกง นอกจากนี้ ซูซิงฉี (Xinqu Su) ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าว AFP ประจำฮ่องกงยังรายงานว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้ามารื้อถอนประติมากรรมดังกล่าวปิดหน้าต่างของอาคารที่หันเข้าสู่รูปปั้นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คนเห็นการรื้อถอน และการรื้อถอนยังทำในช่วงเทศกาล ซึ่งเป็นช่วงหยุดการเรียนการสอน และไม่มีนักศึกษาเข้ามาที่มหาวิทยาลัย

'เสาแห่งความอัปยศ' เป็นผลงานของ เยนส์ กัลชุท (Jens Galschiøt) ประติมากรชาวเดนมาร์ก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2540 เพื่อรำลึกเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินปี 2532 ซึ่งเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่พยายามปิดบังและพยายามลบจากประวัติศาสตร์มาโดยตลอด แม้ว่าประติมากรรมนี้ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยฮ่องมาเป็นเวลามากกว่า 20 ปีแล้ว แต่ในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกลับมีคำสั่งให้รื้อถอนประติมากรรมดังกล่าวออกจากพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งการสั่งให้รื้อถอน 'เสาแห่งความอัปยศ' ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพยายามปราบปรามการรำลึกประวัติศาสตร์เทียนอันเหมินจากทางการจีน

เยนส์ กัลชุท (ภาพจากเฟซบุ๊ก Jens Galschiøt Official)
 

กัลชุท เจ้าของผลงานกล่าวว่า "ผมรู้สึกตกใจมากที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงกำลังทำลาย 'เสาแห่งความอัปยศ'... ประติมากรรมนี้เป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล และมันเป็นของส่วนตัวของผม... ผมจะเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหาย หากเกิดความเสียหายใดๆ ขึ้นกับประติมากรรมนี้"

"เป็นเรื่องน่าอัปยศและเป็นการกระทำเลวร้ายที่แสดงให้เห็นว่าฮ่องกงกลายเป็นที่ที่โหดร้าย ไร้ซึ่งกฎหมายคุ้มครองประชาชนของตัวเอง ไม่มีการคุ้มครองศิลปะและทรัพย์สินส่วนบุคคล... และที่พิลึกหนักกว่านั้นคือพวกเขาทำลายงานศิลปะในวันหยุดตามเทศกาลตะวันตกอย่างวันคริสต์มาสนี่แหละ" กัลชุทกล่าวเสริม

อาเทอร์ ลี ประธานสภามหาวิทยาลัยฮ่องกง และสมาชิกผู้บริหารสูงสุดและคณะรัฐมนตรีเขตบริหารพิเศษฮ่องกง กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า [มหาวิทยาลัย]ไม่แน่ใจว่าเจ้าของงานศิลปะชิ้นนี้คือใคร และกำลังสืบสวนเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม กัลชุทบอก HKFP ว่าเขาแจ้งผ่านทีมกฎหมายของตนเองไปยังมหาวิทยาลัยฮ่องกงอยู่ตลอดว่าเขาเป็นเจ้าของผลงานชิ้นนี้ แแต่ทางมหาวิทยาลัยกลับเพิกเฉยต่อเรื่องนี้

เยนส์ กัลชุท พร้อมด้วยอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยฮ่องกงเมื่อปี 2013
ขณะถ่ายรูปกับประติมากรรม 'เสาแห่งความอัปยศ' (ภาพจากเฟซบุ๊ก Jens Galschiøt Official)
 

HKFP รายงานเพิ่มเติมว่ากัลชุทระบุในจดหมายเปิดผนึกเมื่อเดือน พ.ย. 2564 ที่ส่งถึงมหาวิทยาลัยและทีมทนายความของเขาในฮ่องกงว่า "ผมเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะรักษาประวัติศาสตร์ของประเทศเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ตาม ดังนั้น ผมจึงได้รู้สึกเสียใจที่ประติมากรรมของผม ซึ่งเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเหตุการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมินในจีนปี 2532 ไม่ได้รับการต้อนรับอีกต่อไป"

ทั้งนี้ ช่วงเช้าของที่ 23 ธ.ค. ที่ผ่านมา คีธ ริชเบิร์ก (Keith Richburg) อดีตนักข่าวชาวอเมริกันของเดอะวอชิงตันโพสต์ ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวารสารศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮ่องกงระบุในทวิตเตอร์สั้นๆ ว่า "อย่าทำแบบนี้!" ซึ่งหมายถึงห้ามรื้อถอนประติมากรรมดังกล่าวออกจากพื้นที่มหาวิทยาลัย

เหตุการณ์สังการหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเกิดขึ้นในวันที่ 4 มิ.ย. 2532 โดยรัฐบาลจีนวางกำลังกองทัพปราบปรามผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจในกรุงปักกิ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และอาจมีผู้เสียชีวิตมากถึงหลายพันราย

เรียบเรียงจาก:

  • University of Hong Kong removes Tiananmen Massacre monument in dead of night, Hong Kong Free Press, 23-12-2021 [2]
ข่าว [3]
การเมือง [4]
สังคม [5]
วัฒนธรรม [6]
ต่างประเทศ [7]
เทียนอันเหมิน [8]
จัตุรัสเทียนอันเหมิน [9]
มหาวิทยาลัยฮ่องกง [10]
ฮ่องกง [11]
จีน [12]
เสาแห่งความอัปยศ [13]
ประติมากรรม [14]
รื้อถอนผลงานศิลปะ [15]
รื้อถอน [16]
การเซนเซอร์ [17]
การบิดเบือนประวัติศาสตร์ [18]
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

Source URL: https://prachatai.com/journal/2021/12/96537?ref=internal_relate

Links
[1] https://hongkongfp.com/2018/05/05/pillar-shame-history-hong-kongs-harrowing-tribute-tiananmen-massacre-victims/
[2] https://hongkongfp.com/2021/12/23/breaking-fears-for-condemned-tiananmen-massacre-monument-as-university-of-hong-kong-erects-barricades-around-statue-overnight/
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AE%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%87
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AE%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%87
[12] https://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
[13] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%A2%E0%B8%A8
[14] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
[15] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0
[16] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%99
[17] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
[18] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C